พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองผู้เช่าเคหะควบคุมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้ไม่มีสัญญาเช่า
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ย่อมคุ้มครองอารักขาผู้เช่าเคหะควบคุม เพราะค่าเช่าเดือนละไม่เกินหนึ่งพันบาทสำหรับเคหะที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพระนครตามความในมาตรา 4 แม้โจทก์จะบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว การบอกเลิกนั้นก็ไม่บังเกิดผลตามมาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าห้องเพื่อประกอบการค้า ไม่ถือเป็นเคหะที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน
จำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อประกอบการค้าได้เปิดเป็นร้านรับจ้างตัดเสื้อผ้า ต่อมาจำเลยได้เปิดเป็นร้านขายขนม เป็นเรื่องที่จำเลยเปลี่ยนประเภทการค้าจากรับจ้างตัดเสื้อผ้ามาเป็นขายขนมเท่านั้น ห้องพิพาทจึงไม่เป็นเคหะที่ได้รับความคุ้มครอบตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการควบคุมโรงงานหลัง พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 พระราชกฤษฎีกาเดิมยังคงมีผลบังคับ
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยามคำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน " 17 โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่า นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะเป็นการตั้งแลเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการควบคุมโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 และผลกระทบต่อโรงงานที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน 17 ของบทนิยาม คำว่า "โรงงาน" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"17.โรงงานอย่างอื่นที่จะได้กำหนดโดยกฎกระทรวง" นั้น หมายความว่านับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ถ้าทางการประสงค์จะควบคุมโรงงานประเภทใด นอกจากที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ก่อนแล้ว ก็จะได้กำหนดโดยออกเป็นกฎกระทรวง ไม่ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเหมือนอย่างเช่นเดิมเท่านั้น มิได้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ระบุโรงงานอย่างอื่นเป็นโรงงานตาม มาตรา 3(17) แห่งพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2482 ซึ่งได้ตราไว้แล้วแต่เดิมไม่ จำเลยตั้งและเปิดดำเนินการโรงงานโม่หรือป่นวัตถุโดยใช้เครื่องจักร (ทำลูกชิ้น) ซึ่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2500 มาตรา 3(6) ระบุว่าเป็นโรงงานตามมาตรา 3(17)แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2482 แม้จะมีเป็นการตั้งและเปิดดำเนินการขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 ใช้บังคับแล้ว ก็ยังอยู่ในข่ายต้องถูกควบคุมนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สิทธิการเช่าไม่สามารถใช้ต่อสู้คดีขับไล่ได้
จำเลยเช่าห้องโจทก์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องเช่า จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องขับไล่อ้างว่าจำเลยอาศัย ดังนี้ จำเลยจะอ้างการเช่ามาต่อสู้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราหลังกู้ยืมเงินเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้ามนั้น หาใช่จะเป็นความผิดเฉพาะการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในขณะที่กู้ยืมเงินกันไม่ การเรียกภายหลังการกู้ยืมเงินก็เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439-1440/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบธรรมของ พ.ร.บ.ควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์ และผลกระทบต่อสิทธิในการร้องขอปล่อยตัว
พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2505 ไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติย้อนหลังให้ลงโทษบุคคลในทางอาญา และไม่ใช่เป็นการบัญญัติดังศาลขึ้นใหม่แต่เป็นเพียงวางวิธีการร้องขอให้ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเท่านั้น จึงหาขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.250+ มาตรา 20 ไม่ นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลและวิธีพิจารณาความให้ใช้บังคับเฉพาะคดีและเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเพราะเป็นกรณีที่บัญญัติขึ้นใช้แก่คดีประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นการทั่วไป ฉะนั้น จึงต้องถือว่า ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะอย่างใดไม่
ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ในข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อย ระหว่างศาลไต่สวนมีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นเสียได้
ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ในข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อย ระหว่างศาลไต่สวนมีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาแจ้งความจำนงเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ มิใช่อายุความ จึงไม่อาจขยายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
กำหนดระยะเวลา 30 วัน ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ที่ให้แจ้งความจำนงขอเช่าต่อนั้น ไม่ใช่อายุความอันจะยกมาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาปรับเพื่อขยายระยะเวลาออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำพิพากษาศาลฎีกา และความสัมพันธ์กับ พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน พ.ศ. ๒๕๐๓
ที่ดินที่ถูกเวนคืน เป็นของกระทรวงกลาโหม แต่ภายหลังไม่ได้ถูกใช้ทำกิจการตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่เวนคืน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้าของที่ดินผู้วายชนม์จึงได้ฟ้องกระทรวงกลาโหมเรียกที่ดินคืน คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทออกประกาศใช้ ดังนี้ เจ้าพนักงานที่ดินจะปฏิเสธไม่ยอมจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาโดยอ้างว่าได้มีพระราชบัญญัติดังกล่าวออกมาทับหรือระงับคำพิพากษาฎีกานั้นแล้วหาได้ไม่ แท้จริงพระราชบัญญัติดังกล่าวออกมาเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษาฎีกานั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ: การล้างมลทินเฉพาะโทษที่พ้นโทษก่อนหรือในวันที่กฎหมายใช้บังคับ
พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ พ.ศ.2499 เป็นกฎหมายที่ออกมาล้างมลทินให้แก่ผู้ที่มีมลทินอยู่ก่อนแล้ว คือ ผู้ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษที่ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คือ วันที่ 13 พ.ศ. 2500 หาใช่จะล้างมลทินให้แก่ผู้ที่มีมลทินต่อๆไปจนกว่า พระราชบัญญัตินี้จะยกเลิกไม่ จำเลยต้องโทษและพ้นโทษเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2500 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่ พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ กรณีย่อมไม่เข้าเกณฑ์ตาม มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว จำเลยจึงไม่ได้รับผลแห่งการล้างมลทินประการใด