พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการทำสัญญา และผลของการรับมอบงานที่กรรมการคนอื่นไม่ทักท้วง
ระหว่างเกิดเหตุ จ. เป็นผู้จัดการของบริษัทจำเลยย่อมถือได้ว่าจ. เป็นผู้แทนบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลในอันที่จะแสดงออกถึงความประสงค์แทนบริษัทจำเลยได้ การที่ จ. ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ทำการติดตั้งถังน้ำในโรงงานเพื่อใช้ในกิจการของจำเลยแม้จะฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัทที่ระบุว่าต้องมีกรรมการผู้มีอำนาจอีกคนหนึ่งร่วมลงนามด้วย แต่ระหว่างที่โจทก์ดำเนินการตามสัญญากรรมการของบริษัทจำเลยคนอื่นไม่ได้ทักท้วงและรับมอบผลงานนั้นจากโจทก์ไว้แล้ว จำเลยจะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการ-นิติบุคคล: กรณีประโยชน์ขัดแย้ง ศาลสั่งตั้งผู้แทนเฉพาะการ
คำว่า ผู้จัดการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 หมายถึงผู้จัดการที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อโจทก์เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีอำนาจดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งที่ระบุไว้และประทับตราสำคัญ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1 เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2 ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1 เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2 ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการนิติบุคคล: ประโยชน์ทับซ้อนทำให้หมดอำนาจแทน, ตั้งผู้แทนเฉพาะการได้
คำว่า ผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80หมายถึงผู้จัดการที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อโจทก์เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีอำนาจดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งที่ระบุไว้และประทับตราสำคัญ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่และความรับผิดของผู้อำนวยการ/ผู้จัดการคณะบุคคลในการยื่นภาษีและเสียภาษีในนามคณะบุคคล รวมถึงความรับผิดร่วมของหุ้นส่วน
โจทก์เป็นผู้อำนวยการหรือผู้จัดการของคณะบุคคลซึ่งมีเงินได้พึงประเมินจึงมีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ตลอดทั้งเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยไม่มีการแบ่งแยก เมื่อรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินของคณะบุคคลตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้จัดการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว ย่อมมีอำนาจทำการประเมินแจ้งจำนวนเงินเรียกเก็บภาษีเพิ่มไปยังโจทก์ตามมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากรทั้งนี้โดยโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรา 56 วรรคสอง
การที่ มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล ร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระด้วย ไม่ทำให้หน้าที่และความรับผิดของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เจ้าพนักงานประเมินหาจำต้องเรียกให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลมาร่วมรับผิดกับโจทก์ไม่
การที่ มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคล ร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระด้วย ไม่ทำให้หน้าที่และความรับผิดของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เจ้าพนักงานประเมินหาจำต้องเรียกให้หุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลมาร่วมรับผิดกับโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วทำสัญญาค้ำประกัน: หุ้นส่วนไม่ต้องรับผิด ผู้จัดการต้องรับผิดเอง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ที่บัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้ฟังถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีนั้น มิได้หมายความว่า ในระหว่างนั้น ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะทำกิจการได้ทุกอย่าง แต่จะทำได้เฉพาะกิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเท่านั้น ซึ่งได้แก่กิจการอันเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
การค้ำประกันหนี้ผู้อื่นไม่ใช่กิจการอันจำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนแล้ว และอยู่ในระหว่างชำระบัญชีจึงกระทำมิได้และไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำแทน แต่การที่หุ้นส่วนผู้จัดการทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวแทนห้างหุ้นส่วน เป็นเรื่องตัวแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดตามสัญญาโดยลำพัง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิก่อสร้างอาคารเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการไม่มีสิทธิแยกต่างหากเมื่อสัญญาสิ้นผล
จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ซึ่งตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อคดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะทำการก่อสร้างในที่พิพาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิก่อสร้างอาคารในที่พิพาทในนามของตนเองต่างหากจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิก่อสร้างอาคารเป็นของห้างหุ้นส่วน ไม่ใช่ผู้จัดการ หากห้างหุ้นส่วนไม่มีสิทธิ ผู้จัดการก็ไม่มีสิทธิด้วย
จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ซึ่งตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเมื่อคดีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะทำการก่อสร้างในที่พิพาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิก่อสร้างอาคารในที่พิพาทในนามของตนเองต่างหากจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ถือประทานบัตรต่อการขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มิได้รู้เห็นโดยตรง
ศาลพิพากษาริบแร่ดีบุกของกลาง ผู้ร้องเป็นผู้ถือประทานบัตรเป็นเจ้าของแร่ ลูกจ้างของผู้ร้องขนแร่โดยไม่มีใบอนุญาตขนแร่ ซึ่งผู้จัดการของผู้ร้องใช้ให้ทำ เท่ากับผู้ร้องยอมรับรู้ในกิจการที่ผู้จัดการดำเนินการเกี่ยวกับเหมืองแร่ ผู้ร้องอ้างว่ามิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยไม่ได้ ศาลไม่คืนแร่แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบครองเงินและการรับผิดของผู้จัดการธนาคารต่อความเสียหายจากการยักยอก
จ.มอบเงินให้ป.ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาไทเปอันเป็นสาขาของธนาคารโจทก์ร่วม เพื่อประโยชน์ของธนาคารโจทก์ร่วม ป.ได้มอบหมายให้จำเลยนำเงินนั้นไปฝากธนาคารอื่นในนามของจำเลย การที่ จ. ได้มอบการครอบครองเงินดังกล่าวให้แก่ป.ก่อนแล้วป.จึงมอบให้จำเลย ป.จึงต้องมีหน้าที่รักษาและรับผิดชอบในเงินจำนวนนี้ หากเกิดความเสียหายขึ้นธนาคารโจทก์ร่วมจะต้องรับผิดชดใช้ ดังนี้เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ขนส่ง: ผู้ประกอบการฯ และบทบาทของกรรมการ/ผู้จัดการฝ่ายเดินรถ
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 14 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะเข้าทำการขนส่งในเส้นทางใดในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางในเส้นทางนั้น คือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธาณะคือบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงคนขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. มิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธาณะ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดความมาตรา 14
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 51 คือ ผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51
ผู้ที่จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 51 คือ ผู้ที่ประกอบการรับจัดการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งคนโดยสารเป็นการประกอบการรับจัดการขนส่งของบริษัท พ. จำเลยที่ 1 เป็นเพียงบุคคลที่ทำหน้าที่ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งโดยเป็นคนขับหรือควบคุมเครื่องอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ดำเนินการรับจัดการขนส่งแทนบริษัท พ. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการฝ่ายเดินรถของบริษัท พ. ดังนี้ จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามมาตรา 51