พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อ/ค้ำประกัน: ผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ทำหนังสือ ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ภริยาทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หนังสือยินยอมสองฉบับมีข้อความว่า ผู้ให้ความ ยินยอมยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ นอกจากเป็นหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างรับว่าให้ความยินยอมในการที่คู่สมรสของตนทำนิติกรรมแล้ว ยังแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ยอมผูกพันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนวินิจฉัยไปล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทราบความหมายหรือสาระสำคัญของเอกสารที่ทำทั้งที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยังไม่ได้เข้าเป็นคู่ความต่อสู้คดีนั้นไม่ถูกต้อง ส่วนข้อที่ตำหนิว่าหากต้องการให้ รับผิดก็ควรให้ทำสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 นั้น การทำข้อตกลงอย่างไร ให้ริบผิดแค่ไหนเพียงใดเป็นสิทธิของคู่สัญญา การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่รับคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่ระบุในสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัท ส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ส. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัท สก. แต่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ สัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่จดทะเบียนแล้วในขณะทำสัญญา ผู้ทำสัญญาค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อบริษัทที่จดทะเบียนภายหลัง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท ย. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัทส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน ดังนี้ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวมีความหมายว่าจำเลยที่ 2 จะค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ย. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท ย. ทุกบริษัท ซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้วในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 โจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ก็ตามสัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
เดิมพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์คดีนี้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย คดีถึงที่สุด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า กรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกดังที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้อง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีส่วนแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 7 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาที่เกี่ยวข้องกับโจทก์จึงมีผลผูกพันโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501-6502/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และสิทธิครอบครองที่ดิน
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท โดยโจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วย และคดีถึงที่สุดแล้ว โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ร่วมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีความผิดฐานบุกรุก เมื่อโจทก์นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ดังนั้นแม้จำเลยร่วมซึ่งซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 มิใช่จำเลยในคดีส่วนอาญาที่ถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหาบุกรุกด้วย แต่โจทก์ในคดีนี้หาใช่บุคคลภายนอกคดีไม่เพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีส่วนอาญา ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาจึงมีผลผูกพันโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งว่าพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานจำเลยร่วมฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนต่อเจ้าของรวม และการรับวินิจฉัยประเด็นใหม่ในชั้นอุทธรณ์
คดีก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยที่ 1 แพ้คดีตามคำท้าโดยศาลชั้นต้นพิพากยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมีผลว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และคดีก่อนจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมได้ใช้สิทธิความเป็นเจ้าของครอบไปถึงที่ดินพิพาททั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งด้วย ผลแห่งคดีก่อนย่อมผูกพันถึงจำเลยที่ 2 เช่นกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจโต้เถียงโจทก์ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อนต่อเจ้าของรวม และสิทธิครอบครองที่ดิน
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์อ้างว่ามีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากบิดาโจทก์ โจทก์ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ได้รับมรดกมาจากบิดา คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ คู่ความในคดีดังกล่าวท้ากันว่าลายมือชื่อผู้ขายในสัญญาขายที่ดินเป็นของบิดาโจทก์หรือไม่ ซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่ามิใช่ลายมือชื่อของบิดาโจทก์ จำเลยที่ 1 แพ้คดีตามคำท้าโดยศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว จึงมีผลว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1ในฐานะเจ้าของรวมใช้สิทธิความเป็นเจ้าของครอบไปถึงที่ดินพิพาททั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งด้วยผลแห่งคดีก่อนย่อมผูกพันถึงจำเลยที่ 2 เช่นกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจโต้เถียงได้ว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาคดีกรรมสิทธิ์ต่อสัญญาซื้อขายฝาก
เมื่อคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยฟังว่า พ. ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ที่ตกทอดแก่ทายาท จำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ อ. และ จ. จึงมีสิทธิดีกว่า พ. โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาขายฝากระหว่าง พ. กับโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์รับซื้อฝากโดยสุจริตและจดทะเบียนไว้โดยสุจริต แต่โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาทเพราะ พ. ผู้ขายฝากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่จะไปทำสัญญาขายฝากให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. และ จ. ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทอันเป็นเอกสารสิทธิของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ อ. และ จ. ได้ และการยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้ไม่มีการทำหนังสือใหม่
การที่จำเลยได้จัดทำหนังสือภาษาจีนซึ่งมีคำแปลเป็นภาษาไทยอันมีเนื้อหาว่า "จำเลยจะชำระค่าเสียหายของสินค้าจำนวน 25,389 ชุด เป็นเงิน 116,789.40 ดอลลาร์สหรัฐ ผ่อนชำระเดือนเมษายน 2536 แล้วเป็นเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายนชำระ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ เงินจำนวนที่เหลือจะแบ่งชำระในเดือนเมษายนและเดือนกันยายน 2537" เป็นการจัดทำเอกสารดังกล่าวขึ้นด้วยความสมัครใจ แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มีการทำหนังสือกันใหม่อย่างเป็นทางการก็ตาม หนังสือภาษาจีนดังกล่าวก็เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันใช้บังคับจำเลยได้ตามกฎหมาย
แม้คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 193/14 (1) แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นวินิจฉัยก็เพื่อบ่งชี้ว่า การทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยส่งสินค้าไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าโจทก์ ต่อมาจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะวินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ที่โจทก์บรรยายในคำแก้ฎีกาว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งโจทก์ต้องทำเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นเป็นฎีกาจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาที่จะวินิจฉัย
แม้คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 193/14 (1) แห่ง ป.พ.พ. ขึ้นวินิจฉัยก็เพื่อบ่งชี้ว่า การทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลผูกพันบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยส่งสินค้าไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าโจทก์ ต่อมาจำเลยยินยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วยการทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะวินิจฉัยว่าหนังสือภาษาจีนดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ได้
ที่โจทก์บรรยายในคำแก้ฎีกาว่าขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในจำนวนหนี้ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งโจทก์ต้องทำเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นเป็นฎีกาจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาที่จะวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจากการเล่นแชร์ที่ไม่ผิดกฎหมาย มีผลผูกพันตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตในวันเดียวกัน โดยไม่รอให้จำเลยยื่นอุทธรณ์และคัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องและสำเนาอุทธรณ์แล้วก็ไม่ได้คัดค้านคำร้องและไม่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้องกล่าวคือรอให้ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้วจึงมีคำสั่งอนุญาตผลก็จะเป็นเช่นเดียวกัน ดังนี้ ศาลฎีกาไม่ย้อนสำนวนและวินิจฉัยคดีไปเสียทีเดียว