คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการซื้อที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ และการชดใช้ค่าใช้จ่ายของผู้รับโอน
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ เป็นการพิพากษาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการบังคับขายตามกฎหมาย มิใช่เป็นการซื้อขายโดยสมัครใจตาม ป.พ.พ. บทบัญญัติกฎหมายมาตราดังกล่าวมิใช่เพียงแต่ต้องการคุ้มครองผู้เช่านาให้ได้สิทธิซื้อที่นาที่เช่าอยู่ก่อนคนอื่นเท่านั้น แต่ยังต้องการคุ้มครองผู้รับโอนซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ไม่ต้องเสียหายเกินสมควร โดยให้ได้รับการชดใช้คืนซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นานั้นมาอย่างบริบูรณ์ด้วย การให้ผู้รับโอนรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งอาจเป็นจำนวนท่วมราคาซื้อขายทั้ง ๆ ที่ผู้รับโอนถูกบังคับขายเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่า ทำให้ผู้รับโอนมิได้รับการชดใช้ซึ่งสิ่งที่ได้ลงไปในการซื้อที่นามาอย่างบริบูรณ์ และไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับโอนตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ค่าธรรมเนียมในการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกรณีนี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่านาจะต้องรับภาระเอง ดังนั้นแม้คำพิพากษาศาลฎีกาจะมิได้กำหนดให้โจทก์เป็นผู้เสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โจทก์ก็จะอาศัยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขายหักค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากราคาซื้อขายที่กำหนดในคำพิพากษาไม่ได้
เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลโดยมิใช่คำร้องที่สามารถทำได้ฝ่ายเดียว ศาลย่อมมีอำนาจส่งสำเนาให้โจทก์เพื่อให้โอกาสคัดค้าน และเมื่อศาลฟังคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว ก็สามารถมีคำสั่งได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว หากโจทก์ยังคงไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะขอออกคำบังคับและหมายบังคับคดีเพื่อบังคับคดีแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979-4982/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมต่อผู้จัดการมรดกใหม่ และหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
แม้ว่าสัญญาจะซื้อขายที่เจ้ามรดกทำไว้กับโจทก์ทั้งห้าก่อนที่จะถึงแก่ความตายจะมีเพียงบุคคลสิทธิ ไม่ส่งผลให้โจทก์ทั้งห้าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งห้าได้เคยฟ้องกองมรดกของเจ้ามรดกและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแล้ว แม้ภายหลังจะมีการเพิกถอนผู้จัดการมรดกคนเดิมและตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทน คำพิพากษาตามยอมก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนจำเลยที่ 3 แม้ว่าจะเป็นวัดแต่เมื่อได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกย่อมต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดอันเกี่ยวกับที่ดินที่รับโอนมาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600, 1601 และ 1651 (2) การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 โอนที่ดินพิพาทเป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ปฏิบัติการชำระหนี้ของเจ้ามรดกที่ก่อไว้ก่อนถึงแก่ความตาย มิใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์หรือศาสนสมบัติกลางอันจะต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ศาลจึงมีคำพิพากษาในส่วนนี้ได้
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ จำเลย แล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ายังมีข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยอยู่อีกและข้อเท็จจริงนี้อาจเป็นผลให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเปลี่ยนแปลงไป สมควรที่จะฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงสมควรให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ข) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าต่อผู้รับโอนและข้อยกเว้นความขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ตามสัญญาเช่ามีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดอายุแล้วผู้ให้เช่าต้องให้ผู้เช่าเช่าอยู่ต่อไป โดยผู้ให้เช่าจะต่ออายุสัญญาเช่าให้ทุก ๆ 3 ปี และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นสองเท่าของที่กรมธนารักษ์เรียกเก็บ ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้จำเลยเช่าต่อไป ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบก่อนจะสนองรับว่า ป.ผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 360 ต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับคำมั่นของ ป.จึงไม่เสื่อมเสียไป มีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้ต้องปฏิบัติตามให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเดิม
ที่โจทก์ฎีกาว่า โดยพฤตินัยและตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนจำเลยต้องรู้หรือควรรู้ว่า ป.ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วเพราะเป็นคนในอำเภอเมือง-สมุทรสงครามด้วยกัน มีประชากรไม่มากน่าจะทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวของกันและกันดีเป็นฎีกาข้อเท็จจริง
เมื่อฟังว่าคำมั่นของ ป.มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า การที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่า ค่าตอบแทนเกินไปกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อดังกล่าว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.4 ขัดต่อความสงบ-เรียบร้อยของประชาชน เพราะเกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และทายาทผู้รับโอนต่อ ๆ ไปในภายหน้าให้ต้องปฏิบัติตามไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ไม่ควรมีผลบังคับแม้ปัญหานี้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคท้าย
เจ้าของทรัพย์สินจะให้เช่าทรัพย์สินของตนในลักษณะใดก็ได้เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก จึงหาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าหลังโอนมรดก: คำมั่นสัญญาเช่ามีผลผูกพันผู้รับโอนหากผู้ให้เช่ายังไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลง
ตามสัญญาเช่ามีข้อความว่าเมื่อครบกำหนดอายุแล้วผู้ให้เช่าต้องให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปโดยผู้ให้เช่าจะต่ออายุสัญญาเช่าให้ทุกๆ3ปีและเรียกเก็บเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นสองเท่าของที่กรมธนารักษ์เรียกเก็บข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้จำเลยเช่าต่อไปไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบก่อนจะสนองรับว่าป. ผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วกรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169วรรคสองมาใช้บังคับคำมั่นของป.จึงไม่เสื่อมเสียไปมีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้ต้องปฏิบัติตามให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเดิม ที่โจทก์ฎีกาว่าโดยพฤตินัยและตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนจำเลยต้องรู้หรือควรรู้ว่าป. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วเพราะเป็นคนในอำเภอเมืองสมุทรสงครามด้วยกันมีประชากรไม่มากน่าจะทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวของกันและกันดีเป็นฎีกาข้อเท็จจริง เมื่อฟังว่าคำมั่นของป. มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าการที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่าค่าตอบแทนเกินไปกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อดังกล่าวโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.4ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และทายาทผู้รับโอนต่อๆไปในภายหน้าให้ต้องปฏิบัติตามไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดไม่ควรมีผลบังคับแม้ปัญหานี้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์โจทก์ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคท้าย เจ้าของทรัพย์สินจะให้เช่าทรัพย์สินของตนในลักษณะใดก็ได้เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกจึงหาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตามกฎหมายเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้เช่ามีสิทธิซื้อที่ดินจากผู้รับโอนในราคาเดิม
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทใช้ทำนาโดยเช่าจากส.เจ้าของเดิมมานานโจทก์ทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมาจำเลยที่1ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลซึ่งในขณะนั้นปรากฎว่าโจทก์ยังเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและทำนาอยู่ดังนั้นการที่จำเลยที่1รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมผู้ให้เช่าแม้จำเลยที่1ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตามจำเลยที่1ก็ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมเพราะผู้ขายที่ดินพิพาทที่แท้จริงก็คือเจ้าของเดิมศาลเป็นแต่เพียงดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้นมิได้มีผลไปลบล้างบทบัญญัติพิเศษในกฎหมายอื่นนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่การรับโอนของจำเลยที่1จึงเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามความในมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524กล่าวคือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่าผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยที่1ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ต่อโจทก์ผู้เช่าดังนั้นโจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา53แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือจำเลยที่1ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้เช่านาเมื่อประสงค์จะขายนาคือที่ดินพิพาทก็มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อนถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา53วรรคสามจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่3ได้ต่อไปเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54เมื่อโจทก์ได้ร้องต่อคชก.ตำบลเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทตามสิทธิในกฎหมายดังกล่าวและคชก.ตำบลก็ได้มีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3โดยฝ่ายจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์มติของคชก.ตำบลแต่อย่างใดนับว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนตามมาตรา54ดังกล่าวแล้วโจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ได้ การที่จำเลยที่3อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3โดยการชำระผ่านย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่ายังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อคชก.ตำบลเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3นั้นก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช่สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่าโจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันเมื่อปรากฎว่าจำเลยที่1ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา900,000บาทและในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่3จำเลยที่3ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1ในราคา1,500,000บาทแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่3รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่1นั้นที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่3ซื้อมาจากจำเลยที่1คือราคา1,500,000บาทดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่3ในราคาดังกล่าวตามมติของคชก.ตำบลจึงชอบแล้วแต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3092/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่ากรณีที่พักอาศัยถูกยึดตามคำสั่งศาล สิทธิของผู้เช่าและผู้รับโอน
การที่หนังสือสัญญาเช่าข้อ11ระบุว่าถ้าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่าก็ดีหรือประพฤติผิดสัญญาหรือไม่ปฎิบัติหน้าที่ตามกฎหมายก็ดีหรือถ้าสถานที่เช่าหรือสิ่งของที่อยู่ในสถานที่เช่าถูกอายัดหรือยึดตามคำสั่งศาลก็ดีหรือผู้เช่าถูกฟ้องร้องเป็นคดีล้มละลายก็ดีหรือทำความตกลงหรือขอลดหนี้กับเจ้าหนี้ประการใดก็ดีผู้ให้เช่าทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะขับไล่ผู้เช่ากับบริวารและกลับเข้ายึดถือครอบครองสถานที่เช่าได้ทันทีโดยให้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุดลงแล้วนั้นเมื่อข้อสัญญาดังกล่าวมิได้ระบุว่าสถานที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าหรือทั้งสองฝ่ายจึงต้องตีความสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยการเช่ารายนี้มีกำหนดเช่า28ปีแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาเช่ามีอยู่จนครบกำหนดและย่อมไม่ประสงค์จะให้ผู้ให้เช่าสิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดจึงต้องตีความว่าสถานที่เช่าถูกยึดตามคำสั่งศาลต้องเกิดจากการกระทำของผู้เช่าผู้ให้เช่าจึงจะมีสิทธิขับไล่ผู้เช่าหรือเลิกสัญญาเช่าได้ฉะนั้นเมื่ออาคารตึกแถวถูกยึดตามคำสั่งศาลเพราะการกระทำของนางก.ผู้ให้เช่าเดิมมิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าสัญญาเช่าจึงไม่สิ้นสุดลงโจทก์ผู้รับโอนอาคารตึกแถวย่อมต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่านาซื้อนาคืนจากผู้รับโอนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ ราคาตลาดขณะโอน/ซื้อขาย
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาอยู่ในขณะที่จำเลยที่1โอนขายให้แก่จำเลยที่2ก่อนจะขายจำเลยที่1มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา53เสียก่อนโดยจำเลยที่1ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล สาลี (คชก.ตำบล สาลี)เพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อนถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา53วรรคสามจำเลยที่1จึงจะขายให้จำเลยที่2ได้ต่อไปเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่1ก่อนตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54ซึ่งมาตรา54วรรคหนึ่งได้บัญญัติว่า"ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากันฯลฯ"บทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาที่จะซื้อนาที่เช่าอยู่ก่อนบุคคลอื่นคำว่า"ราคาตลาดในขณะนั้น"จึงหมายถึงราคาตลาดในขณะผู้ให้เช่านาโอนขายนาให้แก่ผู้รับโอนมิใช่ราคาตลาดในขณะผู้เช่านาใช้สิทธิขอซื้อนาคืน ราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยมาเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระผูกพันตามสัญญาภารจำยอม, การโอนสิทธิและหน้าที่, การประพฤติผิดสัญญา, และผลกระทบต่อผู้รับโอน
จำเลยที่1ได้แบ่งแยกที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ออกเป็น5แปลงแล้วยกให้จำเลยที่2ถึงที่4ทางภารจำยอมบนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ของโจทก์ยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนของที่ดินที่แบ่งแยกทั้ง5แปลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1395 จำเลยที่1โอนที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่2ถึงที่4ไปแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจบังคับจำเลยที่1ให้เพิกถอนสัญญาภารจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ได้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์แถลงว่าจำเลยที่4ไม่ได้ประพฤติผิดสัญญาภารจำยอมกรณีไม่มีข้อโต้แย้งกันจึงไม่มีข้อพิพาทที่โจทก์จะบังคับจำเลยที่4ตามฟ้องได้ การจดทะเบียนภารจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มีข้อตกลงและเงื่อนไขว่าเจ้าของสามยทรัพย์จะนำเอาทางภารจำยอมไปให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยไม่ได้เด็ดขาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของภารยทรัพย์และหากมีการเปิดทางภารจำยอมให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยบรรดาผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนต่างๆยินยอมให้ตกได้แก่เจ้าของภารยทรัพย์แต่ผู้เดียวข้อตกลงดังกล่าวแสดงถึงเจตนาของโจทก์เจ้าของภารยทรัพย์และจำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์อย่างชัดเจนคู่สัญญาย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติย่อมเป็นการประพฤติผิดสัญญาภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิเมื่อจำเลยที่2และที่3ต่างได้รับการยกให้ที่ดินสามยทรัพย์มาจากจำเลยที่1จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่คือต้องปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาภารจำยอมโดยจะนำที่ดินสามยทรัพย์ของตนไปเปิดให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นมาร่วมใช้ไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากโจทก์เมื่อจำเลยที่2นำที่ดินสามยทรัพย์ที่คงเหลือจากการแบ่งแยกไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่นอีก4แปลงผ่านแล้วมาร่วมใช้ทางภารจำยอมบนที่ดินภารยทรัพย์ของโจทก์ส่วนจำเลยที่3ได้เปิดทางให้บุคคลอื่นที่มีบ้านในที่ดินแปลงอื่นผ่านเข้ามาในที่ดินสามยทรัพย์แล้วผ่านทางภารจำยอมในที่ดินโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะการกระทำของจำเลยที่2และที่3เป็นการประพฤติผิดสัญญาและเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภารยทรัพย์โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมได้เพราะที่ดินของจำเลยที่2และที่3เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์ในทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์ ฎีกาของจำเลยที่2และที่3ที่ว่าได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความตามฟ้องแย้งนั้นเมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องแย้งโดยฟังว่าจำเลยที่2และที่3ไม่ได้สิทธิทางภารจำยอมโดยอายุความจำเลยที่2และที่3ไม่ได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์และยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงและการโอนสิทธิเช่าหลังเลิกบริษัท: สิทธิของผู้ให้เช่าช่วงและผู้รับโอน
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้ว แต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่จะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และ อ.ได้
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามกฎหมาย และอำนาจฟ้องขับไล่ของผู้รับโอนสิทธิ
การที่ด.และค.ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่1ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจากบ.และผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิมหาใช่เพราะบ.และผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่1มานานหลายสิบปีที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมายแม้ส. บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตามส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองเมื่อส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองโจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าส. ผู้โอน แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าส. ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าเมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)
of 37