พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนผิดนัด เลิกสัญญาได้ เหตุจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาและทำคำเสนอเลิกสัญญา
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาจ้างเหมาจำเลยปลูกสร้างอาคาร แม้มิได้มีกำหนดเวลาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและส่งมอบอาคารแต่เมื่อเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยมีหนี้ที่ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์เมื่อปล่อยให้เวลาล่วงผ่านไปเนิ่นนานโดยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาและได้จัดทำแบบคำร้องขอยกเลิกสัญญาเพื่อให้ผู้ที่เข้าทำสัญญากรอกเพื่อเลิกสัญญาและขอเงินที่ชำระแล้วคืนจากจำเลย แสดงว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ทั้งคำร้องนั้นก็มีผลเป็นการทำคำเสนอไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์แสดงเจตนาว่าจะตกลงเลิกสัญญาหรือไม่ เมื่อโจทก์กรอกแบบคำร้อง แจ้งความประสงค์ขอเลิกสัญญาและขอเงินคืนจากจำเลยจึงมีผลเป็นคำสนองรับคำเสนอของจำเลย ทำให้สัญญาเลิกกันทันที จำเลยต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระไปแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกหนี้บัตรเครดิต: นับจากวันผิดนัดชำระหนี้ตามใบแจ้งยอด
จำเลยให้การว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี อันเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าขาดอายุความแล้ว ส่วนเหตุที่ฟ้องภายในอายุความ 2 ปีนั้น จำเลยได้ระบุในคำให้การว่า โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าโดยออกบัตรเครดิตให้ลูกค้านำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนลูกค้า จึงเป็นผู้ประกอบกิจการค้าได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงต้องฟ้องเรียกเงินทดรองคืนภายในกำหนดสองปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 อันเป็นการบรรยายถึงเหตุแห่งการนั้นแล้ว คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และถือว่ามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องอายุความแล้ว
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกในรูปของบัตรเครดิต โดยสมาชิกสามารถนำไปชำระสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ แทนเงินสดให้แก่ร้านค้าหรือสถานที่ให้บริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์หรือใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเบิกเงินสดจากธนาคารโจทก์หรือธนาคารอื่นที่สมาชิกร่วมกับโจทก์ การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในกรณีที่จำเลยเบิกเงินสดโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ หรือมูลหนี้ตามบัตรเครดิตเป็นหนี้ที่จำเลยใช้ร่วมกับบัญชีเดินสะพัดก็ตาม ถือว่าเป็นการให้บริการความสะดวกแก่บัตรเครดิตของโจทก์ อันเป็นการจูงใจเพื่อให้บุคคลทั่วไปจะได้เข้ามาเป็นสมาชิกของโจทก์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ กรณีเช่นนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าของโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกในรูปของบัตรเครดิต โดยสมาชิกสามารถนำไปชำระสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ แทนเงินสดให้แก่ร้านค้าหรือสถานที่ให้บริการที่เป็นสมาชิกของโจทก์หรือใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเบิกเงินสดจากธนาคารโจทก์หรือธนาคารอื่นที่สมาชิกร่วมกับโจทก์ การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในกรณีที่จำเลยเบิกเงินสดโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติซึ่งสมาชิกจะต้องเสียค่าบริการให้แก่โจทก์ หรือมูลหนี้ตามบัตรเครดิตเป็นหนี้ที่จำเลยใช้ร่วมกับบัญชีเดินสะพัดก็ตาม ถือว่าเป็นการให้บริการความสะดวกแก่บัตรเครดิตของโจทก์ อันเป็นการจูงใจเพื่อให้บุคคลทั่วไปจะได้เข้ามาเป็นสมาชิกของโจทก์มากยิ่งขึ้น ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ได้ออกทดรองไปจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7)
ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ กรณีเช่นนี้เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: นับจากวันผิดนัดชำระแต่ละงวด
จำเลยให้การว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปีอันเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าขาดอายุความ และจำเลยได้ระบุในคำให้การว่า โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการแก่ลูกค้าโดยออกบัตรเครดิตให้ลูกค้านำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนลูกค้าจึงเป็นผู้ประกอบกิจการค้าได้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยไป จึงต้องฟ้องเรียกเงินทดรองคืนภายในกำหนดสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 อันเป็นการบรรยายถึงเหตุแห่งการนั้นแล้ว คำให้การของจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่ามีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องอายุความแล้ว
โจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
โจทก์เป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความสองปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จะแจ้งยอดหนี้ส่งให้จำเลยทราบในแต่ละงวดที่เรียกเก็บและให้ถือว่าหนี้ถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดงวดใด โจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องสำหรับงวดนั้นได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัด จึงต้องเริ่มนับอายุความสำหรับหนี้แต่ละงวดตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอาการชำระหนี้ล่าช้าเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าไม่ถือเอาการชำระหนี้ตรงเวลาเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7 เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7 เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญากู้เงิน และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินที่กู้ในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปเว้นแต่เมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด ซึ่งขณะทำสัญญานี้อัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 14.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต่อไปอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ อันเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 14.75 ต่อปี อยู่แล้ว การที่มีข้อความต่อไปเมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้เดิมนับตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปรับผู้ประกันจากการผิดนัดนำตัวจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาถึงที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่าง สอบสวนโดยมี ม. เป็นผู้ประกัน ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏว่าผู้ประกันผิดนัดไม่อาจนำตัวจำเลยมาพิจารณาคดีได้เป็นการผิดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ต่อมาเมื่อผู้ประกันดำเนินการจนได้ตัวจำเลยมาศาลและขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ลดค่าปรับลงอีก ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ผู้ประกันจะฎีกาต่อไปหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืม และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ.สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่ อ.ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของ อ.ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ยินยอมให้ อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ.ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองและหนี้เบิกเงินเกินบัญชี: สัญญาไม่ถือว่าผิดนัดหากบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องหลังครบกำหนด
ในวันที่จำเลยจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้แก่ผู้ร้องส. มีหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้แม้ ส. จะขอต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดก็ตาม แต่หลังจากครบกำหนดดังกล่าวแล้วผู้ร้องและ ส. ยังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ทั้งปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้บอกเลิกสัญญาและยังให้บัญชีเดินสะพัดเดินต่อไป จึงเห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดเมื่อหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่าง ส. กับผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนอง บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม & ผลของการผิดนัดสัญญาจำนอง
จำเลยยกข้อต่อสู้ในคำให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่จำเลยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การของจำเลยจึงแสดงเหตุโดยไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้
การที่จำเลยผู้จำนองทำหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 711 ย่อมมีผลเพียงทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ โดยโจทก์จะบังคับหรือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้นิติกรรมการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนอื่นที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปไม่ สัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่จำเลยผู้จำนองทำหนังสือมอบอำนาจโดยจำเลยยอมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์จำนองให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 711 ย่อมมีผลเพียงทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ โดยโจทก์จะบังคับหรือปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เท่านั้น แต่หามีผลทำให้นิติกรรมการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยในส่วนอื่นที่กระทำโดยชอบต้องเสียไปไม่ สัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมีผลใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย