พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำโดยผู้ไม่มีอำนาจ ทำให้คดีขาดอายุความ แม้จะฟ้องใหม่
บริษัทจำกัดฟ้องความโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจโดยถูกต้องลงชื่อในคำฟ้องนั้น ถือเสมือนว่าฟ้องไม่มีการลงชื่อและไม่ถือว่าบริษัทจำกัดได้ เคยฟ้องคดีนั้นเลยฉะนั้นเมื่อบริษัทฟ้องคดีนั้นใหม่เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุความที่จะฟ้องร้องแล้วก็ย่อมขาดอายุความ ไม่มีเหตุจะอ้างได้ว่าอายุความได้สดุดหยุดลง (ป.ช.ญ.ครั้งที่ 8/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน
ของอากรชั้นในตามมาตรา 35 พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 หมายถึงสุราต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.ให้เสียภาษีชั้นใน ความประสงค์ของมาตรา 35 ก็เพื่อจะมิให้เจ้าของร้านซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว ซื้อสุราจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายของเช่นนั้น หรือของอากรชั้นใน.
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุรา จำเลยบังอาจซื้อน้ำสุรามาจำหน่ายหรือขายจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่มีข้อแก้ตัวอย่างไร ซึ่งเท่ากับรับสารภาพว่า ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุราและบังอาจซื้อน้ำสุราอื่นมีชื่อต่าง ๆ ตามที่กล่าวในฟ้องจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น ตรงตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 มาตรา 35 แล้ว
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุรา จำเลยบังอาจซื้อน้ำสุรามาจำหน่ายหรือขายจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่มีข้อแก้ตัวอย่างไร ซึ่งเท่ากับรับสารภาพว่า ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุราและบังอาจซื้อน้ำสุราอื่นมีชื่อต่าง ๆ ตามที่กล่าวในฟ้องจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น ตรงตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 มาตรา 35 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน ถือเป็นความผิด
ของอากรชั้นในตามมาตรา 35 พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ.1248หมายถึงสุราต่างๆตามพ.ร.บ.ให้เสียภาษีชั้นใน ความประสงค์ของมาตรา 35 ก็เพื่อจะมิให้เจ้าของร้านซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว ซื้อสุราจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายของเช่นนั้นหรือของอากรชั้นใน
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุราจำเลยบังอาจซื้อน้ำสุรามาจำหน่ายหรือขายจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่มีข้อแก้ตัวอย่างไรซึ่งเท่ากับรับสารภาพว่า ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุราและบังอาจซื้อน้ำสุราอื่นมีชื่อต่างๆ ตามที่กล่าวในฟ้องจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น ตรงตามพ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 มาตรา 35 แล้ว
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุราจำเลยบังอาจซื้อน้ำสุรามาจำหน่ายหรือขายจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่มีข้อแก้ตัวอย่างไรซึ่งเท่ากับรับสารภาพว่า ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ขายน้ำสุราและบังอาจซื้อน้ำสุราอื่นมีชื่อต่างๆ ตามที่กล่าวในฟ้องจากผู้ไม่มีอำนาจจะซื้อขายน้ำสุราเหล่านั้น ตรงตามพ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 มาตรา 35 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงนามในเอกสารโดยผู้มีอำนาจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
ครูใหญ่ออกใบสุทธิโดยข้อความเท็จ ไม่เป็นผิดฐานปลอมหนังสือ. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมใบสุทธิโดยลงนามเป็นครูใหญ่จำเลยรับสารภาพ ศาลเรียกสำนวนการสอบสวนมาดูได้ว่าจำเลยเป็นครูใหญ่จริงหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองฝิ่นโดยได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานมีฝิ่น
จำเลยเปนลูกจ้างเขานายจ้างไปซื้อฝิ่นที่จังหวัดแล้วแบ่งให้จำเลยถือพาล่วงหน้าไปก่อนเพื่อจะได้ไปพร้อมกันภายหลังเช่นนี้ จำเลยยังไม่มีความผิด วิธีพิจารณาอาญา ในคดีอาญาศาลหยิบยกข้อเท็จจริงในคดีอีกเรื่องหนึ่งมาวินิจฉัยได้เพียงไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11418/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความของนิติบุคคล ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมาย มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ในการยื่นใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ที่แต่งตั้งพนักงานอัยการจังหวัดตราดเป็นทนายความของจำเลยที่ 4 ระบุความว่า (กองทัพเรือ) จำเลยที่ 4 โดยพลเรือเอก พ. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนกองทัพเรือ และต่อมาในการยื่นใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ที่แต่งตั้งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นทนายความของจำเลยที่ 4 ระบุความว่า กองทัพเรือ (จำเลยที่ 4) โดยพลเรือเอก ส. (ไม่ปรากฏในฐานะอย่างใด) เหล่านี้ หาได้มีเอกสารใดยื่นประกอบให้สื่อความไว้ เมื่อกองทัพเรือ (จำเลยที่ 4) มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ การแต่งตั้งทนายความของจำเลยที่ 4 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือจึงต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความ ดังนั้น การที่พลเรือเอก พ. หรือพลเรือเอก ส. ซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือลงลายมือชื่อแต่งทนายความจำเลยที่ 4 โดยมิได้แนบหนังสือมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ทั้งมิได้นำสืบพยานเอกสารในเรื่องเหล่านี้ไว้แต่อย่างใดด้วย จึงเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61 อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือว่าเป็นการกระทำของบุคคลภายนอกที่ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 4 ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 4 กรณีดังกล่าวเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกขึ้นวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ดี ความบกพร่องในการแต่งทนายความของจำเลยที่ 4 ไม่กระทบกระเทือนถึงกระบวนพิจารณาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และแก้ไขได้โดยง่าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาไปถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและการพิจารณาผู้มีอำนาจรับรองอุทธรณ์ตามกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ได้บัญญัติถึงผู้ที่จะอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ไว้โดยเฉพาะแล้วว่าเป็นผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวง หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษาหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคเพื่อมีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7928/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวิธีการคุมขังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 89/2 สงวนไว้สำหรับผู้มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 89/2 บัญญัติว่า "ในกรณีมีเหตุจำเป็น เมื่อพนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้จำคุกผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามที่ระบุไว้ในหมายศาลที่ออกตามคำพิพากษานั้น หรือไม่น้อยกว่าสิบปี ในกรณีต้องโทษจำคุกเกินสามสิบปีขึ้นไป หรือจำคุกตลอดชีวิต โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้..." บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุก เป็นผู้ร้องขอ มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดจึงมิใช่บุคคลที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 89/2 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพ การพิสูจน์องค์ประกอบความผิด การรับสิทธิจากผู้มีอำนาจ
โจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญากรุงเบิร์น กับเป็นประเทศภาคีในความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า อันเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ได้ทำและนำออกสู่สาธารณชนซึ่งรายการกีฬาทางโทรทัศน์ช่อง "ESPN" กับ "STAR SPORTS" และรายการข่าวทางโทรทัศน์ข่าว "CNN" ตามลำดับ โดยการแพร่เสียงแพร่ภาพทางโทรทัศน์ จึงเป็นผู้สร้างสรรค์ซึ่งมีลิขสิทธิ์ร่วมกับบริษัทยูบีซี (UBC) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นทรูวิชันส์ (true visions) ทำความตกลงการมีสิทธิเด็ดขาดแต่ผู้เดียวในการให้บริการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่องดังกล่าวแก่สมาชิกผู้รับบริการภายในเขตประเทศไทย แต่จำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ทั้ง 3 ช่องดังกล่าวมาจาก ล. ที่ประเทศมาเลเซีย โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ ล. ทั้งปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ด้วยว่า การรับภาพและเสียงนั้น หากที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ไม่ปรากฏเครื่องหมาย "UBC" แสดงว่าเป็นการรับภาพและเสียงจากต้นกำเนิดโดยตรง กรณีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการช่องดังกล่าวมาจาก ล. ที่ประเทศมาเลเซีย จำเลยทั้งสองจึงมิได้กระทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำแก่งานของโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดและไม่เป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนปัญหาว่าจำเลยทั้งสองได้รับสิทธิการแพร่ภาพแพร่เสียงจาก ล. มาโดยชอบหรือไม่ ล. ได้รับมอบสิทธิจากโจทก์ร่วมที่ 3 และที่ 4 ให้ทำการแพร่เสียงแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ช่องดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศมาเลเซียและมีสิทธิอนุญาตช่วงให้จำเลยทั้งสองทำการแพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำในประเทศไทยหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 3 และที่ 4 อาจไปว่ากล่าวเอาแก่ ล. หรือไม่ต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ของกลางจึงไม่ใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดไม่อาจริบได้ ต้องคืนของกลางทั้งหมดแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์: ราคาไม่แน่นอน, ผู้มีอำนาจลงนามไม่ถูกต้อง ทำให้สัญญายังไม่ผูกพัน
ตามสัญญาแม้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่า จำนวนสินค้าที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นการประมาณการเท่านั้น การปรับปรุงราคาสินค้าที่ต้องชำระจะคิดคำนวณตามจำนวนสินค้าที่แท้จริง และข้อ 3 มีใจความว่า วันกำหนดส่งสินค้า และ/หรือกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าตามที่ระบุในสัญญาเป็นการกำหนดวันที่โดยประมาณ เช่นนี้ จำนวนสินค้า ราคาและกำหนดเวลาส่งสินค้าซึ่งจะมีผลไปถึงกำหนดวันที่ต้องชำระเงินจึงหาได้กำหนดไว้แน่นอนไม่โดยเฉพาะราคาสินค้านั้น ทั้งโจทก์และจำเลยมีการเจรจาโดยต่างเสนอข้อต่อรองเพื่อกำหนดราคาสินค้า เมื่อไม่ตกลงกันทำให้ราคาสินค้าไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ราคาสินค้าจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของสัญญาซื้อขายที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้เงื่อนไขของสัญญา ข้อ 13 ระบุว่า การลงนามทั้งหลายจะมีผลสมบูรณ์เมื่อกรรมการผู้จัดการของจำเลยลงนามแล้วเท่านั้น แต่กรรมการผู้จัดการของจำเลยหาได้ลงนามใน Sales contract (สัญญาซื้อขาย) ไม่ทั้งไม่ปรากฏว่า ส. ลงนามในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่เกิดขึ้น ทำให้ Sales contract (สัญญาซื้อขาย) หาได้มีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่