คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบทลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมวางแผนฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันวางแผนหลอกผู้ตายออกมาจากร้านอาหารไปที่ถนนริมคลองชลประทานที่เกิดเหตุ แล้วพวกจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย หลังจากฆ่าผู้ตายแล้วจำเลยกับพวกก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มิใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักไปกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ แต่มีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายในคดีหมิ่นประมาท และความสมบูรณ์ของคำฟ้อง การปรับบทลงโทษซ้ำซ้อน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โดยมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายไม่ถูกต้องอย่างไรและการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326ขึ้นปรับบทลงโทษอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษในคดีพรากเด็กและกระทำชำเรา การพิพากษาต้องถูกต้องตามวรรคของกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิง พ.อายุ 14 ปีเศษยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดาและผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจาร และในวันที่เกิดเหตุนั้น จำเลยได้กระทำชำเราเด็กหญิง พ. ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิง พ.ไม่ยินยอม ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนี้แสดงว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดข้อหากระทำชำเราตาม ป.อ.มาตรา 277วรรคแรก กระทงหนึ่ง และในความผิดข้อหาพรากเด็กไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจารตาม ป.อาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง แม้ความผิดทั้งสองข้อหาโจทก์มิได้ระบุวรรคมาก็ตาม ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่เมื่อความผิดตามมาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้อย่างไรก็ตามเมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น ดังนั้น คดีนี้แม้ศาลชั้นต้นจะฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องและลงโทษจำเลยตาม มาตรา 317 โดยมิได้ระบุวรรคซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องแต่ก็มิได้หมายความว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา 317 วรรคสามหากศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โดยปรับบทลงโทษและลงโทษจำเลยใหม่ให้ถูกต้องก็มีอำนาจกระทำได้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม ทั้งวางโทษจำเลยโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัย และแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญาและการพิจารณาโทษสถานเบา กรณีจำเลยให้การรับสารภาพ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หากจำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานโจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวในวรรคแรกมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ศาลลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วางโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ เนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษผิด พ.ร.บ.อาญา มาตรา 317 และการพิจารณาโทษจากคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากเด็กหญิง พ. อายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจาร และจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง พ. ซึ่งมิใช่ภริยาของตน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกกระทงหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งความผิดข้อหาพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามมีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่ความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 โดยมิได้ระบุวรรคซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยปรับบทลงโทษว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามทั้งวางโทษจำเลยโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าว ก็เป็นการไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และกำหนดโทษให้เบาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเป็นหลักฐานต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษได้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้อง หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ระหว่างฎีกา จึงไม่อนุญาติให้ถอนฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 นำใบรับเงินปลอมไปอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ได้รับตามใบรับเงินดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นเหตุ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ว่าพนักงานสอบสวน จะเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ก็ตาม ใบรับเงินเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 264 เป็นการปรับบทลงโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความ จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 แต่โจทก์ มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาคงมีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่ายและขอบเขตการปรับบทลงโทษตามพ.ร.บ.ยาเสพติด
ฎีกาจำเลยที่ว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าจำเลยมีกัญชาน้ำหนักเพียง 15.90 กรัม แต่ตามมาตรา 26 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 กำหนดว่าต้องมีกัญชาไว้ในครอบครองมีปริมาณถึง 10 กิโลกรัม ขึ้นไป จึงจะให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 26 วรรคสอง และ76 วรรคสอง นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน 15.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 76 วรรคสอง ดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 76 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษ จำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ 76 วรรคแรกอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่ายและการปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลฎีกาไม่อนุญาตฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าจำเลยมีกัญชาน้ำหนักเพียง 15.90 กรัม แต่ตามมาตรา 26 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2523 กำหนดว่าต้องมีกัญชาไว้ในครอบครองมีปริมาณถึง 10 กิโลกรัม ขึ้นไป จึงจะให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 26 วรรคสอง และ 76 วรรคสอง นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน15.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 76 วรรคสองดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าจำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 76 วรรคสองเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ76 วรรคแรก อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษคดีอาวุธปืนเมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลง และอำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขโทษแม้ไม่มีการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาในความผิดฐานอื่นถ้ามีกรณีที่ศาลฎีกาเห็นว่าการปรับบทลงโทษไม่ถูกต้องหรือการกำหนดโทษไม่เหมาะสมแล้วศาลฎีกามีอำนาจที่จะแก้ไขได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเพียงว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนโดยไม่ได้ความว่าเป็นอาวุธปืนของบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้หรือไม่และโจทก์ก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าเป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียน ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่งอันเป็นบทลงโทษสำหรับกรณีที่เป็นอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนที่ผู้อื่นได้รับอนุญาต อันเป็นผลร้ายแก่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 72 วรรคสาม ซึ่งเป็นเพียงการมีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย และมีบทกำหนดโทษเบากว่า และเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาวุธปืนที่พาไปเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นผลร้ายน้อยกว่า การใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ก็ควรจะเปลี่ยนไปในทางที่ลดลง ซึ่งศาลฎีกาแก้ไขได้แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เป็น 391 เมื่อการกระทำไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ.มาตรา 295 ปรากฏในทางพิจารณาว่า การกระทำผิดของจำเลยกับพวกที่รุมทำร้ายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายแก่กายยังไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295 ศาลย่อมปรับบทลงโทษตามมาตรา 391ซึ่งเป็นการกระทำความผิดส่วนหนึ่งของบทมาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษมาได้.
of 15