พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้นตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายแทนบริษัทเท่านั้น
ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ๆ จะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมจะฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่ากล่าวก็ได้นั้น เป็นการให้อำนาจแก่ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการบริษัทผู้ทำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งโดยปกติบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ได้นั้น จะต้องฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท เฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นโมฆะ หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้นคดีกรรมการทำละเมิด: ต้องเป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ใช่ฟ้องให้โมฆะนิติกรรม
การฟ้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้อำนาจแก่ผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย ซึ่งโดยปกติบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต้องฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4เป็นโมฆะเช่นนี้ หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลย จะไม่ให้การต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนบริษัท: ผู้ถือหุ้น/กรรมการ ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง ต้องใช้มติที่ประชุม หรือฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการ
โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนบริษัทจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 บางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 เสียเองได้ไม่ และแม้โจทก์เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ด้วยคนหนึ่งก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ลำพังโจทก์เพียงคนเดียวไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และการจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3
ส่วนปัญหาที่ว่า หากไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายก็จะไม่มีใครเป็นผู้เสียหายได้เลยนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นสามารถกระทำได้โดยใช้มติที่ประชุมใหญ่ถอดถอนกรรมการชุดเดิมและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ แล้วให้กรรมการชุดใหม่ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 หรือหากโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นเสียหายก็สามารถดำเนินการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยหากบริษัทไม่ฟ้องกรรมการผู้นั้น โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะดำเนินการฟ้องเองได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
ส่วนปัญหาที่ว่า หากไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายก็จะไม่มีใครเป็นผู้เสียหายได้เลยนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นสามารถกระทำได้โดยใช้มติที่ประชุมใหญ่ถอดถอนกรรมการชุดเดิมและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ แล้วให้กรรมการชุดใหม่ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 หรือหากโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นเสียหายก็สามารถดำเนินการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยหากบริษัทไม่ฟ้องกรรมการผู้นั้น โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะดำเนินการฟ้องเองได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและการจำนอง
โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆแทนบริษัทจำเลยที่ 1 คงมีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 บางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้นหากอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1เสียเองได้ไม่ และแม้โจทก์เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ด้วยคนหนึ่งก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ลำพังโจทก์เพียงคนเดียวไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และการจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ส่วนปัญหาที่ว่า หากไม่ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายก็จะไม่มีใครเป็นผู้เสียหายได้เลยนั้น ในกรณีเช่นนี้ โจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นสามารถกระทำได้โดยใช้มติที่ประชุมใหญ่ถอดถอนกรรมการชุดเดิมและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ แล้วให้กรรมการชุดใหม่ดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 หรือหากโจทก์และผู้ถือหุ้นคนอื่นเสียหายก็สามารถดำเนินการฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยหากบริษัทไม่ฟ้องกรรมการผู้นั้น โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะดำเนินการฟ้องเองได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญเมื่อคณะกรรมการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ฯลฯ ก็ให้ถือตาม ป.พ.พ.ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วัน ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นร้องขอประชุมวิสามัญ หากคณะกรรมการไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกประชุมเองได้
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ ฯลฯ ก็ให้ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วันผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นเรียกประชุมวิสามัญและการชอบด้วยกฎหมายของมติที่ประชุม
ข้อบังคับของบริษัท เรื่องการประชุมใหญ่ระบุว่า การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมี 2 ชนิด คือ (1) การประชุมสามัญให้มีปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยคณะกรรมการเป็นผู้นัดประชุม (2) การประชุมวิสามัญให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1173 บัญญัติให้การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้นและในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด และตามมาตรา 1174 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญดังได้กล่าวมาในมาตราก่อนนี้แล้วให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน และถ้ากรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องไซร้ ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้องหรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกันได้จำนวนดังบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้ ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่และเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆรวม 6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและ ป.พ.พ.มาตรา 1173 แล้ว กรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามวรรคแรก คือต้องเรียกประชุมโดยพลัน จะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใดเมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ผู้คัดค้านกับนางจุรีมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2537 จึงชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1174 วรรคสอง กรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย
เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า1 ใน 4 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้นมติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า1 ใน 4 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้นมติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นในการเรียกประชุมวิสามัญเมื่อกรรมการไม่ดำเนินการตามกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ และเกินกว่า 1 ใน 5แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ รวม6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1173 แล้วกรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามคือ ต้องเรียกประชุมโดยพลันจะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174 เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ ผู้คัดค้านกับมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสองกรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้น มติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชอบตามกฎหมาย แม้เอกสารมีปัญหาการส่งคืน
เมื่อปรากฏว่าได้มีการส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทตามภูมิลำเนาของผู้ร้องในวันที่21มกราคม2537ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันแล้วย่อมถือได้ว่าได้มีการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175แล้วแม้ต่อมาเมื่อวันที่24มกราคม2537ทางไปรษณีย์จะส่งหนังสือคืนมาและบริษัทได้ส่งซ้ำกลับคืนให้ผู้ร้องในวันนั้นซึ่งผู้ร้องได้รับในวันที่27มกราคม2537ก่อนวันนัดประชุมสองวันก็ไม่มีผลทำให้การส่งครั้งแรกที่ถูกต้องกลายเป็นไม่ชอบอีกทั้งยังปรากฏว่าในวันที่14มกราคม2537ซึ่งเป็นวันที่มีการประชุมกรรมการของบริษัทและมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่29มกราคม2537นั้นผู้ร้องได้ร่วมประชุมอยู่ด้วยและทราบวันนัดประชุมแล้วจึงถือได้ว่าได้มีการแจ้งวันนัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว แม้เอกสารพิพาทจะเป็นพยานเอกสารที่ผู้คัดค้านที่2หมายเรียกมาจากบุคคลภายนอกและในวันนัดสืบพยานทนายผู้คัดค้านที่2แถลงไม่ติดใจสืบพยานและผู้คัดค้านที่1มิได้อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าทนายผู้ร้องซึ่งเบิกความเป็นพยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านของทนายผู้คัดค้านที่1ว่าไม่คัดค้านเอกสารดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าวจึงชอบที่ศาลจะรับฟังเอกสารพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8278/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเบิกความเท็จ: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องหากความเสียหายตกแก่บริษัท
ราคาที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยเบิกความกล่าวอ้างถึงในคดีแพ่งที่โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท อ. จำกัด กับพวก เป็นจำเลย เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. จำกัด ดังนั้น ไม่ว่าคำเบิกความของจำเลยเกี่ยวกับราคาค่าที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจะจริงหรือเท็จ หากศาลในคดีแพ่งพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองกับพวกเป็นฝ่ายชนะคดีค่าเสียหายสำหรับราคาค่าที่ดินดังกล่าวย่อมตกได้แก่บริษัท อ. จำกัด มิได้ตกแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาเบิกความเท็จ
แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. จำกัด แต่โดยที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้เป็นกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ตัวแทนของบริษัทผู้ได้รับความเสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลย หากโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการดำเนินกิจการของกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรรมการนั้นได้ตามกฎหมายโดยตรง
แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท อ. จำกัด แต่โดยที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้เป็นกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ตัวแทนของบริษัทผู้ได้รับความเสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลย หากโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการดำเนินกิจการของกรรมการของบริษัท โจทก์ทั้งสองก็มีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรรมการนั้นได้ตามกฎหมายโดยตรง