คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยตัวผู้ต้องหาแล้วนำตัวอื่นมาแทนที่ พนักงานสอบสวนมีความผิดฐานกักขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนปล่อยตัวผู้ต้องหารวม 3 คน แล้วนำผู้มีชื่อเข้าเป็นผู้ต้องหาแทนขณะควบคุมผู้ต้องหาทั้งสามดังกล่าวกับพวกจากศาลจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไปคุมขังที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอพระประแดง แต่จำเลยมิได้เรียกหรือรับเงินจากผู้ต้องหาเป็นการตอบแทนที่จำเลยปล่อยผู้ต้องหาดังกล่าวไป ทั้งผู้มีชื่อที่จำเลยนำเข้ามาแทนผู้ต้องหาทั้งสามที่จำเลยปล่อยตัวไปก็ไม่ปรากฏว่าเข้ามาแทนที่โดยไม่สมัครใจ ส่วนศาลจังหวัดสมุทรปราการ แม้จะได้อนุญาตให้ผัดฟ้องฝากขังผู้ต้องหาตามคำร้องของพนักงานสอบสวนก็เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อควบคุมการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนให้เป็นไปโดยถูกต้อง มิใช่ผู้ที่จะเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบจากการดำเนินคดีหรือไม่ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ ผู้มีชื่อ หรือโดยเจตนาทุจริต อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาคืนของกลาง: การผูกพันตามสัญญาที่มอบอำนาจให้กระทำต่อพนักงานสอบสวน
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางมาส่งภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง และพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว แต่จำเลยไม่ส่งมอบ กรมตำรวจโจทก์ที่ 1 และหัวหน้าพนักงานสอบสวนโจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยที่ 1 จะมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ แต่สารวัตรใหญ่ก็เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่งและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนด้วย การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำภายในขออำนาจที่ได้รับมอบหมาย และผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย คำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษาและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน ไม่ใช่สัญญาค้ำประกันจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืนจากพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมรวมถึงการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นรับรถยนต์ไว้ ถือเป็นการกระทำการครั้งเดียวตามที่ได้รับมอบอำนาจให้ขอรับรถยนต์คืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ แม้ไม่ได้ทำการสอบสวนเอง สัญญาไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัว ป. กับพวก ผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงมิได้ทำในฐานะส่วนตัว เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้แม้พันตำรวจโท ธ. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีที่ ป. กับพวกตกเป็นผู้ต้องหา ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกันแต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้อง ก็มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่ง ป.รัษฎากร เพราะฉะนั้นสัญญาประกันดังกล่าวแม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และการใช้สัญญาเป็นหลักฐาน แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของร้อยตำรวจโท ช.ในฐานะที่ร้อยตำรวจโทช. เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน จำเลยก็ต้องรับผิดชอบต่อพนักงานสอบสวนแม้พันตำรวจโท ช. มิได้ทำการสอบสวนหรือร่วมทำการสอบสวนคดีดังกล่าว ตลอดจนมิใช่เป็นคู่สัญญาประกัน แต่พันตำรวจโท ธ. ในฐานะพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระโขนงขณะยื่นคำฟ้องก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่ใช่สัญญาค้ำประกันตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ซึ่งจะต้องบังคับตามมาตรา 104 และมาตรา 118แห่งประมวลรัษฎากร แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนฟ้องคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องอากรแสตมป์ในการทำสัญญาประกัน
ขณะฟ้องพันตำรวจโท อ.เป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตนได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติไว้ พันตำรวจโท อ.จึงเป็นพนักงานสอบสวนตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนการดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น..."ดังนั้น พันตำรวจโท อ.ในฐานะสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งอันถือได้ว่าเป็นพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น ย่อมมีอำนาจในการสอบสวน ให้ประกัน และฟ้องคดีในนามโจทก์ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสัญญาประกันที่ผู้ประกันทำไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดระบุอำนาจและหน้าที่ไว้ว่าพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคดีเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีได้
เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม.ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7 (ก) ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้ 10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ไม่ได้
สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1) (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของพนักงานสอบสวน และผลของการไม่สมบูรณ์ของเอกสารมอบอำนาจต่อการผูกพันตามสัญญา
ขณะฟ้องพันตำรวจโทอ.เป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตนได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18วรรคสอง บัญญัติไว้ พันตำรวจโทอ.จึงเป็นพนักงานสอบสวนตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัติว่า"ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนการดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น..."ดังนั้น พันตำรวจโทอ. ในฐานะสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งอันถือได้ว่าเป็นพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น ย่อมมีอำนาจในการสอบสวน ให้ประกัน และฟ้องคดีในนามโจทก์ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสัญญาประกันที่ผู้ประกันทำไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดระบุอำนาจและหน้าที่ไว้ว่าพนักงานสอบสวนคดีเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม. ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7(ก)ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันม. ไปจากโจทก์ไม่ได้ สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1)(2)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกันม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2ทำไว้ต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: ไม่ใช่การกระทำแทนกรมตำรวจ
พนักงานสอบสวนมิใช่หน่วยงาน แต่เป็นบุคคลธรรมดามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนคดีอาญา และมีอำนาจสั่งคำร้องขอให้ประกันตัวผู้ต้องหาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยขอประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและทำสัญญาประกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง มิใช่เป็นการกระทำแทนหรือกระทำในนามกรมตำรวจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันของพนักงานสอบสวน: ทำสัญญาเอง ฟ้องเองได้
พนักงานสอบสวนมิใช่หน่วยงาน แต่เป็นบุคคลธรรมดามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวนคดีอาญา และมีอำนาจสั่งคำร้องขอให้ประกันตัวผู้ต้องหาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยขอประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนและทำสัญญาประกันแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเอง มิใช่เป็นการกระทำแทนหรือกระทำในนามกรมตำรวจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: สัญญาที่ทำกับพนักงานสอบสวนมีผลผูกพันโจทก์ผู้บังคับบัญชา
โจทก์ควบคุมตัว ส. ไว้ดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนระหว่างสอบสวน โจทก์อนุญาตให้จำเลยประกันตัว ส. ไป โดยทำสัญญาประกันไว้กับโจทก์ว่า ถ้าผิดสัญญาจำเลยยอมชดใช้เงินจำนวน200,000 บาท โจทก์กำหนดให้จำเลยส่งตัว ส.4 ครั้ง จำเลยไม่เคยส่งตัว ส. เลย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ จำเลยก็ยังไม่สามารถส่งตัว ส. ผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยขวนขวายติดตามตัวส.เพื่อนำมาส่งมอบให้แก่โจทก์แต่ประการใดประกอบกับส.ต้องหาว่าฉ้อโกงประชาชนเป็นจำนวนเงินถึง 190,000 บาทเศษ เมื่อไม่ได้ตัว ส.มาดำเนินคดีนอกจากส. จะไม่ต้องได้รับโทษแล้วผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสจะได้รับเงินคืนด้วย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุลดค่าปรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาและพนักงานสอบสวนในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528 เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ว่า โจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลย เพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
of 18