คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัดชำระหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม และการบอกกล่าวบังคับจำนอง การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ตามสัญญากู้ยืม จำเลยที่ 1 มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือน หากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใด ถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันที โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืม แต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญา พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และผู้จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าว จึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่ 1 ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ดังกล่าว ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ 13 ต่อปี และอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ 1 ต่อปีและหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้สัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิบอกกล่าวบังคับจำนองและคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่1มีหน้าที่จะต้องชำระดอกเบี้ยของเงินกู้ที่เบิกไปจากโจทก์ทุกวันทำการสิ้นเดือนของทุกเดือนหากผิดนัดชำระเงินงวดหนึ่งงวดใดถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดในจำนวนหนี้ทั้งหมดโดยหนี้ทั้งหมดตามสัญญาเป็นอันถึงกำหนดชำระทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนปรากฏว่าจำเลยที่1ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดในสัญญากู้ยืมแต่โจทก์ยอมรับชำระดอกเบี้ยของจำเลยที่1โดยไม่ได้ทักท้วงว่าจำเลยที่1ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดสัญญาพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเป็นสาระสำคัญจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่1ต่างระงับข้อสัญญาเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยล่าช้าเป็นการผิดนัดผิดสัญญาแล้ว แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่1ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โจทก์จึงได้มีหนังสือขอให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองโดยจำเลยที่1ในฐานะผู้กู้และผู้จำนองจำเลยที่2และที่3ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับดังกล่าวจึงเป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองไปด้วยในคราวเดียวกันแล้วเมื่อจำเลยที่1ค้างชำระดอกเบี้ยและโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระหนี้ดังกล่าวครบกำหนดแล้วจำเลยที่1เพิกเฉยต้องถือว่าจำเลยที่1ผิดนัดผิดสัญญาในจำนวนหนี้ทั้งหมดและโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ตามสัญญากู้จำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ขณะทำสัญญาอัตราร้อยละ13ต่อปีและอาจเปลี่ยนแปลงได้บวกด้วยอัตราร้อยละ1ต่อปีและหากจำเลยที่1ผิดนัดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยจำเลยที่1ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปรากฏว่าตามประกาศดังกล่าวเรียกได้ไม่เกินอัตราร้อยละ21ต่อปีดังนี้เมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่1ตามจำนวนเงินกู้หลังจากที่ผิดสัญญาได้ในอัตราร้อยละ21ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีมูลค่าเพิ่ม การเลือกใช้สิทธิ/การผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย เป็นสัญญาให้บริการที่โจทก์ได้ทำกับจำเลยซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล โดยสัญญานั้นได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และมีงานให้บริการตามสัญญาส่วนที่เหลือที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ต่อไปอีก โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นที่จะยังคงเสียภาษีการค้าต่อไปสำหรับค่าตอบแทนจากการให้บริการหลังวันที่ 1 มกราคม 2535 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมีหน้าที่ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น กรณีที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 249)พ.ศ. 2535 ซึ่งประกาศใช้ในภายหลังได้บัญญัติไว้มาตรา 3ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้ยื่นซองประกวดราคาหรือให้บริการกับกระทรวงทบวงกรม หรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ในการที่จะเลือกเสียภาษีการค้าตามบทบัญญัติหมวด 4 ภาษีการค้า ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534หรือเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องใช้สิทธิเลือกเสียภาษีการค้าหรือภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดระยะเวลาเท่าใดและวิธีการอย่างไร ที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือน กุมภาพันธ์มีนาคม เมษายน และกรกฎาคม 2535 ก็ได้ความว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ ได้หักภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงท้องถิ่น จากเงินที่จ่ายแก่โจทก์เมื่อวันที่4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2535 สำหรับงานงวดที่ 14,18 และ 19 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 สำหรับงานงวดที่ 17,20 และ 21 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2535สำหรับงานงวดที่ 2,25 และ 26 โดยจำเลยได้ออก ใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรที่จำเลยหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งอำเภอท้องที่จากกรมสรรพากรแล้ว เช่นนี้ การยื่นแบบแสดงรายการการค้าประจำเดือนภาษีกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและกรกฎาคม 2535 ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาเลือกชำระภาษีการค้าสำหรับรายรับค่าบริการ(ค่าก่อสร้าง) ตามพระราชกฤษฎีกา ออกความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 249) พ.ศ. 2535 แต่การที่โจทก์มีหนังสือขอแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มถึงจำเลย ฉบับลงวันที่15 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวแก่กรมสรรพากร ตามแบบแสดงการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเลือกที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างที่รับจากจำเลยผู้รับบริการตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่จำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ และโจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 12 ถึง 14 งวดที่ 17 ถึง 30และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค) สำหรับงานงวดที่ 10,22,25 และ 26 ให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระดังกล่าวจากจำเลย ค่าก่อสร้างตามสัญญามีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่เพราะใบเสนอราคาของโจทก์ที่เสนอต่อจำเลยในการประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารได้ระบุว่ามีค่าภาษีรวมอยู่ด้วย จึงน่าเชื่อว่าค่าก่อสร้างที่โจทก์คิดจากจำเลยมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยแต่ในเวลาทำสัญญาจ้างคดีนี้ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ที่ให้ยกเลิกภาษีการค้าและนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับแทนภาษีการค้า จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในค่าก่อสร้าง แต่ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือฟังได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิตภาษีด้วย เมื่อโจทก์ได้รับค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จึงต้องคำนวณจากค่าจ้างซึ่งมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลภาษีอากรกลางให้นำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นมาหักออกจากค่าจ้างก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดีเมื่อค่าจ้างดังกล่าวมีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ 3.3 รวมอยู่ด้วยทั้งโจทก์ก็มีสิทธิได้รับภาษีดังกล่าวนี้คืนจากกรมสรรพากรเพื่อความเป็นธรรม จึงให้นำภาษีดังกล่าวมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 คงให้จำเลยรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 3.7 ของยอดเงินค่าจ้าง สำหรับค่าจ้างปรับราคา (ค่าเค.) เป็นค่าชดเชยที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาหรือขาดแคลน ไม่ใช่ค่าชดเชยที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามมาตรา 79 วรรคสาม (2) แห่งประมวลรัษฎากรค่าชดเชยดังกล่าวจึงยังถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีในการเรียกภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับค่าชดเชยดังกล่าวจากจำเลยทั้งนี้โดยไม่หักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นอัตราร้อยละ3.3 ออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก่อนคำนวณเพราะค่าจ้างปรับราคาดังกล่าวมิใช่จ้างที่โจทก์เสนอแก่จำเลยตั้งแต่ต้นจึงไม่มีภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นรวมอยู่ด้วย โจทก์จะมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อหรือนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการ อื่นที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บไปแล้วมาหักจาก ภาษีขายได้หรือไม่นั้น เป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการมีหน้าที่ต้องชำระ ดังนั้นโจทก์จึงไม่ต้องนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกจากจำเลย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้ผิดนัดจึงไม่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้น ในเรื่องดอกเบี้ยจำเลยคงให้การต่อสู้เพียงว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญา และไม่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์เท่านั้น จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ให้เป็นประเด็นในคำให้การว่า จำเลยมิได้ผิดนัดยังไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย หนี้ค่าภาษีที่จำเลยต้องชดใช้แก่โจทก์เป็นหนี้เงินที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้กู้เงินจากธนาคารนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ดอกเบี้ยได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่านั้น โจทก์เพิ่งแจ้งการใช้สิทธิเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและขอเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยค้างจ่ายนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามหนังสือของโจทก์ฉบับลงวันที่ 15 ตุลาคม 2535 จำเลยได้รับหนังสือของโจทก์ในวันเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์จึงถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างของงานงวดที่ 14 งวดที่ 17 ถึง 22 งวดที่ 25 ถึง 26 และค่าจ้างที่มีการปรับราคา (ค่าเค.) สำหรับงานงวดที่ 10ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 ต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันดังกล่าวส่วนค่าจ้างสำหรับงานงวดอื่น ๆ ที่ต้องชำระหลังจากวันที่ 15 ตุลาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ก็ย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดนับตั้งแต่วันที่มีการชำระค่าจ้างจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นนับแต่วันผิดนัดชำระค่าจ้างแต่ละงวด การให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ แม้ว่าจะตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกเงินค่าหนี้: การยอมรับหนี้บางส่วน และประเด็นการไม่ฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งหมด 150,000 บาทตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารท้ายฟ้อง อ้างว่าจำเลยผิดนัดไม่ได้ชำระเงินตามที่ตกลงผ่อนชำระเลย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยผ่อนชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรกบางส่วนแล้ว ถือว่าจำเลยไม่ได้ผิดนัด แต่คดีนี้โจทก์ยอมรับว่าได้รับเงินจากจำเลยบางส่วนแล้วเป็นเงิน 38,000 บาท ตามที่จำเลยให้การไว้ในคดีเดิมพ้นกำหนดเวลา 60 เดือน แล้ว จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ที่เหลืออีก 112,000 บาทจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังไม่ผิดนัด กลับต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารท้ายฟ้องเพราะเหตุอื่น จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กู้เงินจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ 12.5 ต่อปี มีข้อสัญญาว่า หากว่าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนด ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือตามประกาศใด ๆที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งบริษัทเงินทุนอาจเรียกได้ที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเดิมนับแต่วันที่มีการผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ โดยเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้
ข้อสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จะเรียกค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่า เบี้ยปรับ ค่าปรับ ดอกเบี้ย หรืออย่างไรก็ได้ แต่หากมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าให้เจ้าหนี้ริบหรือเรียกเอาได้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแล้วก็ย่อมเป็นเบี้ยปรับทั้งสิ้น ฉะนั้น หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ศาลมีสิทธิบังคับคดี และประเด็นการยึดทรัพย์สินสมรส
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน ช่วง 3 เดือนแรก คือเดือนธันวาคม 2536 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2537 เดือนละ 10,000บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2537 เป็นต้นไปเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่ 20 มกราคม 2537 เป็นเงิน 5,000 บาท และในวันที่ 24 มกราคม2537 อีก 5,000 บาท เป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด ถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมความ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้ แม้ชำระหนี้ภายหลัง
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้กำหนดวันและจำนวนหนี้ที่ต้องชำระไว้แน่นอนเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือว่าจำเลยผิดนัดไม่ปฎิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาโจทก์มีอำนาจที่จะบังคับคดีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยได้ทันทีแม้ว่าหลังผิดนัดไม่กี่วันจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์และงวดต่อไปก็ชำระให้โจทก์ตรงตามคำพิพากษาก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้ถ้าทรัพย์ที่ยึดเป็นของธ. ก็เป็นเรื่องของธ. ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่มิใช่เป็นเรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที แม้จะชำระภายหลัง
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่15ของเดือนช่วง3เดือนแรกคือเดือนธันวาคม2536เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2537เดือนละ10,000บาทตั้งแต่เดือนมีนาคม2537เป็นต้นไปเดือนละ15,000บาทจนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่15ธันวาคม2536ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่20มกราคม2537เป็นเงิน5,000บาทและในวันที่24มกราคม2537อีก5,000บาทเป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อธ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรสในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วยและถ้าเป็นของธ.จริงก็เป็นเรื่องของธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้นปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกาทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคแรกจำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ ไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ลูกหนี้ไม่ผิดนัดชำระหนี้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นดอกเบี้ยในสัญญากู้ มิใช่เบี้ยปรับ แม้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ
of 18