พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองของพนักงานที่ถูกไล่ออกเนื่องจากขาดงานและเกียจคร้าน หากคณะกรรมการไม่เคยมีมติไม่จ่ายเงิน
ระเบียบการของธนาคารจำเลยฉบับที่ 67 ระบุว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองแก่พนักงาน เฉพาะกรณีตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 คือ (1) มีเวลาทำงานต่ำกว่าห้าปี (2) ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือเพราะกระทำการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ธนาคารจำเลยต้องเสียหาย หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานและคณะกรรมการของธนาคารจำเลยเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองให้ (3) ออกจากงานเพราะต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่ความผิดฐานลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยเกิน 5 ปีแล้ว แม้โจทก์จะถูกจำเลยไล่ออกจากตำแหน่งเนื่องจากโจทก์ขาดงานละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วัน เป็นการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน แต่คณะกรรมการธนาคารจำเลยก็ไม่เคยมีความเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามที่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายบำเหน็จพนักงานถึงแก่กรรมจากเหตุประพฤติชั่วร้ายแรง: การพิจารณาการกระทำที่เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จ
ตาม ระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานของจำเลยกำหนดเงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จแก่พนักงานที่ออกจากงานเพราะถึงแก่กรรมว่าจะจ่ายให้พนักงานที่ถึงแก่กรรม และการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนี้ การที่ ท.พนักงานของจำเลยใช้ อาวุธปืนยิง ย. พนักงานด้วย กันถึงแก่ความตายในเวลาทำงาน และในสถานที่ทำงานของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้าง ถือ ได้ ว่าเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง ส่วนต่อมา ท.ได้ ใช้ อาวุธปืนยิงฆ่าตัวตายในเวลาต่อเนื่องกัน ก็เป็นเพียงการหนีความรับผิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ท. ไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จตาม ระเบียบดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน – การพิสูจน์การกระทำความผิด – การเบียดบังทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้ และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน: การพิสูจน์การจำหน่ายทรัพย์สินเป็นสำคัญ หากไม่สามารถพิสูจน์การจำหน่ายและยักยอกเงินได้ ศาลไม่ลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า จำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้ และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานรับชำระหนี้ที่ยักยอกเงินของธนาคาร: ธนาคารเป็นผู้เสียหาย
จำเลยเป็นพนักงานพิธีการสินเชื่อของธนาคาร ก. มีหน้าที่รับชำระหนี้แทนธนาคาร ก. เงินที่จำเลยรับไว้เป็นของธนาคาร ก. จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกธนาคาร ก. เป็นผู้เสียหาย
การไปรับฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคารที่มอบหมายให้จำเลยกระทำ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของธนาคาร ก..
การไปรับฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคารที่มอบหมายให้จำเลยกระทำ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของธนาคาร ก..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติสัญชาติไทยของพนักงานรัฐวิสาหกิจและการเลิกจ้าง
การโอนโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหมสังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิม เพราะเหตุยุบตำแหน่ง หรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อ กัน จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้ง บุคคลใด เป็นพนักงานของจำเลย ต้อง อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9(1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้อง มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 9วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้อง จ้าง โจทก์เพราะความจำเป็นตาม ลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้อง พ้นจากตำแหน่ง ตาม มาตรา 11(3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดย คำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทุนสะสมของธนาคาร: เหตุไม่ต้องจ่ายเมื่อพนักงานกระทำละเมิดทำให้ธนาคารเสียหาย
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินทุนสะสม พ.ศ. 2520 ระบุว่าเมื่อพนักงานบุคคลใด ออกจากธนาคาร ให้ธนาคารจ่ายเงินสะสมแก่พนักงานบุคคลนั้น เว้นแต่ในกรณีต้อง ออกจากงานตาม คำสั่งของธนาคาร เพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือกระทำการประมาทเลินเล่อ หรือกระทำการอื่นใด เป็นเหตุให้ธนาคารต้อง เสียหาย... หมายความว่าจำเลยจะไม่ต้องจ่ายเงินทุนสะสมให้แก่พนักงานถ้า พนักงานกระทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายโดยตรงต่อ ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของจำเลยการที่โจทก์ปลุกปล้ำทำอนาจาร อ. พนักงานในสำนักงานเดียวกันแต่ กระทำนอกสถานที่ทำงานเป็นการกระทำในเรื่องส่วนตัว และมิได้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทั้งจะถือว่าการกระทำละเมิดต่อ อ.ดังกล่าวเป็นการทำละเมิดต่อ จำเลยด้วย หาได้ไม่ โจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตาม ความหมายของระเบียบดังกล่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายเพื่อตอบแทนพนักงานถึงแก่กรรมและค่าซ่อมแซมอาคาร: การลงบัญชีรายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิและข้อห้ามตามประมวลรัษฎากร
เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานซึ่งถึงแก่ความตายเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่พนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานให้โจทก์เป็นเวลานานทั้งเพื่อเป็นการอุปการะเลี้ยงดูทายาทของพนักงานผู้นั้นด้วยมีลักษณะเป็นเงินบำเหน็จถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่จำเป็นและมีเหตุอันควร ทั้งการจ่ายเงินรายนี้ก็เป็นการจ่ายตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ตามมติที่ประชุมกรรมการโจทก์ จึงไม่เป็นการให้โดยเสน่หาตามความหมายของมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะลงบัญชีที่เรียกว่าสตาฟรีไทร์เมนท์เบเนฟิต รายจ่ายส่วนนี้ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร แม้โจทก์จะทราบความเสียหายของอาคารในปี พ.ศ. 2519 และตกลงให้ พ. รับซ่อมแซม แต่โจทก์เพิ่งทำสัญญาจ้าง พ. ทำการซ่อมแซมอาคารให้โจทก์ในปี พ.ศ. 2520โดยให้แล้วเสร็จในปีเดียวกัน สิทธิเรียกร้องของ พ. จึงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องจ่ายเงินให้ พ. เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 เช่นเดียวกัน โจทก์ซึ่งใช้เกณฑ์สิทธิจะต้องลงรายจ่ายดังกล่าวในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2520 การที่โจทก์นำรายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคารไปลงบัญชีเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาปี พ.ศ. 2519 จึงไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และเงื่อนไขการคืนหุ้นกรณีออกจากงานเนื่องจากทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้าง: การเลิกจ้างเนื่องจากทำร้ายร่างกายพนักงาน แม้นอกสถานที่ทำงาน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต่อพนักงานของบริษัท ฯ บริษัทจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้ระบุว่าต้องเป็นการกระทำเฉพาะภายในบริษัทฯดังนั้น แม้โจทก์จะตบหน้า ส. ซึ่งเป็นพนักงานด้วยกันภายนอกบริษัท ฯ ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวแล้ว การที่บริษัทจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม