พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ซ้ำในประเด็นที่เคยยอมความและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งมีบ้านของจำเลยปลูกอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งให้รื้อบ้านออกไปอ้างเหตุว่าจำเลยก่อความรำคาญ แต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับว่าบ้านเป็นของจำเลยโจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไปซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วบัดนี้โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินอีกอ้างเหตุว่า จำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมโดยไม่ได้อ้างเหตุใหม่อะไรเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีค่าเสียหายจากรถชน มีประเด็นคู่ความเดียวกัน ศาลสั่งห้ามฟ้องซ้ำตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยได้เคยยื่นฟ้องโจทก์ให้ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ชนกันศาลชั้นต้นพิพากษาไปแล้ว คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์โจทก์จึงได้ยื่นฟ้องคดีนี้เรียกค่าเสียหายรายเดียวกันอีก เมื่อคดีทั้งสองมีประเด็นอย่างเดียวกันและคู่ความรายเดียวกัน และศาลได้พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลยโดยวินิจฉัยถึงข้อที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดีนั้นว่า จำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อในการกำหนดจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยฟ้องของโจทก์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันตามคำพิพากษาเดิม: ข้อเท็จจริงในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความในคดีหลังเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน
ข้อเท็จจริงในคดีก่อนซึ่งได้ว่ากันมาแล้วจนถึงที่สุดในชั้นฎีกาย่อมผูกพันคู่กรณีในคดีหลังซึ่งเคยเป็นคู่ความกันมาในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นคูหรือลำรางพิพาท จำเลยให้การรับว่าปิดจริง แต่ปิดกั้นคูหรือลำรางในที่ดินของจำเลย ดังนี้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องสืบในข้อที่ว่าจำเลยปิดกั้นคูหรือลำรางหรือไม่
ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา จำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานเท่านั้น ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี จึงเท่ากับจำเลยขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ให้งดสืบพยานดำเนินการสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา จำเลยจึงควรเสียเพียงศาลละ 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(อ้างฎีกาที่ 1689/2497)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปิดกั้นคูหรือลำรางพิพาท จำเลยให้การรับว่าปิดจริง แต่ปิดกั้นคูหรือลำรางในที่ดินของจำเลย ดังนี้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องสืบในข้อที่ว่าจำเลยปิดกั้นคูหรือลำรางหรือไม่
ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา จำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานเท่านั้น ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี จึงเท่ากับจำเลยขอให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ให้งดสืบพยานดำเนินการสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ ดังนั้น ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา จำเลยจึงควรเสียเพียงศาลละ 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(อ้างฎีกาที่ 1689/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถชน: ห้ามตามมาตรา 144
โจทก์ฟ้องจำเลยในประเด็นอย่างเดียวกับคดีที่จำเลยเคยฟ้องโจทก์ และศาลได้พิพากษาแล้ว เช่นนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
(อ้างฎีกาที่ 1165/2492)
(อ้างฎีกาที่ 1165/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเรื่องเดิม: ประเด็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 144 ว.พ.พ.
โจทก์ฟ้องจำเลยในประเด็นอย่างเดียวกับคดีที่จำเลยเคยฟ้องโจทก์และศาลได้พิพากษาแล้วเช่นนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(อ้างฎีกาที่ 1165/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อน: โจทก์ฟ้องคดีใหม่ในประเด็นที่เคยคัดค้านในคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
โจทก์ร้องคัดค้านในคดีก่อนซึ่งจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความกันอยู่แล้ว และคดีนั้นก็กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล เช่นนี้ โจทก์จะนำมูลกรณีเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยในคดีใหม่อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในประเด็นสัญญาเช่าซื้อ: การเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่จำเลยให้เช่าต่อ
ในคดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยอ้างว่าโจทก์ครอบครองที่ดินที่จำเลยให้โจทก์เช่าซื้อแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ได้รับค่าเช่าที่ดินที่บุคคลอื่นเช่าที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อนั้น จึงขอให้จำเลยส่งเงินค่าเช่าที่ดินที่จำเลยรับจากผู้เช่าให้โจทก์ ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเหตุว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา เพราะที่ดินที่เช่าซื้อยังเป็นของจำเลย การเช่ามิได้โอนไปยังโจทก์ การครอบครองที่ดินที่เช่าซื้อเป็นคนละส่วนกับการที่จะได้รับค่าเช่าเพราะมิได้มีสัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยผิดสัญญาเช่าซื้ออีก โดยอ้างว่าจำเลยไม่ส่งมอบการครอบครองที่ดินไม่โอนสิทธิที่จำเลยให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินให้โจทก์ จำเลยคงเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าซ้อนค่าเช่าซื้อตลอดมา ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองตามสัญญาเช่าซื้อ ให้ใช้ค่าเสียหายระหว่างเช่าซื้อจนกว่าจะส่งมอบที่ดินให้โจทก์ ดังนี้เห็นได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีก่อนคือ จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ในข้อที่ไม่ยอมให้โจทก์ได้รับเงินค่าเช่าจากผู้เช่า โจทก์จะเรียกเงินนี้ว่าค่าเช่าหรือค่าเสียหายก็ไม่มีผลต่างกัน เพราะเป็นข้ออ้างว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ในกรณีเดียวกันนั่นเองจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเดียวกันห้ามยกขึ้นต่อสู้ซ้ำ และคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะบุคคลย่อมมีผลผูกพัน
โจทก์กับจำเลยที่ 2 เคยพิพาทกันเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ศาลได้วินิจฉัยถึงประเด็นเรื่องการหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในคดีนั้นแล้ว ครั้นต่อมาโจทก์ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีหลังนี้จำเลยที่ 2 จะยกประเด็นเรื่องหย่าขึ้นต่อสู้โจทก์อีกไม่ได้ เพราะเป็นประเด็นเดียวกันและโจทก์กับจำเลยก็เป็นคู่ความเดียวกัน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาในคดีก่อนเรื่องแบ่งทรัพย์สินที่วินิจฉัยชี้ประเด็นเรื่องหย่าไว้ด้วยนั้นเป็นคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะของบุคคลย่อมใช้ยันจำเลยที่ 1 ด้วยได้ จำเลยที่ 1จะขอสืบพยานในประเด็นเรื่องหย่าในคดีนี้อีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2498)
คำพิพากษาในคดีก่อนเรื่องแบ่งทรัพย์สินที่วินิจฉัยชี้ประเด็นเรื่องหย่าไว้ด้วยนั้นเป็นคำพิพากษาเกี่ยวกับฐานะของบุคคลย่อมใช้ยันจำเลยที่ 1 ด้วยได้ จำเลยที่ 1จะขอสืบพยานในประเด็นเรื่องหย่าในคดีนี้อีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดียวกัน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำ แม้เป็นทรัพย์ต่างกัน ย่อมเป็นฟ้องที่ต้องห้าม
โจทก์เคยฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของสามีผู้วายชนม์จากจำเลยจนศาลได้พิพากษาให้แบ่งสินสมรสและแบ่งปันมรดกไปแล้วแม้ทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขึ้นใหม่ในคดีใหม่เป็นทรัพย์คนละอย่างกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรส และแบ่งมรดกเช่นเดียวกันอันเรียกได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน ซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้โจทก์ได้ขอสงวนสิทธิไว้ในคดีก่อน แต่ศาลก็มิได้พิพากษาว่าไม่ตัดสิทธิจะฟ้องร้องว่ากล่าวหรือนัยหนึ่งไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องใหม่ได้ จึงไม่ทำให้โจทก์กลับมีอำนาจฟ้องคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากขายฝากเป็นกู้เงิน ศาลอนุญาตได้หากประเด็นยังคงเป็นเรื่องเดียวกัน
เดิมโจทก์ฟ้องว่า ไปทำสัญญาต่ออำเภอขายฝากนาให้จำเลยขอให้จำเลยรับเงินและคืนนาให้โจทก์ แล้วโจทก์ขอแก้ฟ้องเป็นว่า ไม่ได้ทำสัญญาขายฝาก ความจริงได้ทำสัญญากู้เงินจำเลย มอบที่นาให้จำเลยยึดไว้เป็นประกันต่างดอกเบี้ย ดังนี้ ถือว่าคำขอแก้ฟ้องกับคำฟ้องเดิมมีความเกี่ยวข้องกัน ให้แก้ได้