คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องขอเข้าดำเนินคดีใหม่ หากโจทก์ยังคงดำเนินคดีเอง
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี กับให้ยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4509/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ตลอดมา โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิ่งยื่นคำร้องขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา และตามพฤติการณ์แห่งคดี ถือได้ว่าโจทก์ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป รวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 25ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีกับให้ยกคำร้อง ของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังประสงค์จะเข้าดำเนินคดีแทนโจทก์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอต่อศาลชั้นต้นเสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โมฆะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน โดยมิได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะหนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: หนี้เช็คเป็นโมฆะ แม้จะมีการกู้ยืม
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด แล้วจำเลยจึงกู้ยืมเงินโจทก์ แล้วจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้ มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว การที่จำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวฟ้องเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตน และมิได้กระทำตาม คำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือบุคคลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 24 การที่จำเลยฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มูลหนี้ตามเช็คพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่ต้องรอฎีกาถึงที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นแสดงว่าคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงเป็นการบังคับให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1ล้มละลายทันที แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาคัดค้านเกี่ยวกับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาก็ไม่จำต้องรอให้ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวถึงที่สุดเพราะคดีล้มละลายต้องพิจารณาเป็นการด่วนตาม มาตรา 13 และ 153 หากต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายก็เป็นอันตกไปโดยปริยาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายเป็นผลต่อเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของจำเลยเด็ดขาด และคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดนั้นได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วมาตรา 61 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ศาลพิพากษาให้จำเลย(ลูกหนี้) ล้มละลาย จึงไม่อาจนำมาตรา 141 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 141แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล้มละลาย: เอกสารมหาชน, ความรับผิดไม่จำกัด, พิทักษ์ทรัพย์
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3101/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย แม้ขาดอายุความ ก็ยังขอรับชำระหนี้ได้ หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้และทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อศาลเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเต็มที่ที่จะสอบสวนและมีความเห็นในเรื่องหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาสั่งตามมาตรา106 และมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 แม้มูลหนี้เดิมตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะขาดอายุความตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสนอความเห็นต่อศาลก็ตาม แต่มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้โดยสภาพแห่งหนี้มิใช่หนี้ที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้ชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ทั้งก่อนที่เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย ลูกหนี้ก็ไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่ามูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ขาดอายุความ จนศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดคดีแพ่งและคดีล้มละลายถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ หนี้ตามคำขอรับชำระหนี้รายนี้ย่อมมิใช่หนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้จึงไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามความในมาตรา 94(1) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยกอายุความเป็นเหตุ ขอให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการพิทักษ์ทรัพย์ต่อคดีเช่า: สิทธิการบังคับคดีและการตรวจสอบรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ มาตรา 264 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการบังคับคดีและการคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่า ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารกับให้ใช้ค่าเสียหาย เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวแล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ยื่นฎีกา ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการเก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้แต่คำสั่งของศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นก็จะใช้ยันแก่ จ.พ.ท.ของลูกหนี้ไม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22(2) และมาตรา 110 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจจะฎีกาขอให้ศาลในคดีนี้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือตัวแทนของโจทก์เข้าไปตรวจสอบรายรับรายจ่ายของรายได้จากเงินค่าเช่าทรัพย์สินที่พิพาท แล้วให้นำเงินค่าเช่าบางส่วนหลังจากหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลให้ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: โจทก์หมดอำนาจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25 โดยโจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือเข้าว่าคดีแพ่งเรื่องนี้ได้อีก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยังคงเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและเข้าว่าคดีนี้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จนกระทั่งศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้ไปแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของโจทก์แต่โจทก์ก็ได้ทราบถึงข้อที่โจทก์ไม่มีอำนาจดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 25และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 จะเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ และให้ยกการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นรวมตลอดจนคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ แล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 38