พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขนของทางทะเล, การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ, และความรับผิดของผู้ขนส่งร่วม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือเมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้า บริษัทอ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้วจะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่าการปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่าค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ต่อศาลแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 3(2)(ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่28 เมษายน 2534 และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะ มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็น บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมาย ที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี และจำเลยที่ 1เป็นผู้ติดต่อให้เรือท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะ เป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้า พิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616 ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาท บริษัทอ. ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวรับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้า ที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พิพาทดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้า: การยกเว้นความรับผิด และการสูญหายของสินค้า
แม้ผู้ฝากสินค้าพิพาทจะเป็นพนักงานของบริษัท ฮ.ผู้ส่ง ได้ลงชื่อไว้ในใบลำดับรายการรับฝากส่งพัสดุภัณฑ์ซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งก็ตาม แต่บริษัท ฮ.ผู้ส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 625
สินค้าพิพาทเป็นยา ซึ่งแม้มีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 620 วรรคหนึ่ง บริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท ฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปนั้นตาม มาตรา 616
ฎีกาของจำเลยที่ว่า สินค้าพิพาทบริษัท ฮ.ไม่ใช่เจ้าของที่จะนำไปประกันภัยไว้แก่โจทก์ บริษัท ฮ.จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ในประเด็นข้อนี้จำเลยได้แถลงสละประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
สินค้าพิพาทเป็นยา ซึ่งแม้มีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 620 วรรคหนึ่ง บริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยผู้ขนส่งจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท ฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปนั้นตาม มาตรา 616
ฎีกาของจำเลยที่ว่า สินค้าพิพาทบริษัท ฮ.ไม่ใช่เจ้าของที่จะนำไปประกันภัยไว้แก่โจทก์ บริษัท ฮ.จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ในประเด็นข้อนี้จำเลยได้แถลงสละประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหายและข้อตกลงยกเว้นความรับผิดที่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อปรากฏว่าสินค้าประตูอัตโนมัติซึ่งจำเลยเป็นผู้ขนส่งได้สูญหายไปบางส่วนและจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า การสูญหายดังกล่าวเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่ง หรือผู้รับตราส่งเช่นนี้ จำเลยก็ต้องรับผิดในการที่สินค้าประตูอัตโนมัติสูญหายไปบางส่วนดังกล่าวต่อผู้รับตราส่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ข้อกำหนดในใบตราส่งที่ว่าในกรณีที่ความเสียหายต่อสินค้าที่สามารถเห็นได้ บุคคลที่มีสิทธิรับสินค้าจะต้องทำคำร้องเรียนต่อผู้ขนส่งเป็นหนังสืออย่างช้าที่สุดภายใน 14 วัน จากวันรับสินค้านั้น เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่ง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา625
เมื่อปรากฏว่าชิ้นส่วนของสินค้าสูญหายไป ผู้รับตราส่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่รายงานความเสียหายของคลังสินค้า ทำรายงานความเสียหายของสินค้าไว้แล้ว ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าเอาไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 621 วรรคหนึ่ง
จำเลยผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าต่อผู้รับตราส่ง และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่งในฐานะผู้รับประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 880วรรคแรก
ข้อกำหนดในใบตราส่งที่ว่าในกรณีที่ความเสียหายต่อสินค้าที่สามารถเห็นได้ บุคคลที่มีสิทธิรับสินค้าจะต้องทำคำร้องเรียนต่อผู้ขนส่งเป็นหนังสืออย่างช้าที่สุดภายใน 14 วัน จากวันรับสินค้านั้น เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่ง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา625
เมื่อปรากฏว่าชิ้นส่วนของสินค้าสูญหายไป ผู้รับตราส่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่รายงานความเสียหายของคลังสินค้า ทำรายงานความเสียหายของสินค้าไว้แล้ว ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าเอาไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 621 วรรคหนึ่ง
จำเลยผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าต่อผู้รับตราส่ง และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่งในฐานะผู้รับประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 880วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ดูแลสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายจากการโจรกรรมในท่าเรือ
การขนส่งสินค้าพิพาทเป็นการขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย (CY/CY)ซึ่งผู้ส่งรับตู้สินค้าไปบรรจุ ตรวจนับสินค้าเข้าตู้ ผนึกดวงตราที่บานประตูตู้สินค้าและส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ ลานวางตู้สินค้าโดยผู้ขนส่งมิได้เกี่ยวข้องกับการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า คงมีหน้าที่ขนส่งตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าโดยผู้ส่งมายังจุดหมายปลายทางคือท่าเรือกรุงเทพตามที่ตกลงกันดังระบุไว้ในใบตราส่ง และส่งมอบตู้สินค้าที่ขนส่งให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ณ ลานพักสินค้าของจำเลยที่ 3เพื่อให้โจทก์ผู้นำเข้าทำพิธีการทางศุลกากรและดำเนินพิธีการออกสินค้าต่อไป ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่มีหน้าที่ที่จะต้องนำสินค้าที่ขนส่งไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้รับตราส่งที่จะต้องมารับสินค้า ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการดูแลสินค้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือของจำเลยที่ 1 และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้นำตู้สินค้าพิพาทไปเก็บไว้ที่ลานพักสินค้าหน้าโรงพักสินค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้มอบตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตัวแทนเรือจะมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 3 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งมอบและรับมอบตู้สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือเดินทะเลต่างประเทศโดยมิได้มอบตู้สินค้าให้แผนกโรงพักสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้ใส่กุญแจให้มั่นคงแข็งแรงก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงและที่ปฏิบัติต่อกันถือว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบตู้สินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้รับตู้สินค้าพิพาทไว้ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งโจทก์ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำสินค้าบุหรี่ออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต่อไป ดังนี้ตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าจึงไม่ใช่ยังอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทำไว้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง แม้ต่อมาสินค้าจะสูญหายไป จำเลยที่ 1ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และมิใช่กรณีที่จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 623 มาปรับใช้ให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพราะมาตรา 623เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งเสียก่อน และเมื่อโจทก์ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปโดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของผู้ขนส่งที่เกิดขึ้นแล้วจึงสิ้นสุดลง
สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือและโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
การที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งนำตู้สินค้าขนถ่ายลงจากเรือแล้วนำมาเก็บไว้ที่ลานโรงพักสินค้าภายในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 เป็นวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของจำเลยที่ 3 และของเจ้าพนักงานศุลกากร และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าดังกล่าวซึ่งรวมถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นด้วย จนกว่าจะมีการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกไปจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 และการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกจากอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่าเรือของจำเลยที่ 3 ก่อน รวมทั้งจำเลยที่ 3 เรียกเก็บค่าภาระซึ่งหมายถึงค่าฝากสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และโจทก์ต้องชำระก่อนนำตู้สินค้าหรือสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ซึ่งในกรณีคดีนี้จำเลยที่ 3 ก็ได้เรียกเก็บค่าภาระ จากโจทก์ และโจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ต้องถือว่าตู้สินค้าที่เก็บไว้ที่ลานพักสินค้าในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ตู้สินค้า รวมทั้งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าซึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3
ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยก็เป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่จะหามาตรการที่เหมาะสมมาดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นเอง ดังนั้นเมื่อสินค้าบุหรี่พิพาทที่บรรจุในตู้สินค้าที่จำเลยที่ 3 รับควบคุมดูแลรักษาสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรมและจำนวนสินค้าบุหรี่ที่สูญหายไปมีจำนวนมาก ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์จะถูกโจรกรรมไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าละเลยต่อหน้าที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลรักษา อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้าและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมไปถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้านั้นด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์สูญหายไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ที่จำเลยที่ 3นำสืบว่ามีพนักงานของจำเลยที่ 2 ช่วยดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าด้วย ก็มิอาจปัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้รับสินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าให้พ้นไปได้ ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438
สำหรับค่าขาดกำไรที่โจทก์เรียกร้อง โดยคำนวณจากราคาสินค้าที่ขายหักด้วยจำนวนต้นทุนสินค้า ได้ความว่าโจทก์ขาดกำไรไปตามจำนวนที่ฟ้องและนำสืบจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องราคาสินค้าที่สูญหายไปซึ่งเป็นราคาของสินค้าในขณะที่มาถึงท่าเรือกรุงเทพ แต่โจทก์เรียกกำไรที่ได้จากการขายสินค้าดังกล่าวดังนั้นจึงต้องนำค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ามาพิจารณาประกอบด้วย และเมื่อคู่ความมิได้มีการนำสืบถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในข้อนี้ให้รับฟังได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควร
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและในมาตรา 224 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในหนี้เงินในระหว่างผิดนัดไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารอันเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าบุหรี่ที่โจทก์ซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียแก่ธนาคารในเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารที่ได้ชำระราคาสินค้าบุหรี่ไป จึงมิใช่เหตุโดยตรงจากการกระทำละเมิดที่โจทก์จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือของจำเลยที่ 1 และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้นำตู้สินค้าพิพาทไปเก็บไว้ที่ลานพักสินค้าหน้าโรงพักสินค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้มอบตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตัวแทนเรือจะมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 3 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งมอบและรับมอบตู้สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือเดินทะเลต่างประเทศโดยมิได้มอบตู้สินค้าให้แผนกโรงพักสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้ใส่กุญแจให้มั่นคงแข็งแรงก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงและที่ปฏิบัติต่อกันถือว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบตู้สินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้รับตู้สินค้าพิพาทไว้ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งโจทก์ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำสินค้าบุหรี่ออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต่อไป ดังนี้ตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าจึงไม่ใช่ยังอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทำไว้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง แม้ต่อมาสินค้าจะสูญหายไป จำเลยที่ 1ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และมิใช่กรณีที่จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 623 มาปรับใช้ให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพราะมาตรา 623เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งเสียก่อน และเมื่อโจทก์ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปโดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของผู้ขนส่งที่เกิดขึ้นแล้วจึงสิ้นสุดลง
สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือและโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
การที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งนำตู้สินค้าขนถ่ายลงจากเรือแล้วนำมาเก็บไว้ที่ลานโรงพักสินค้าภายในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 เป็นวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของจำเลยที่ 3 และของเจ้าพนักงานศุลกากร และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าดังกล่าวซึ่งรวมถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นด้วย จนกว่าจะมีการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกไปจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 และการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกจากอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่าเรือของจำเลยที่ 3 ก่อน รวมทั้งจำเลยที่ 3 เรียกเก็บค่าภาระซึ่งหมายถึงค่าฝากสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และโจทก์ต้องชำระก่อนนำตู้สินค้าหรือสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ซึ่งในกรณีคดีนี้จำเลยที่ 3 ก็ได้เรียกเก็บค่าภาระ จากโจทก์ และโจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ต้องถือว่าตู้สินค้าที่เก็บไว้ที่ลานพักสินค้าในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ตู้สินค้า รวมทั้งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าซึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3
ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยก็เป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่จะหามาตรการที่เหมาะสมมาดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นเอง ดังนั้นเมื่อสินค้าบุหรี่พิพาทที่บรรจุในตู้สินค้าที่จำเลยที่ 3 รับควบคุมดูแลรักษาสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรมและจำนวนสินค้าบุหรี่ที่สูญหายไปมีจำนวนมาก ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์จะถูกโจรกรรมไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าละเลยต่อหน้าที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลรักษา อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้าและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมไปถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้านั้นด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์สูญหายไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ที่จำเลยที่ 3นำสืบว่ามีพนักงานของจำเลยที่ 2 ช่วยดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าด้วย ก็มิอาจปัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้รับสินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าให้พ้นไปได้ ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438
สำหรับค่าขาดกำไรที่โจทก์เรียกร้อง โดยคำนวณจากราคาสินค้าที่ขายหักด้วยจำนวนต้นทุนสินค้า ได้ความว่าโจทก์ขาดกำไรไปตามจำนวนที่ฟ้องและนำสืบจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องราคาสินค้าที่สูญหายไปซึ่งเป็นราคาของสินค้าในขณะที่มาถึงท่าเรือกรุงเทพ แต่โจทก์เรียกกำไรที่ได้จากการขายสินค้าดังกล่าวดังนั้นจึงต้องนำค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ามาพิจารณาประกอบด้วย และเมื่อคู่ความมิได้มีการนำสืบถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในข้อนี้ให้รับฟังได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควร
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและในมาตรา 224 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในหนี้เงินในระหว่างผิดนัดไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารอันเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าบุหรี่ที่โจทก์ซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียแก่ธนาคารในเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารที่ได้ชำระราคาสินค้าบุหรี่ไป จึงมิใช่เหตุโดยตรงจากการกระทำละเมิดที่โจทก์จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้า โดยพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาทำสัญญา
สัญญารับขนสินค้าพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2534ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2536 หลังจากที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับแล้ว ในการพิจารณาถึงสิทธิเรียกร้องและความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าที่ขนส่งทางทะเล จึงต้องนำเอากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญามาปรับใช้แก่คดี เพราะหากนำเอาพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ซึ่งมีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีมาปรับใช้แก่คดีแล้วย่อมเป็นช่องทางให้คู่กรณีเลือกใช้กฎหมายที่จะปรับแก่คดีได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมาปรับใช้แก่คดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสองและมาตรา 4 วรรคสอง
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้า กรณีจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอด
องค์การคลังสินค้าได้สั่งซื้อสินค้าปูนซีเมนต์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ขายได้ว่าจ้างบริษัท ซ.เป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยโดยเรือเดินทะเล เมื่อเรือบรรทุกสินค้าปูนซีเมนต์มาถึงท่าเรือกรุงเทพ และจอดเรือรอขนถ่ายปลดเปลื้องสินค้า องค์การคลังสินค้าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนถ่ายสินค้าโดยเรือฉลอมจากเรือเดินทะเลมายังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้า บริษัท ซ.ไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ขนถ่ายสินค้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แต่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าตามสัญญาว่าจ้างที่ทำไว้กับองค์การคลังสินค้า เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าได้ชำระค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าแล้ว โจทก์จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายของสินค้า แม้ความเสียหายเกิดบนเรือเดินทะเล ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการนำเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าช่วงจากเกาะสีชังไปยังท่าเรือกรุงเทพ เพื่อนำสินค้ามอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทาง เมื่อจำเลยที่ 2 จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทมีวัตถุประสงค์ทางการค้าเกี่ยวกับกิจการขนส่งลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้า และหากเรือเดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามาจากต่างประเทศมีระวางว่าง จำเลยที่ 2 สามารถรับจองระวางและเรียกเก็บค่าระวางได้ทันทีจำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลรับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ การที่จำเลยที่ 2ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลที่เกาะสีชังไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครเป็นการทำหน้าที่ขนส่งทอดหนึ่งในเส้นทางขนส่งทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แม้สินค้านั้นจะสูญหายและบุบสลายในเรือเดินทะเล ผู้ขนส่งหลายทอดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าสินไหม-ทดแทนให้แก่โจทก์
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง: การแสดงความตกลงชัดเจนและผลกระทบต่อสิทธิของผู้รับตราส่งและผู้รับประกันภัย
ผู้ส่งไม่ได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัดในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งคือจำเลย ข้อจำกัดความรับผิดที่ให้จำเลยรับผิดเพียงหีบห่อละไม่เกิน 100 ปอนด์สเตอร์ลิง จึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยัน อ.ผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิมาจากผู้ส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 627ตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตรงส่งมาอีกทอดหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ประกอบการท่าเรือ: ไม่ถือเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วม
จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและขนถ่ายสินค้าจากเรือเข้าโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รายงานเรื่องเรือเข้าออกต่อกรมเจ้าท่าและกรมศุลกากร ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจคนที่มากับเรือแจ้งให้บริษัท อ.ผู้รับสินค้าทราบถึงการมาถึงของสินค้า และให้ผู้รับสินค้าไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าเป็นการกระทำแทนบริษัทผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้น ไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับบริษัทดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทและเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับเรื่องรับขนของทางทะเล เพราะในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการนั้นและไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วมในการขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง