คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้บทบัญญัติ ป.วิ.พ. ในคดีอาญา และการพิจารณาอายุความตาม ป.วิ.อ.
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่า จะนำบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้นและให้นำมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสองและมาตรา 193/17 วรรคสอง ซึ่งเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงแห่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่บทบัญญัติของ ป.วิ.พ. จึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12412/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดไต่สวนเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(2) จึงจะอุทธรณ์ได้
ในการไต่สวนคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานผู้ร้องได้ 1 ปากและผู้ร้องอ้างส่งพยานเอกสาร 4 ฉบับ แล้วเห็นว่าสามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและให้นัดฟังคำสั่งหลังจากนั้นอีกหลายวัน โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีดังนี้ คำสั่งที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดต้องการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) เมื่อผู้จัดการมรดกมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานที่ได้รับมอบอำนาจ แม้บัญชีระบุพยานจะระบุชื่อโจทก์และผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานคนละอันดับ ศาลรับฟังได้ตามหลัก ป.วิ.พ.
บัญชีระบุพยานโจทก์ระบุว่าอันดับ 1 โจทก์อ้างตนเองเป็นพยาน อันดับ 2 นางพเยาว์ เจิมท่า เมื่อนางพเยาว์เป็นโจทก์คดีนี้ซึ่งได้มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทน การที่บัญชีระบุพยานโจทก์อ้างทั้งโจทก์และนางพเยาว์ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันเป็นคนละอันดับทำให้เห็นได้ว่าพยานอันดับ 1 ที่ทนายโจทก์มุ่งประสงค์จะอ้างเป็นพยานคือ ส. ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจรับฟังคำเบิกความของ ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผิดสัญญาซื้อขายซ้ำหลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยอ้างเหตุบอกกล่าวใหม่ ถือเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. ม.148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขาย เรียกเงินคืน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยไม่น้อยกว่า 3 เดือน ตามข้อสัญญา พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เท่ากับประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยถึงที่สุด ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 3 เดือน แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา และฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญาแล้ว อันเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญา โดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนจำนองที่ดิน - อำนาจฟ้อง - บุคคลภายนอก - มาตรา 145 ป.วิ.พ.
โจทก์ฟ้องว่า ส. ไม่ยอมโอนที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์จึงได้อายัดที่ดินตามฟ้องไว้และฟ้อง ส. ให้ปฏิบัติตามข้อตกลง ระหว่างคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสองมีคำสั่งให้จดทะเบียนที่ดินดังกล่าวระหว่าง ส. กับธนาคาร ก. จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองนั้น ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. และธนาคาร ก. ได้ทำนิติกรรมจำนองเกี่ยวกับที่ดินตามฟ้องกัน ผู้โต้แย้งสิทธิและผู้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตามฟ้องนอกจากจำเลยทั้งสองแล้วยังมี ส. และธนาคาร ก. แต่โจทก์ฟ้องเพียงจำเลยทั้งสองเท่านั้น และมิได้ฟ้องหรือเรียก ส. และธนาคาร ก. ผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินเข้ามาเป็นคู่ความด้วย การขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4005/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาซ้ำ ศาลพิจารณาแล้วเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยไม่ได้เป็นคนยากจนจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ซึ่งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2545 และศาลชั้นต้นได้ไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเรื่องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นใหม่แล้ว การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 14 มิถุนายน 2545 ขอให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนอีก ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่หลังแก้ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19)ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 199 เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยมาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่าคำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด คดีนี้จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีสินสอดที่ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และมิใช่คดีสิทธิในครอบครัว เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น แต่มีสินสอด คือ เงินและ สร้อยคอทองคำ เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติกรรมที่ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอดแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นเงิน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าเงินและสร้อยคอทองคำไม่ใช่สินสอดขอให้ยกฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีจึงต้องห้ามมิให้ คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา เพราะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662-5663/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการบังคับคดีต้องเป็นไปตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด คดีถึงที่สุดแล้วไม่อาจอ้างมาตรา 264 ป.วิ.พ.เพื่อคุ้มครองสิทธิได้
ขณะคดีอยู่ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา จำเลยยื่นคำขอเป็นคำร้องขอให้รอการบังคับคดีไว้โดยระบุในคำร้องว่า "คำร้องขอให้คุ้มครองสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264" ซึ่งบทกฎหมายที่จำเลยอ้างในคำร้องดังกล่าวอยู่ในลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันเป็นบทบัญญัติถึงวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา แต่ปรากฏว่าศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางคดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใด และที่จำเลยร้องขอให้รอการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลของคดีอาญาก็ไม่ใช่เป็นวิธีการเพื่อบังคับตามคำพิพากษา คำร้องขอของจำเลยจึงไม่เข้ามาตรา 264 ย่อมไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาอ้างเพื่อขอให้คุ้มครองสิทธิของจำเลยได้
of 27