คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการรับผิดของผู้ชำระบัญชีต่อหนี้ภาษี
โจทก์แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1ทราบว่าจะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้วเมื่อไม่ชำระโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน ส่วนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2 นำไปแบ่งให้จำเลยที่ 2-8 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฝากเงินของผู้ชำระบัญชีที่ไม่สุจริตในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นบริษัทเงินทุนถูกกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนอันเป็นเหตุให้บริษัทจำเลยต้องเลิกไปตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี รวบรวมทรัพย์สินได้เงินสดจำนวนหนึ่ง โจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2527ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลย ได้นำเงินสดของบริษัทจำเลยไปฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ขณะรับฝากเงินผู้คัดค้านที่ 2 ทราบอยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งจะต้องถูกเพิกถอน การที่ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับประโยชน์จากการฝากเงินของจำเลยหรือไม่ มิใช่ข้อสาระสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง, เช่าซื้อ, ผู้ชำระบัญชี, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด: หลักเกณฑ์และขอบเขต
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกัน ส. และ ว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือน พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนหนี้ของ ส. และ ว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ฯ นั้นในอรรถคดีด้วย
ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ชำระบัญชี, อายุความชำระบัญชี, และดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาจำนอง
ป.พ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด เมื่อการชำระบัญชียังไม่เสร็จผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามมาตรา 1259 ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุว่าไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ และโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยผิดนัดดังนี้จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้โดยผู้ชำระบัญชีทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง ทำให้สิทธิเรียกร้องไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2527 ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้มีหนังสือถึงเจ้าหนี้ว่า โดยที่ปรากฏในสมุดบัญชีว่าเจ้าหนี้มีชื่อเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ ขอให้เจ้าหนี้ติดต่อแสดงหลักฐานการเป็นหนี้เจ้าหนี้จึงนำหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ไปแสดง นอกจากผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้จะมิได้ปฏิเสธความรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้ว ผู้ชำระบัญชียังได้มีหนังสือลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2527ถึงเจ้าหนี้แจ้งให้ไปแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทค. ถือได้ว่าเป็นการทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ ตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2527 และเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันนั้น เมื่อนับถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่พ้นเวลา 3 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้โดยผู้ชำระบัญชี ส่งผลสะดุดอายุความค้างชำระหนี้
การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้มีหนังสือแจ้งเจ้าหนี้ว่าเจ้าหนี้มีชื่อเป็นเจ้าหนี้ในสมุดบัญชีของลูกหนี้ ขอให้เจ้าหนี้ติดต่อแสดงหลักฐานการเป็นหนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ไปแสดง .......... ผู้ชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้ ผู้ชำระบัญชีกลับมีหนังสือถึงเจ้าหนี้ให้นำตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังกล่าวไปเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทที่ได้รับมอบหมาย พฤติการณ์ของบริษัทลูกหนี้ดังนี้ เป็นการกระทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่า ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ อายุความย่อมสะดุดหยุดลง เมื่อนับถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่พ้นเวลาสามปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินยังไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, การตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อกรรมการขัดแย้ง, และอำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
เมื่อบริษัทเลิกกันแล้ว หน้าที่นำความไปจดทะเบียนเป็นของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1254 แต่บริษัท น. ยังไม่มีผู้ชำระบัญชี ทั้งโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท น.ยังโต้แย้งกันอยู่ในเรื่องการชำระบัญชี กรรมการของบริษัทย่อมยังไม่เข้าเป็นผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ชำระบัญชีได้ไปจดทะเบียนเลิกบริษัท น. เมื่อบริษัทเลิกกันแล้วแต่ยังไม่มีการชำระบัญชี จึงถือเป็นกรณีที่ผู้ชำระบัญชียังไม่ได้จัดการให้เงินหรือสิทธิเรียกร้องในหนี้ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจะต้องชำระให้แก่บริษัทเป็นของผู้ถือหุ้นคนใดโจทก์ในฐานะส่วนตัวที่เป็นผู้ถือหุ้นและไม่ใช่เป็นผู้ชำระบัญชีจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้ได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัท น.แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สมควรจะเป็นผู้ชำระบัญชี เพราะโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัท น. ต่างไม่ไว้วางใจกันและไม่อาจเป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกัน และเป็นกรณีที่ยังไม่มีผู้ชำระบัญชีศาลก็มีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นคนกลางเป็นผู้ชำระบัญชีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังบอกเลิกสัญญาเช่า และความถูกต้องของฐานะโจทก์ผู้ชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้เช่าอาคารของ จ. แล้วให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเช่าช่วงเพื่อทำโรงแรมเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ จ. ผู้ให้เช่าและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผู้เช่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเช่าอาคาร และการที่จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ก็เป็นมูลกรณีจากการที่คู่กรณีในสัญญาจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อสัญญา ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ต้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิของจำเลยที่ 3ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือจงใจกระทำการฉ้อโกงอันเป็นการกระทำละเมิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วน, อำนาจผู้ชำระบัญชี, การแต่งทนาย, และการดำเนินคดีเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม ห้างฯ จำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและจัดให้มีการชำระบัญชี ว.หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดห้างฯ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจแต่งทนายสู้คดีแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ ว. แต่งตั้งทนายสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 ต้องเพิกถอนเสีย เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชี การที่จะอ้างเหตุฉุกเฉินตาม ป.พ.พ.มาตรา 802 ต้องเป็นตัวแทนกันมาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต อำนาจการดำเนินคดีเป็นของผู้ชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ ถึงแก่ความตายไปก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง มีผู้เป็นหุ้นส่วนอยู่สองคนคือจำเลยที่ 2 และ ว. จึงต้อง เลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอยู่ต่อไปอีก คงมีอยู่แต่ เฉพาะ ว. ผู้เดียวหากจะดำเนิน กิจการของห้างฯ จำเลยที่ 1 ต่อไปก็เท่ากับดำเนินการในกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1เลิกกันก็ต้อง จัดให้มีการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 ถึง1273 ว. จึงไม่มีอำนาจตั้ง ตนเองเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม มาตรา 1259(1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วยป.พ.พ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 มาก่อน ว. จึงไม่มีอำนาจเข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1เพราะเหตุฉุกเฉิน ได้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนับแต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1เสียทั้งหมด.
of 16