พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีอากรขาเข้าต้องเป็นไปตามพิกัดอัตราศุลกากรที่แก้ไขแล้ว ผู้สำแดงรายการไม่ถูกต้องมีความรับผิดชอบ
การเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้าของโจทก์ต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้าท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วกำหนดสินค้ารถบรรทุกชนิดพิคอับไว้ในประเภทที่ 87.02 ค.(2) ให้ต้องเสียอากรขาเข้าร้อยละ 80 เมื่อโจทก์นำรถบรรทุกชนิดพิคอับเข้ามาจึงต้องเสียค่าภาษีตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนด มิใช่เสียค่าภาษีตามประกาศของอธิบดีกรมศุลกากร
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร หากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์ จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาดให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร หากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์ จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาดให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ถูกต้อง และหน้าที่ในการสำแดงรายการสินค้า
การเสียภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้าของโจทก์ต้องเป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503บัญชีพิกัดอัตราอากรขาเข้า ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วกำหนดสินค้ารถบรรทุก ชนิดพิคอับไว้ในประเภทที่87.02ค.(2) ให้ต้องเสียอากรขาเข้า ร้อยละ 80 เมื่อโจทก์นำรถบรรทุกชนิดพิคอับเข้ามาจึงต้องเสีย ค่าภาษีตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนดมิใช่เสียค่าภาษี ตามประกาศของอธิบดีกรมศุลกากร
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรหากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาด ให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าโดยสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัดอัตราอากรท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรหากแสดงไว้ไม่ครบถ้วนถูกต้องมิให้ถือว่าบริบูรณ์จำเลยมีอำนาจเรียกเก็บส่วนที่ขาด ให้ครบเต็มจำนวนได้ตามกฎหมายจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความพิกัดอัตราศุลกากร และการจัดพิกัดสินค้า (ยาอม) เป็นลูกกวาดเพื่อเสียภาษี
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 มาตรา12 ให้อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความสั่งเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรให้ถูกต้องได้ ถ้าหากการจัดพิกัดอัตราศุลกากรตามที่ถือปฏิบัติกันมายังไม่ถูกต้อง
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03 ง. (32) ในลักษณะยาอื่น ๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519 ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอและหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 17.04 โดยถือเป็นลูกกวาด ซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03 ง. (32) ในลักษณะยาอื่น ๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519 ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอและหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้าพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 17.04 โดยถือเป็นลูกกวาด ซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตีความพิกัดอัตราศุลกากรของอธิบดีกรมศุลกากร และการจัดประเภทสินค้า (ยาอม) เพื่อการจัดเก็บภาษี
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503 มาตรา12 ให้อำนาจ อธิบดีกรมศุลกากร ตีความสั่งเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรให้ถูกต้องได้ ถ้าหากการจัดพิกัดอัตราศุลกากรตามที่ถือปฏิบัติกันมายังไม่ถูกต้อง
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03ง.(32) ในลักษณะยาอื่นๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามา ในราชอาณาจักรแต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอ และหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้า พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่17.04 โดยถือเป็นลูกกวาดซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกันจะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
เดิมจำเลยเคยเรียกเก็บภาษีอากรขาเข้าสำหรับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 30.03ง.(32) ในลักษณะยาอื่นๆ ในอัตราร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ามา ในราชอาณาจักรแต่ต่อมาอธิบดีกรมจำเลยได้มีคำวินิจฉัยพิกัดอัตราใหม่ ตามคำวินิจฉัยพิกัดอัตราที่ 151/2519ให้จัดสินค้ายาอมแก้โรคเจ็บคอ และหวัดประเภทเดียวกับสินค้ายาอมแฮคส์ของโจทก์ เข้า พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่17.04 โดยถือเป็นลูกกวาดซึ่งต้องเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 65 ของราคาสินค้าหรือกิโลกรัมละ 22 บาท เมื่อคำวินิจฉัยพิกัดอัตราของอธิบดีกรมจำเลยเป็นการตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยชอบ. การประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของจำเลยย่อมชอบด้วยกฎหมาย. แม้โจทก์จะขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับยาอมแฮคส์ไว้ต่อกองอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขก็เป็นการ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับ และมีวัตถุประสงค์ต่างกันจะอ้างมาเป็นหลักในการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าผสม: สินค้ามีส่วนประกอบพลาสติกเกิน 50% จัดเป็นพลาสติก ไม่ใช่กระดาษ
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 2 หมวด 10 ตอนที่48 ว่าด้วยกระดาษและกระดาษแข็ง ของที่ทำด้วยเยื่อกระดาษ ทำด้วยกระดาษหรือกระดาษแข็ง ได้มีหมายเหตุไว้ในข้อ 1 (จ) ใจความว่า ตอนนี้ไม่คลุมถึงของที่ทำด้วยวัตถุจำพวกพลาสติกหรือไฟเบอร์แข็ง ตามพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 เมื่อปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมีส่วนประกอบของพลาสติกเกินกว่าร้อยละ 50 การที่จำเลยจัดให้สินค้ารายพิพาทของโจทก์อยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 39.07 จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 1 ข้อ 2 วรรคท้าย ประกอบด้วยข้อ 3(ข) สินค้ารายพิพาทจึงเป็นสินค้าประเภทแผ่นพลาสติก อันจะต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 อัตราร้อยละ 60 มิใช่กระดาษแข็งสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.09
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าผสม: สินค้ามีส่วนประกอบพลาสติกเกินร้อยละ 50 จัดเป็นพลาสติกตามพิกัดอัตรา
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 2 หมวด 10 ตอนที่48 ว่าด้วยกระดาษและกระดาษแข็ง ของที่ทำด้วยเยื่อกระดาษทำด้วยกระดาษหรือกระดาษแข็ง ได้มีหมายเหตุไว้ในข้อ 1(จ)ใจความว่าตอนนี้ไม่คลุมถึงของที่ทำด้วยวัตถุจำพวกพลาสติกหรือไฟเบอร์แข็ง ตามพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 เมื่อปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมีส่วนประกอบของพลาสติกเกินกว่าร้อยละ 50การที่จำเลยจัดให้สินค้ารายพิพาทของโจทก์อยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 39.07 จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503 ภาค 1 ข้อ 2 วรรคท้าย ประกอบด้วยข้อ 3(ข) สินค้ารายพิพาทจึงเป็นสินค้าประเภทแผ่นพลาสติก อันจะต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 อัตราร้อยละ 60 มิใช่กระดาษแข็งสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.09
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องส่งวิทยุ: เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ใช่ส่วนประกอบของเครื่องส่งวิทยุ
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ได้บัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กับเครื่องวิทยุส่งกระจายเสียงไว้แตกต่างกันอย่างละประเภท กล่าวคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.01 อัตราอากรร้อยละ 11 ส่วนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงอยู่ในพิกัดประเภท 85.15 อัตราอากรตามราคาร้อยละ 5.5 แม้ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรโจทก์จัดพิมพ์ขึ้น จะมีคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องจักรไฟฟ้าบางชนิดซึ่งอยู่ในพิกัดของตอนที่ 85 ว่า อาจประกอบด้วยยูนิตต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเช่น เครื่องส่งวิทยุและเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันก็ตาม แต่เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าก็เป็นเครื่องมือสำหรับจ่ายกำลังงาน ส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องที่ก่อให้เกิดพลังงาน มิใช่ของอย่างเดียวกัน เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าตามตัวอย่างดังกล่าวจึงไม่คลุมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามิใช่ส่วนหนึ่งหรือส่วนประกอบของเครื่องวิทยุที่มีอุปกรณ์ครบชุด ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้าพลังงานซึ่งอาจได้มาจากไฟฟ้าของทางราชการ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็สามารถทำการออกอากาศได้ ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรแม้นำเข้ามาพร้อมกับเครื่องส่งวิทยุ หรือทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะใช้กับเครื่องส่งวิทยุก็ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 85.01 ข. (3) (ก) อัตราร้อยละ 11 ของราคา มิใช่พิกัดประเภทที่ 85.15 ก. อัตราร้อยละ 5.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเครื่องส่งวิทยุ ศาลฎีกาตัดสินว่ามีพิกัดแยกกัน
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ได้บัญญัติพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กับเครื่องวิทยุส่งกระจายเสียงไว้แตกต่างกันอย่างละประเภทกล่าวคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.01 อัตราอากรราคาร้อยละ 11 ส่วนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงอยู่ในพิกัดประเภท 85.15 อัตราอากรตามราคาร้อยละ 5.5 แม้ตามคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรที่กรมศุลกากรโจทก์จัดพิมพ์ขึ้นจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องจักรไฟฟ้าบางชนิดซึ่งอยู่ในพิกัดของตอนที่ 85 ว่า อาจประกอบด้วยยูนิตต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเช่น เครื่องส่งวิทยุและเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันก็ตาม แต่เครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าก็เป็นเครื่องมือสำหรับจ่ายกำลังงานส่วนเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเป็นเครื่องที่ก่อให้เกิดกำลังงาน จึงมิใช่ของอย่างเดียวกันเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าตามตัวอย่างดังกล่าวจึงไม่คลุมถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วย และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามิใช่ส่วนหนึ่งหรือส่วนประกอบของเครื่องส่งวิทยุ เพราะเครื่องส่งวิทยุที่มีอุปกรณ์ครบชุด ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้าพลังงานซึ่งอาจได้มาจากไฟฟ้าของทางราชการ หรือจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็สามารถทำการออกอากาศได้ ดังนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรแม้นำเข้ามาพร้อมกับเครื่องส่งวิทยุ หรือทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะใช้กับเครื่องส่งวิทยุก็ต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดประเภทที่ 85.01ข. (3)(ก) อัตราร้อยละ 11 ของราคา มิใช่พิกัดประเภทที่ 85.15 ก อัตราร้อยละ 5.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17215/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร การประเมินอากร และอายุความทางภาษีอากร
แม้แบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับระบุแต่เพียงเลขแฟ้มคดี แต่ก็เป็นเลขแฟ้มคดีเดียวกันกับแบบแจ้งการประเมินอากรอีก 9 ฉบับ ที่เป็นการนำเข้าสินค้าพิพาทประเภทเดียวกัน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในชั้นอุทธรณ์การประเมินและในชั้นยื่นคำฟ้องโจทก์ทั้งสามก็บรรยายฟ้องโดยโต้แย้งเหตุผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ถูกต้อง จึงถือว่าโจทก์ทั้งสามทราบเหตุผลในการออกคำสั่งตามแบบแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องระบุเหตุผลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจอีก เนื่องจากเหตุผลนั้นเป็นที่รู้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีกตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบแจ้งการประเมินอากรฉบับเดิมที่ไม่มีการลงลายมือชื่อ แต่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ จำเลยได้ออกแบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ซึ่งไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นหรือภาระภาษี เมื่อจำเลยทำการแก้ไขข้อบกพร่องย่อมถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรดังกล่าวได้ระบุชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้ว
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคท้าย บัญญัติให้การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ประกอบคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบไฮโมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรฯ นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) เมื่อของใดไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นมีลักษณะเป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งอยู่บนยานยนต์หรือโครงยานยนต์หรือรถบรรทุกสมบูรณ์แบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แสดงลักษณะอันเป็นสาระสำคัญทั้ง 2 ประการ สินค้าพิพาทจึงมีลักษณะเป็นของที่ไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นดังกล่าวจึงต้องจัดเข้าประเภทพิกัด 87.05
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2557)
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบแจ้งการประเมินอากรฉบับเดิมที่ไม่มีการลงลายมือชื่อ แต่ในระหว่างการพิจารณาคำอุทธรณ์ จำเลยได้ออกแบบแจ้งการประเมินอากรทั้งสองฉบับใหม่แทนฉบับเดิม ซึ่งไม่มีการเพิ่มเติมประเด็นหรือภาระภาษี เมื่อจำเลยทำการแก้ไขข้อบกพร่องย่อมถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรดังกล่าวได้ระบุชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 36 แล้ว
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาตรา 15 วรรคท้าย บัญญัติให้การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ประกอบคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบไฮโมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรฯ นอกจากนี้ ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดดังกล่าวหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) เมื่อของใดไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นมีลักษณะเป็นปั้นจั่นที่ติดตั้งอยู่บนยานยนต์หรือโครงยานยนต์หรือรถบรรทุกสมบูรณ์แบบ และมีวัตถุประสงค์ที่แสดงลักษณะอันเป็นสาระสำคัญทั้ง 2 ประการ สินค้าพิพาทจึงมีลักษณะเป็นของที่ไม่อาจจำแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) หรือ 3 (ข) ได้ ซึ่งหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค) ให้จำแนกเข้าประเภทที่ลำดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจำแนกเข้าได้โดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น สินค้าพิพาททั้งสามรุ่นดังกล่าวจึงต้องจัดเข้าประเภทพิกัด 87.05
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2557)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องฝากเงินอัตโนมัติไม่ใช่เครื่อง ATM จึงไม่ได้รับการยกเว้นอากร
การตีความในพิกัดอัตราศุลกากร มาตรา 15 แห่ง พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้าย พ.ร.ก.ดังกล่าวประกอบกับคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2493 และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2515
คำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ได้ให้ความหมายของเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ไว้ว่า "เครื่องจักรซึ่งลูกค้าสามารถฝาก ถอน และโอนเงิน และดูยอดเงินคงเหลือในบัญชี โดยไม่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง" เมื่อเครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" (ที่โจทก์นำเข้ามีคุณสมบัติเฉพาะการรับฝากเงินเท่านั้น มิได้มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ เครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" จึงไม่อาจถือเป็นเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ที่จะได้รับการยกเว้นอากร
คำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ได้ให้ความหมายของเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ไว้ว่า "เครื่องจักรซึ่งลูกค้าสามารถฝาก ถอน และโอนเงิน และดูยอดเงินคงเหลือในบัญชี โดยไม่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารโดยตรง" เมื่อเครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" (ที่โจทก์นำเข้ามีคุณสมบัติเฉพาะการรับฝากเงินเท่านั้น มิได้มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ เครื่องบริการฝากเงินอัตโนมัติ (Automatic Deposit Machine : ADM" จึงไม่อาจถือเป็นเครื่องบริการเงินด่วนอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) ที่จะได้รับการยกเว้นอากร