พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลายต้องพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของผู้ล้มละลาย ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4)ข และ (5) เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้นมาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน 174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวยขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ 10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายพฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ และการจำกัดขอบเขตฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อหาเดิม
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว คดีนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนที่ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยกับบริษัทด. และสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยกับร. และก. เป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ไม่เกี่ยวกับสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินตามฟ้องทั้งเป็นคำฟ้องแย้งที่มีคำขอบังคับต่อบุคคลภายนอกจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมจึงรับฟ้องแย้งในส่วนนี้ของจำเลยไว้พิจารณาในคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาต้องเกี่ยวข้องกับประเด็นพิพาทหลักในคำฟ้องและคำให้การ
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 นั้น ต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ในประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครบอครองปลูกสร้างโรงอิฐ ปลูกต้นยางพารา ต้นกล้วยและต้นมะพร้าวในที่ดินสาธารณประโยชน์ บัดนี้ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคาร จึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ ที่ดินพิพาทไม่ได้ไม่ได้เป็นที่ดินสาธารณเป็นที่ดินสาธารณสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ดินทุ่งหวังหรือทุ่วช่วงกิ่วไม่ครอบคลุมถึงที่ดินของจำเลย ขอใหัยกฟัอง กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับตัวที่ดินเป็นหลัก ซึ่งทางศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีก็มีที่ดินที่จะบังคับคดีได้ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยและจำเลยได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้น จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท หรือขุดลอกรื้อถอนดินลูกรังเสาเข็ม แลอาคารออกไปจากที่ดินพิพาทในระหว่างพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครบอครองปลูกสร้างโรงอิฐ ปลูกต้นยางพารา ต้นกล้วยและต้นมะพร้าวในที่ดินสาธารณประโยชน์ บัดนี้ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคาร จึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน จำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ ที่ดินพิพาทไม่ได้ไม่ได้เป็นที่ดินสาธารณเป็นที่ดินสาธารณสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ดินทุ่งหวังหรือทุ่วช่วงกิ่วไม่ครอบคลุมถึงที่ดินของจำเลย ขอใหัยกฟัอง กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับตัวที่ดินเป็นหลัก ซึ่งทางศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีก็มีที่ดินที่จะบังคับคดีได้ ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยและจำเลยได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้น จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท หรือขุดลอกรื้อถอนดินลูกรังเสาเข็ม แลอาคารออกไปจากที่ดินพิพาทในระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาต้องเชื่อมโยงกับประเด็นพิพาทหลักที่ฟ้องร้อง
การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264นั้นต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ในประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้องและคำให้การ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองปลูกสร้างโรงอิฐปลูกต้นยางพาราต้นกล้วยและต้นมะพร้าวในที่ดินสาธารณประโยชน์บัดนี้ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินปลูกสร้างอาคารจึงขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ดินทุ่งหวังหรือทุ่งช่องกิ่วไม่ครอบคลุมถึงที่ดินของจำเลยขอให้ยกฟ้องกรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับตัวที่ดินเป็นหลักซึ่งหากศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีก็มีที่ดินที่จะบังคับคดีได้ตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยและจำเลยได้รับความเสียหายจากการกระทำนั้นจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทหรือขุดลอกรื้อถอนดินลูกรังเสาเข็มและอาคารออกไปจากที่ดินพิพาทในระหว่างพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานคู่รู้เห็น ไม่บังคับต้องเบิกความพร้อมกัน ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาได้
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใด ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันมีคำสั่งศาล: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลายไม่มีกำหนด
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น แต่มาตรา 153 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใด ให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้น จึงต้องถือว่าวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม 2531 ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติเกษียณอายุ ต้องเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ การบันทึก 'เพื่อพิจารณาอนุมัติ' ไม่ถือเป็นการอนุมัติ
ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าผู้ที่มีอำนาจอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดได้คือกรรมการผู้จัดการดังนั้นที่ผู้จัดการโรงงานของจำเลยบันทึกลงในคำขอเกษียณอายุก่อนครบกำหนดของโจทก์ว่าเพื่อพิจารณาอนุมัติจึงเป็นการบันทึกเสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณาเท่านั้นหาใช่เป็นการอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนครบกำหนดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7027/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา: การโต้แย้งก่อนมีคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ เมื่อโจทก์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2)
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่า คดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไป ที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลของโจทก์มีข้อความว่า คดีมีประเด็นโต้เถียงกันหลายประเด็นซึ่งยังตกลงกันไม่ได้ ควรต้องชี้สองสถานและให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานหลักฐานต่อไป ที่ศาลมีคำสั่งให้งดการชี้สองสถานและงดการสืบพยานโจทก์จำเลยทำให้โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมโนสาเร่: การยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา ต้องพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการพิจารณาคดี
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา195จะบัญญัติให้นำบททั่วไปแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยก็ตามแต่การจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88เรื่องกำหนดเวลายื่นบัญชีระบุพยานมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ก็ต้องนำมาใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมโนสาเร่แต่ละคดีด้วย วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา193ที่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มาศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยเมื่อคดีนี้ตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหาในวันที่31พฤษภาคม2536และนัดสืบพยานในวันดังกล่าวด้วยจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานได้แต่จำเลยยื่นคำให้การวันที่28พฤษภาคม2536แม้จำเลยจะยื่นบัญชีระบุพยานมาในวันดังกล่าวด้วยก็มิอาจเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลาที่มาตรา88วรรคสองกำหนดไว้ได้เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันที่31พฤษภาคม2536นั้นเองและเมื่อศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ต่อในวันที่2กรกฎาคม2536จำเลยก็ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยไว้แต่เมื่อศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่สั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับจำเลยก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลจึงเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้จงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยและเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลควรอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานและรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีที่มีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 50,000 บาท: ผู้พิพากษาต้องพิจารณาเหตุอันควรอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่1และที่3โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง