คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 310 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์โรงเรือนแยกจากที่ดิน ผู้ซื้อมีสิทธิเฉพาะโรงเรือน ไม่มีสิทธิในที่ดิน โจทก์มีสิทธิขับไล่
โรงเรือนพิพาทเดิมเป็นของ ท.โดย ท.เช่าที่ดินของ บ.เพื่อปลูกโรงเรือนพิพาทดังกล่าว ต่อมาปี 2530 บ.ยกที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงให้ ล.ต่อมา ล.ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นหลายแปลง ทำให้โรงเรือนพิพาทอยู่บนที่ดินสองแปลง คือโฉนดเลขที่ 6204 และ 62023 ครั้นปี 2533 จำเลยซื้อโรงเรือนพิพาทมาจาก ท. หลังจากนั้นปี 2537 ล.ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 62023 แก่โจทก์กรณีจึงเป็นเรื่องจำเลยซื้อเฉพาะโรงเรือนพิพาทจาก ท. แม้การซื้อขายจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์เฉพาะโรงเรือนพิพาทเท่านั้น หามีสิทธิในที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือนไม่ และเป็นเรื่องที่จำเลยมีโรงเรือนส่วนหนึ่งในที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ และแม้จำเลยจะเช่าที่ดินของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องการปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของบุคคลอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1312 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอมตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ และโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาต้องรับผิดชำระหนี้ แม้ผู้ซื้อมารับโอนเพียงผู้เดียว
เมื่อจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินแก่โจทก์และส. เป็นหนังสือพร้อมลงลายมือชื่อจำเลยแล้วย่อมมีผลผูกพันจำเลยต้องชำระหนี้แก่โจทก์และส. เจ้าหนี้ร่วมสิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียวซึ่งโจทก์และส. มีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้จากจำเลยโดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา298จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินและรับราคาที่ค้างจากโจทก์การที่โจทก์แต่ผู้เดียวมาขอรับโอนที่ดินและชำระราคาที่ค้างแก่จำเลยโดยส.ไม่ได้ร่วมมารับโอนด้วยไม่เป็นเหตุขัดข้องที่จำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่โจทก์ไม่ได้ จำเลยมิได้ยกข้อสัญญาข้อ3ขึ้นให้การต่อสู้การที่ศาลชั้นต้นยกข้อสัญญาดังกล่าวมาเป็นเหตุวินิจฉัยว่าจำเลยยังไม่ได้ผิดสัญญาจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นดังนั้นที่จำเลยยกข้อวินิจฉัยดังกล่าวมาเป็นข้อฎีกาต่อมาจึงถือได้ว่าเป็นปัญหาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้แก่โจทก์ต่ำไปโจทก์ต้องการให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้กำหนดให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแก่โจทก์จำนวนสูงขึ้นโจทก์จะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247บัญญัติไว้โจทก์จะอาศัยคำแก้ฎีกาในการขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาจำนวนสูงขึ้นหาได้ไม่ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยคำขอของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5992/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินประมูลเมื่อการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย เงินดังกล่าวไม่ใช่สิทธิของผู้ซื้ออีกต่อไป
เงินที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาลชั้นต้นในวันประมูลซื้อทรัพย์ได้นั้นเป็นเงินที่ผู้ซื้อทรัพย์ใช้ราคาทรัพย์ที่ประมูลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา515เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์แล้วนับแต่วันที่ผู้ซื้อทรัพย์วางต่อศาลแม้จำเลยจะยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตามแต่ผลที่สุดศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาว่าการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมายเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อทรัพย์แล้วเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ใช้ราคาทรัพย์ในวันที่วางเงินต่อศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อคดีไม่ถึงที่สุดเงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่กลับมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาระจำยอมตกแก่ผู้ซื้อที่ดินเดิม แม้มีทางออกอื่น
เจ้าของเดิมได้สิทธิภาระจำยอมโดยการใช้ติดต่อกันมากว่า 10 ปีเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของเดิมภาระจำยอมย่อมตกแก่โจทก์ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการได้มาหลังจากที่ภาระจำยอมนั้นเกิดมีขึ้นแล้ว ถึงหากโจทก์จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่ก็ต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมในการใช้ทางพิพาทสูญสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี และตกแก่ผู้ซื้อที่ดิน
เจ้าของเดิมได้สิทธิภารจำยอมโดยการใช้ติดต่อกันมากว่า10ปีเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของเดิมภารจำยอมย่อมตกแก่โจทก์ด้วยเช่นกันเพราะเป็นการได้มาหลังจากที่ภารจำยอมนั้นเกิดมีขึ้นแล้วถึงหากโจทก์จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะอีกทางหนึ่งแต่ก็ต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นก็ไม่ทำให้ภารจำยอมในการใช้ทางพิพาทสูญสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ที่ถูกริบจากการกระทำความผิด ผู้ซื้อคืนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
แม้ในขณะที่มีการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิดผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตามแต่ในระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้บุคคลภายนอกบุคคลภายนอกจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางนับแต่ที่ผู้ร้องได้ขายให้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางรถจักรยานยนต์ของกลางย่อมตกเป็นของแผ่นดินบุคคลภายนอกผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันนั้นอีกต่อไปแม้ผู้ร้องจะซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางคืนมาและเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนใหม่ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางและไม่มีสิทธิร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3107/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหวงห้าม: ผู้ซื้อทราบสถานะที่ดินหลังมีกฎหมายใช้บังคับ ย่อมมีความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้แก่กองทัพเรือตั้งแต่ พ.ศ. 2465และต่อมาได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตหวงห้ามสำหรับใช้ในราชการทหารพร้อมด้วยแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ พ.ศ.2479 ให้ประชาชนทราบแล้วทั้งต่อมา พ.ศ. 2528กรมธนารักษ์ได้ขึ้นทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนี้ย่อมถือว่าประชาชนทุกคนได้ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินหวงห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอบ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้มีการแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1 ก็ตาม แต่แบบแจ้งการครอบครองส.ค.1 ก็มิใช่คำอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงย่อมอ้างไม่ได้ว่าผู้เข้าไปยึดถือครอบครองในที่ดินไม่มีเจตนาเข้าไปในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่หวงห้ามได้ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากณ. เมื่อ พ.ศ. 2530ภายหลังที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับแล้ว ย่อมถือว่าจำเลยรู้อยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หวงห้าม เมื่อจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ การที่จำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทก็เพื่อยึดถือครอบครองและปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหารพ.ศ. 2478 มาตรา 5,7(3) และประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9(1),108 ทวิวรรคสอง เป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9(1),108 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวที่ไม่ผูกพันผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด สิทธิในตึกแถวเป็นของเจ้าของที่ดินเดิม
ก่อนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้นว.เจ้าของเดิมได้ตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่าโดยให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างตึกแถวบนที่ดินพิพาทที่เช่าและมีสิทธินำไปให้บุคคลอื่นเช่าต่อได้เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วให้กรรมสิทธิ์ในตึกแถวที่สร้างบนที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. แต่ข้อตกลงการเช่าดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ว.มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าระหว่าง ว.กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว.เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1แม้โจทก์ทราบข้อสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์ เพราะโจทก์มิได้ยอมตกลงกับจำเลยที่ 1ด้วย จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนั้งคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป ส่วนจำเลยที่ 1 เสียหายอย่างใด ก็จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อไป และสำหรับจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 กรณีไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 569 เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้รับโอนตึกแถวที่เช่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินโดยปริยาย ทางภาระจำยอม และสิทธิการใช้ทางของผู้ซื้อ
แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัท ก.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 และที่ดินโฉนดเลขที่ 31569 ส่วนที่เป็นทางพิพาทนั้นเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกระทำของบริษัท ก.ที่แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 90 แปลง เพื่อขายนั้น เป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่าบริษัท ก.จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาท อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30
การที่บริษัท ก.จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของบริษัท ก.ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้นทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินที่จัดสรรและที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัท ก.จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อจากบริษัท ก.ย่อมอยู่ในบังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ที่จะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้
โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในที่ดินจัดสรรดังกล่าว ย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่มีการก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางภาระจำยอม ย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อที่ดินแปลงที่ทางภาระจำยอมตั้งอยู่โอนมาเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางภาระจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สัญญาเช่าที่ไม่ผูกพันผู้ซื้อที่ดินเดิม
การที่จำเลยที่ 1 ออกเงินปลูกสร้างตึกแถวให้ ว. เจ้าของที่ดินเดิม และ ว. ยอมให้จำเลยที่ 1 เอาตึกแถวดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 เช่า มีกำหนดเวลารวม 20 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ว. กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิอันผูกพันจำเลยที่ 1 กับ ว. คู่สัญญา โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบ 20 ปี แล้ว ให้ตึกแถวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ว. ทันที แต่ข้อตกลงนี้มิได้จดทะเบียนสิทธิเป็นสิทธิเหนือพื้นดิน จึงมีผลใช้บังคับได้ระหว่าง ว. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะทราบสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะทราบสัญญานี้ก็ไม่ผูกพันโจทก์เพราะโจทก์มิได้ยินยอมตกลงกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะให้ตึกแถวนั้นคงอยู่ต่อไปในที่ดินของโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรื้อถอนตึกแถวออกไป ส่วนจำเลยที่ 2นั้น แม้จะจดทะเบียนสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 20 ปี ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิที่จะให้ตึกแถวอยู่ในที่ดินของโจทก์ได้แล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นบริวารของจำเลยที่ 1 จึงต้องออกไปจากที่ดินของโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย
of 31