คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมินภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 719 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71(1)จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็ตาม
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
++ เรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมการที่ศาลภาษีอากรเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบ โดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรม จึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบก็ตาม กรณีหาอาจถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปไม่
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับระยะเวลานั้น ป.พ.พ. มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน..." ดังนั้น วันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา39 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษีท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์ แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือนเมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้าน ไม่ใช่แค่ค่าเช่าปีก่อน และต้องสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
การประเมินค่ารายปีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯนอกจากจะนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักแล้ว ยังต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ รวมทั้งยังต้องดูหลักเกณฑ์อื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ด้วย การนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเพียงข้อเดียวมากำหนดค่ารายปีในเมื่อค่ารายปีของโรงเรือนอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ถูกต้อง สำหรับการกำหนดค่ารายปีคดีนี้ ศาลภาษีอากรกลางได้กำหนดโดยการประเมินให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ดรรชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการเพื่อความเป็นธรรมแล้วกำหนดเป็นค่าเช่าต่อหนึ่งตารางเมตรต่อเดือน ซึ่งค่าเช่าดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ค่าเช่าภายในของอาคารที่โจทก์มีห้องชุดให้เช่า จึงถือได้ว่ามีความเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ได้เมื่อมีเหตุอันสมควร และการประเมินโดยพิจารณาจากทำเลที่ตั้ง
พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บัญญัติบังคับให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว มาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการคำนวณเท่านั้น เนื่องจากค่ารายปีย่อมอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง
ค่ารายปีตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ แสดงว่า ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษี พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร
โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ซึ่งโจทก์ยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 โจทก์แจ้งรายการทรัพย์สินไม่ครบตามความเป็นจริง ครั้นเทศบาลตำบลจำเลยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปสำรวจทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงยื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อประเมินภาษีในปี 2543 จำนวน 26 รายการ โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 8 รายการ แสดงว่าค่ารายปีทรัพย์สินของโจทก์ที่ใช้ในการประเมินเพื่อ เสียภาษีในปี 2540 ถึงปี 2542 ไม่ถูกต้องและต่ำกว่าความเป็นจริง กรณีจึงถือได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดค่ารายปีของปี 2543 เสียใหม่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้นำหลักเรื่องการแบ่งทำเลทรัพย์สินซึ่งมีการกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนแตกต่างกันในแต่ละทำเลมาใช้กับกรณีของโจทก์ โดยเห็นว่าทรัพย์สินของโจทก์อยู่ในทำเลที่ 2 กำหนดราคา ค่าเช่าทรัพย์สินที่เป็นอาคารในอัตรา 3 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการผลิต เช่น บ่อน้ำพื้นที่รวมและลานจอดรถพื้นที่รวมอัตรา 2 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน สำหรับพื้นที่ต่อเนื่องของโจทก์ก็กำหนดอัตรา 0.50 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน ทั้งลดจำนวนเดือนในการคิดค่ารายปีเหลือแค่ 7 เดือนครึ่งแล้ว ประเมินภาษีของโจทก์เป็นเงินเพียง 486,368 บาท นับว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดค่ารายปีเพื่อประเมินภาษีของโจทก์ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง โดยรอบคอบและเหมาะสมถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6904/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: พนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขค่ารายปีได้เมื่อมีเหตุผลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 มิได้บังคับให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว มาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเพียงแต่ให้นำมาเป็นหลักในการคำนวณเท่านั้นและสำหรับค่ารายปีนั้นมาตรา 8 ให้ความหมายว่า คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีทรัพย์สินนั้นให้เช่าให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเอง หรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ จึงแสดงว่าค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขกำหนดใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้เมื่อมีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษี: การประเมินเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) แห่งประมวลรัษฎากร การยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายคลาดเคลื่อนไป จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (4) และการกระทำของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89 (10)
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม: เบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) และ (10) ต้องพิจารณาความถูกต้องของการยื่นแบบแสดงรายการ
การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายในเดือนภาษีตุลาคม2536 คลาดเคลื่อนไปจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 89(4) และการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว มิใช่เป็นการมิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนดหรือรายงานอื่นตามที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 87/1 หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ อันจะทำให้ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีซึ่งคำนวณจากฐานภาษีที่มิได้ทำรายงานหรือมิได้ลงรายการในรายงานให้ถูกต้องตามมาตรา 89(10) ดังที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ทำการประเมิน ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับเพียงหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไปตามมาตรา 89(4) เท่านั้น
ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) และมาตรา 246 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนี้จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีที่ยังมิได้ประเมินและแจ้งให้ทราบชัดเจน ไม่อาจนำมาฟ้องล้มละลายได้
โจทก์ไม่มีสิทธินำหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งยังมิได้มีการประเมินและยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบโดยชอบมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เพราะหนี้ค่าภาษีการค้าตามฟ้องอาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือ เพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแก้ไขการประเมินภาษีที่ผิดพลาดได้ แม้จะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินใหม่ไม่ถือเป็นการประเมินซ้ำซ้อน
ตาม ป. รัษฎากร ลักษณะ 2 หมวด 4 ส่วน 12 เรื่องอำนาจเจ้าพนักงานประเมินไม่มีบทบัญญัติใดห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ ถึงแม้ว่าการประเมินที่ผิดพลาดดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม โดยเฉพาะการประเมินใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งก่อนเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินมิได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย นอกจากนี้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในครั้งใหม่นั้น เจ้าพนักงานประเมินยังคงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับเท่าเดิม คงมีส่วนเงินเพิ่มเท่านั้นที่ประเมินให้โจทก์ชำระเพิ่มขึ้น ซึ่งเงินเพิ่มที่เพิ่มขึ้นก็หาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ เนื่องจากบุคคลที่ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย บุคคลนั้นย่อมต้องเสียเงินเพิ่มจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี ดังนั้น หากโจทก์ยังมิได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่จำเลยอย่างถูกต้องครบถ้วน โจทก์ย่อมมีหน้าที่เสียเงินเพิ่มให้แก่จำเลยอยู่แล้วตาม ป. รัษฎากร มาตรา 89/1 เมื่อการประเมินครั้งใหม่โดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกนั้นมีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว การประเมินในครั้งหลังจึงหาใช่การประเมินซ้ำซ้อนหรือทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนแต่ประการใดไม่
แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์การประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หาทำให้โจทก์หมดสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ เพราะการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรรับผิดเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีอำนาจหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทำให้ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีการประเมินหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนั้นที่โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การประเมินภาษีจากรายรับที่ไม่ถูกต้อง และการซ้ำซ้อนของการประเมินเบี้ยปรับ
ชื่อผู้ประกอบการค้าที่เป็นเจ้าของบัตรชดเชยภาษี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่ปรากฏอยู่ตอนบนของรายการเป็นของจำเลยและมีรายละเอียดเลขบัตรชดเชยภาษีพร้อมยอดเงินตามบัตรชดเชยภาษี เมื่อจำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของบัตรชดเชยภาษี จำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินตามมูลค่าบัตรภาษีตามเอกสารดังกล่าวมาคำนวณเสียภาษี แต่จำเลยไม่มาพบและไม่นำส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเมื่อได้รับหมายเรียกเพื่อตรวจสอบบัญชีจำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับดังกล่าวก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1)และต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย นับแต่วันพ้นกำหนดและยื่นรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียจำนวนดังกล่าวตามมาตรา 22
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2540 และแจ้งเลิกประกอบกิจการเมื่อวันที่ 16กันยายน 2540 จึงแสดงได้ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้จำเลยประกอบกิจการเต็มทั้งรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการประมาณการกำไรสุทธิและชำระภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ยื่นแบบดังกล่าวตามมาตรา 67 ทวิ (1) จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรฯ
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้วการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้จำเลยชำระเบี้ยปรับในจำนวนภาษีเดียวกันอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน การประเมินเบี้ยปรับนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
of 72