คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 165
โจทก์ประกอบการผลิตสุราจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นปกติธุระถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบศิลป อุตสาหกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165(1) การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระราคาค่าสุราที่โจทก์ผลิตขายให้จำเลยตามสัญญา เป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของให้จำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างแรงงาน: ข้อตกลงในใบสมัครงานเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการธนาคารของโจทก์สาขาตลาดพลู มีหน้าที่ตามที่จำเลยได้สัญญาไว้ในใบสมัครงาน คือจะปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาด้วยความขยันหมั่นเพียรและซื้อสัตย์สุจริต หากประพฤติผิดคำรับรองใดๆ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีและจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ข้อความในใบสมัครงานถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ในคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์ก็ระบุว่าให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามสัญญาจ้างด้วย ถือว่าเป็นการบรรยายฟ้องเพื่อขอให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ ทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด ซึ่งสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้กำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ ใช้ ป.พ.พ. มาตรา 616, 625 บังคับ
โดยที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นในกรณีที่ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงเกี่ยวกับความรับผิดในเรื่องสูญหายของสินค้าระหว่างการรับขนว่าให้นำกฎหมายหรือกฎข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งของทางทะเลของประเทศใด มาใช้บังคับ ความรับผิดในเรื่องนี้จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616 และ 625 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงมาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมาย 'ของมีค่า' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 และความรับผิดของผู้ขนส่ง
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินทดรองจ่าย: ตัวการตัวแทนใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ลูกค้าผู้สั่งซื้อหุ้น กับจำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ เป็นลักษณะของตัวการตัวแทน การที่จำเลยเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปแทนโจทก์ในกิจการที่โจทก์มอบหมายให้ปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องตัวแทนเรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ ซึ่งในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี อันเป็นลักษณะทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 164หาใช่อายุความ 2 ปี ตาม มาตรา 165(1) หรือ (7) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค่าบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ให้บริการและเรียกเก็บค่าบริการ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่ประชาชนประจำเป็นปกติธุระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่างๆจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการเมื่อโจทก์ในฐานะผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆฟ้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นจึงต้องอยู่ในอายุความ2ปีตามป.พ.พ.มาตรา165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นการฟ้องคดีมรดก จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก มิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกองมรดกไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและการหมดสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 1195 ป.พ.พ.
โจทก์ได้เข้าร่วมประชุมในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งแรกของบริษัทจำเลย ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ที่เป็นเจ้าของรถร่วมนำรถประจำทางมาลงหุ้นแทนเงิน โดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว รวม 6,355 หุ้น ต่อมาได้มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งแรกโดยที่ประชุมขอให้ลงมติยืนยันการประชุมครั้งแรกอีกครั้ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์อีก แม้โจทก์จะมิได้เข้าประชุมครั้งหลังนี้ก็ต้องถือว่าที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำเลยได้มีมติพิเศษของประชุมผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มทุนอีก 6,345 หุ้น โดยการนำรถประจำทางมาใช้แทนเงินและถือเสมือนหนึ่งว่าได้ใช้เงินเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าบริษัทจำเลยรับรถยนต์ที่ได้ลงหุ้นไว้แล้วมาลงหุ้นใหม่ และรับรถยนต์ที่อยู่ระหว่างเช่าซื้อมาเป็นหุ้นใหม่อีกก็เท่ากับโจทก์กล่าวหาว่า การลงมติของที่ประชุมฝ่าฝืนกฎหมายและโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนกรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ลงมติฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมาตรา1195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า โจทก์ต้องร้องขอให้เพิกถอนภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันลงมติ เมื่อโจทก์ไม่ร้องเสียในกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะร้องขอต่อศาล
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้หรือกะประเด็นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบทรัพย์สินชำระหนี้และการสิ้นสุดสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
โจทก์ได้มอบนาให้จำเลยครอบครองแทนการชำระหนี้เงินกู้ ดั่งนี้ การครอบครองของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามมาตรา 1377 แห่ง ป.พ.พ. จำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 แต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองมรดกเป็นเจ้าของร่วม ยุติอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่ใช้บังคับ
เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกได้ครอบครองมรดกร่วมกัน แม้เพียง 1 เดือนก็ถือได้ว่าได้ร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันแล้ว เมื่อทายาทฝ่ายหนึ่งมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งทายาทฝ่ายนั้นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา ต่อมาโจทก์โกรธจำเลยจึงแยกไปอยู่เสียที่อื่น จำเลยจึงครอบครอบทรัพย์มรดกนั้นแต่ผู้เดียวต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกัน มิใช่เป็นการเข้าแย่งการครองครองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
of 11