คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบทกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยในคดีขับรถเสพยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3 ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 102 (3ทวิ), 127 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 57, 91 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ยกคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยซึ่งเป็นการปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 91 กับให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งปัญหาดังงกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็ยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: การบรรยายฟ้องต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ การปรับบทกฎหมาย และการแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เมทแอมเฟตามีนที่จำหน่ายต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม หรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสองและวรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) เมทแอมเฟตามีนจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัม เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แม้ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ที่โจทก์นำสืบจะระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 66 วรรคสองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ทั้งยังเป็นการรับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษจำคุกของผู้พิพากษาคนเดียว, อายุความคดีจราจร, และการแก้ไขปรับบทกฎหมาย
โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึง โทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, และการปรับบทกฎหมายอาวุธปืนที่ถูกต้อง
ในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 นั้น โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า อาวุธปืนซึ่งจำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นอาวุธปืนพกสั้น ไม่ทราบชนิดและขนาด จำนวน 1 กระบอก จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชัดเจนว่าอาวุธปืนซึ่งจำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองดังกล่าว เป็นอาวุธปืนที่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ กรณีต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ว่า อาวุธปืนซึ่งจำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้มาตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาการปรับบทกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจะยุติเพราะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่า ศาลฎีกาจึงชอบที่จะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเพื่อแก้ไขโดยปรับบทลงโทษในส่วนของจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องและการเพิ่มโทษปรับให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่
คดีนี้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง (1), 147 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษปรับขั้นต่ำตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 32 (2), 65 และลงโทษจำคุกคนละ 6 เดือน และปรับคนละ 6,000 บาท โดยลงโทษปรับต่ำกว่าระวางโทษปรับขั้นต่ำ โจทก์จึงไม่เห็นด้วยและอุทธรณ์ขอให้พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 71 วรรคหนึ่ง (1), 147 วรรคหนึ่ง นั้น อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว นอกจากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ปรับบทให้ถูกต้องแล้วยังอุทธรณ์โต้แย้งโทษปรับที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสองและขอให้ลงโทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 147 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษปรับขั้นต่ำสูงกว่าโทษปรับที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์ที่จะให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้พิพากษาแก้โทษปรับจำเลยทั้งสองให้สูงขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้กันโดยสมัครใจและบันดาลโทสะในคดีอาญา การปรับบทกฎหมาย และค่าทนายความ
ป.วิ.อ. มาตรา 258 บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยค่าฤชาธรรมเนียมมาใช้บังคับโดยอนุโลม เมื่อตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียม มิใช่เป็นค่าธรรมเนียม และตามมาตรา 167 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือในคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้วแต่กรณี คดีนี้ ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความเป็นทนายผู้ร้องและได้ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ผู้ร้องขอให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยที่ 1 ใช้แทนแก่ผู้ร้องได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การชดใช้ค่าเสียหาย และการปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยมีข้ออ้างและคำขออย่างเดียวกันมาพร้อมกับฎีกา ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำสั่งไปแล้ว การที่จำเลยยังคงฎีกาในประเด็นดังกล่าวโดยขอให้ศาลฎีกาส่งความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยและรอการพิพากษาคดีไว้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน มีผลบังคับใช้วันที่ 17 มิถุนายน 2557 ในคำสั่งข้อ 6 เมื่อพิจารณาเนื้อหาของคำสั่งดังกล่าวเห็นว่าเป็นเพียงคำสั่งทางบริหารที่กำหนดแนวนโยบายการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินเท่านั้น คำสั่งดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุให้ประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ไม่มีความผิด หรือมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือให้งดเว้นการดำเนินคดีตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าบุคคลดังกล่าวยังมีความผิดตามกฎหมายอยู่ไม่ว่าบุคคลนั้นจะบุกรุกเข้าทำประโยชน์ก่อนหรือหลังวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยไม่อาจที่จะอ้างคำสั่งดังกล่าวว่าตนได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุมาก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เพื่อลบล้างความผิดของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน 2557 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยจึงยังคงเป็นความผิดอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่จำเลยยังยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ซึ่งขณะนั้นจำเลยก็ยังคงยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุซี่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดขณะที่กฎหมายเดิมยังมีผลใช้บังคับและขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว การกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 จึงชอบที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 มาปรับใช้บังคับลงโทษแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาในส่วนนี้ว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง (เดิม) นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา, การปรับบทกฎหมาย, และการลดโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยบรรยายแยกรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่กระทำความผิด จำนวนและราคาทรัพย์ที่ถูกลักในแต่ละครั้งตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ฟ้องโจทก์จึงเป็นความผิดหลายกระทง ซึ่งโจทก์รวมมาในฟ้องเดียวกันได้ เพียงแต่ให้แยกกระทงเรียงเป็นลำดับกันไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.1 มีใจความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองโดยใช้รถบรรทุกเป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงไม่ได้แยกต่างหากจากฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.8 แต่เป็นการบรรยายฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเมื่ออ่านคําฟ้องโดยรวมทั้งหมดแล้วถือว่า ฟ้องข้อ 1.2 ถึง 1.8 ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ข้อ 1.2 ถึง 1.8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
of 6