คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ว่าราชการจังหวัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งย้ายและมอบหมายหน้าที่ข้าราชการของ ผู้ว่าราชการจังหวัด และความผิดฐานยักยอกเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งย้ายจำเลยไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอตรีประจำอำเภอเมือง พร้อมกันนั้นก็ได้สั่งให้จำเลยคงทำงานเป็นผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัดอยู่ ณ ที่เก่า มีหน้าที่รับเงินอากรการฆ่าสัตว์ที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้นนำส่งแผนกมหาดไทย เพื่อนำฝากคลังตามระเบียบ ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยรับเงินประเภทดังกล่าวนั้นแล้ว นำไปหาผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่นำฝากคลัง ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ตามที่แก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและอนามัยจังหวัด จากการยักยอกเงินของสารวัตรสุขาภิบาล โดยอายุความ 1 ปี
กรมอนามัยได้ส่งเงินงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายของสถานีอนามัยจังหวัดชัยภูมิไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิเป็นผู้รับเงิน ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบฉันทะให้สารวัตรสุขาภิบาลแผนกอนามัยไปรับเงินแทน แล้วสารวัตรสุขาภิบาลยักยอกเงินนั้นไปด้วยความประมาทเลินเล่อของผู้ว่าราชการจังหวัดและอนามัยจังหวัดดังนี้ เป็นกรณีละเมิด ต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 วรรค 1 โดยนับแต่วันที่กระทรวงการคลังได้รับทราบการยักยอกจากสำนวนสอบสวนและความเห็นของคณะกรรมการที่สอบสวนเรื่องยักยอกเงินรายนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ว่าฯ-อนามัยจังหวัด กรณีเงินยักยอก อายุความ 1 ปี
กรมอนามัยได้ส่งเงินงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายของสถานีอนามัยจังหวัดไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับเงิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบฉันทะให้สารวัตรสุขาภิบาลแผนกอนามัยไปรับเงินแทนแล้วสารวัตรสุขาภิบาลยักยอกเงินนั้นไปเนื่องจากความประมาทเลินเล่อของผู้ว่าราชการจังหวัดและอนามัยจังหวัดดังนี้เป็นกรณีละเมิดต้องใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่งโดยนับแต่วันที่กระทรวงการคลังได้รับทราบการยักยอกจากสำนวนการสอบสวน และความเห็นของคณะกรรมการที่สอบสวนเรื่องยักยอกเงินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของ ผวจ. และการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรมดาโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการในขอบเขตแห่งวงหน้าที่ราชการ ย่อมมีอำนาจเป็นคู่ความในศาลได้ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าง ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาการแทนปลัดจังหวัดก็ย่อมเป็นบุคคลที่จะเป็นโจทก์ ฟ้องร้องได้ในฐานเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 47 ที่ว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง นั้น ไม่ได้หมายถึงว่า จะไปกลับข้อเท็จจริงที่จำต้องรับฟังคำพิพากษาในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับศาลจ้าวเป็นของผู้จัดการศาลจ้าว ไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือคู่สัญญาเช่า
ศาลจ้าวเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่งตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มีนาคม 2463 ออกตามความในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา123 ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดการปกครองและและตรวจตราสอบส่องอยู่โดยเฉพาะ หาใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงหามีอำนาจฟ้องห้ามมิให้ผู้อื่นครอบครองห้องพิพาทของศาลจ้าวได้ไม่.
ตามกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลจ้าว ข้อ 14 ก. อำนาจฟ้องเกี่ยวด้วยเรื่องศาลจ้าวทุกประการเป็นของผู้จัดการปกครองศาลจ้าว และตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 123 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองมีหน้าที่เพียงคอยตรวจตราอุดหนุนผู้ปกปักรักษาวัดหรือกุศลสถานอย่างอื่นเท่านั้นการที่กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้มีชื่อเป็นของในโฉนดก็ตาม เป็นผู้มีชื่อเป็นคู่สัญญากับผู้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณศาลจ้าวในหนังสือสัญญาก็ตาม ก็เป็นการกระทำแทนและในนามศาลจ้าวซึ่งมีผู้จัดการปกครองศาลจ้าวเป็นผู้มีอำนาจฟ้องอยู่แล้วตามกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ราชการซื้อเพื่อประโยชน์สาธารณะยังคงเป็นสาธารณสมบัติ แม้มีการให้เช่า ผู้ว่าฯ มีอำนาจฟ้องขับไล่
โรงเรียนประชาบาลประเภทโรงเรียนประถมศึกษาที่นายอำเภอตั้งและดำรงอยู่ด้วยเงินของประชาชนและเงินของการประถมศึกษาในงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ,ในการจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวได้จัดซื้อที่ 1 แปลงเพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียน และใช้เป็นประโยชน์เกี่ยวกับกิจการของโรงเรียน ที่ดินดังกล่าวนับว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัด โดยมีหน้าที่คุ้มครองแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ฯลฯ มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งผิดสัญญาเช่าที่โรงเรียนดังกล่าวแล้วได้
การที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เห็นแย้งในข้อกฎหมาย ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงในเมื่อทุนทรัพย์ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ราชการซื้อเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ว่าฯ มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า
โรงเรียนประชาบาลประเภทโรงเรียนประถมศึกษาที่นายอำเภอตั้งและดำรงอยู่ด้วยเงินของประชาชนและเงินของการประถมศึกษาในงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดตั้งโรงเรียนดังกล่าวได้จัดซื้อที่ 1 แปลงเพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างโรงเรียนและใช้เป็นประโยชน์เกี่ยวกับกิจการของโรงเรียน ที่ดินดังกล่าวนับว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดโดยมีหน้าที่คุ้มครองและรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ฯลฯมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งผิดสัญญาเช่าที่โรงเรียนดังกล่าวแล้วได้
การที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เห็นแย้งในข้อกฎหมาย ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงในเมื่อทุนทรัพย์ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: ผู้ว่าฯ คนใหม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหายเดิม
ผู้ว่าราชการจังหวัดถูกฉ้อโกงหลงเชื่อสั่งจ่ายเงินซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ไป เมื่อย้ายผู้ว่าราชการคนเก่าไปแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่โดยตำแหน่งย่อมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ให้เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีนั้นถือได้ว่าเป็นการร้องทุกข์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสามและไม่มีข้อความแห่งใดใน พระราชบัญญัตินี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ดังกล่าว(พ.ศ.2457)ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา มาตรา334(2)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/98)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ว่าราชการจังหวัดแทนกระทรวงฯ และการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประโยชน์ของรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องแทน กระทรวงพระคลังได้อำเภอเป็นคู่สัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าสรวมสิทธิได้ ค่าเสียหาย
of 7