คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันไม่มีการลงวัน เดือน ปีที่ออกหลักฐานไม่ระบุวงเงินที่ค้ำประกัน โดยเว้นว่างช่องที่จะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆของสัญญาไว้ทั้งหมดส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ตามรายละเอียดสัญญาข้อที่ 1-4 ระหว่างโจทก์และจำเลย" นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นสัญญาฉบับใดและมีข้อความอย่างใดสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียวการตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด แม้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์ โดยระบุยอมใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่สัญญาดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ที่เว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ดังนั้น ข้อความที่ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมดจึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา ค่าเสียหายจากการไม่คืนรถ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาก่อน สัญญาเช่าซื้อยังไม่เลิกกัน ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ดังกล่าวจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่จะรับวินิจฉัย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน มีผลให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391,392 และ 369 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโดยยังครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตามโจทก์รับมาในคำแก้อุทธรณ์ ซึ่งศาลชั้นต้นรับไว้เป็นคำแถลงการณ์ว่า จำเลยที่ 1 นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่โจทก์อีกบางส่วน ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องพึงชดใช้ให้แก่โจทก์ด้วย และค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน จึงให้คำพิพากษามีผลไปถึงจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์ และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 โดยมาตรา 392 ให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งคืน ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์ได้ ตามมาตรา 391 วรรคสาม
ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตลอดเวลาที่ไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อกับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน เมื่อปรากฏว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระให้โจทก์อีก 80,000 บาท ซึ่งต้องนำไปหักออกจากจำนวนเงินดังกล่าว ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงวิธีชำระหนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิด
การที่ ด. ผู้ค้ำประกันมีหนังสือถึงโจทก์ขอผ่อนชำระหนี้ทั้งหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งควรจะชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นในครั้งเดียวแต่ก็ขอแบ่งชำระเป็นงวด ๆ เป็นเพียงเปลี่ยนแปลงวิธีชำระหนี้เก่าให้ผิดไปจากเดิม มิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ที่จะทำให้หนี้ระงับ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันอีกคนหนึ่งจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเฉพาะคู่กรณี ไม่สละสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาต่อศาลชั้นต้นแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงต่อโจทก์ในศาลว่าจะชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ทำตามที่ตกลงไว้ยอมให้โจทก์บังคับคดีไปตามที่ตกลงทำยอมกันนั้นได้ มิได้ตกลงให้หนี้กู้ยืมและจำนองตามฟ้องนั้นระงับไป จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9221/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น มิได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และมิใช่เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาชำระหนี้และวิธีการชำระหนี้จึงมิใช่การแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับ หนี้ตามสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อย่อมไม่ระงับเช่นกันจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไม่ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ยินยอมค้ำประกันการชำระหนี้ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ด้วยก็ตามเพราะโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินที่ค้างชำระตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้ซึ่งเป็นจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและหนี้ยังไม่ระงับนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันเฉพาะนิติบุคคลที่ระบุในสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" ขอทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่บริษัท ส. และบริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากบริษัท ส. ให้ย้ายไปปฏิบัติงาน มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แก่บริษัท ส. และเฉพาะแก่บริษัทในกลุ่มบริษัท สก. ทุกบริษัทซึ่งมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นบริษัทในเครือของบริษัท สก. แต่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นลูกจ้างของโจทก์ สัญญาค้ำประกันฉบับดังกล่าวก็หาได้ครอบคลุมถึงโจทก์ด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดี: ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินจึงบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จะต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เสียก่อน หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่โจทก์จะนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงจะดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้และการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก แต่โจทก์กลับนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ก่อนเป็นการข้ามการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จะต้องบังคับชำระหนี้โดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่งก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการบังคับคดี: ผู้ค้ำประกันต้องถูกบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินที่บังคับได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน แม้จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้ขอให้ออกคำบังคับแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ก็ตาม แต่ในการทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก จำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 โดยให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ได้ แม้โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 แล้วไม่มีการขาย และหากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ไม่พอชำระหนี้ โจทก์จะต้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง ก็ไม่มีเหตุที่จะมีคำสั่งเพียงให้งดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ไว้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของผู้ค้ำประกัน การฟ้องข้ามอายุความทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้กรุงไทยธนวัฏไว้กับโจทก์ สาขาบางขุนเทียน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาวันที่ 10 มกราคม 2535 จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ได้ทำหนังสือไปถึงธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2538 แจ้งว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว ขอให้ธนาคารโจทก์ สาขาพัทลุง ช่วยคัดสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 1 เพื่อที่จะดำเนินคดีแก่ทายาทของจำเลยที่ 1 ต่อไป แสดงให้เห็นว่า ธนาคารโจทก์ สาขาบางขุนเทียน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 3 ตุลาคม 2538 โจทก์รู้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทราบการตายของจำเลยที่ 1 ในขณะยื่นฟ้องคือวันที่ 11 ธันวาคม 2540 นั้น เป็นการวินิจฉัยผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 , 243 (3) ประกอบมาตรา 247 การที่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 นับแต่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมภายในอายุความ 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 694 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้อง
of 58