คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: โจทก์มีทางออกอื่น การพิพากษาเกินฟ้องเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภริยากัน จำเลยโอนขายส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 5519 ให้โจทก์ทั้งสองที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ทั้งสองอยู่ด้านในที่ดินของป. มารดาโจทก์ที่ 1 โดย ป. ยอมให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านออกสู่ทางสาธารณะได้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาท ที่อยู่ในที่ดินของจำเลยจึงมิใช่ทางจำเป็นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ตามฟ้องได้ โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็น ซึ่งโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350ประเด็นข้อพิพาทคงมีเพียงว่า ทางพิพาทเป็น ทางจำเป็นตามบทกฎหมายดังกล่าวหรือไม่เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองมีทางเดินอื่น เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้แล้ว ทางพิพาทจึงไม่ใช่ ทางจำเป็น ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง แม้จำเลยยินยอม ให้โจทก์ทั้งสองหรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทเข้าออก สู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสองอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาท ดังนี้ การที่ ศาลชั้นต้นหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาคดีจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง นอกฟ้องนอกประเด็น และเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แม้จำเลยมิได้ฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบ มาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเครื่องกระสุนปืนผิดกฎหมายและการพิพากษาลงโทษจากคำรับสารภาพ
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจมีเครื่องกระสุนปืนเล็กกล ขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 40 นัด อันเป็นเครื่องกระสุนปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ ซึ่งเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวใช้ยิงได้ไว้ในครอบครองของจำเลย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย โดยอ้างกฎหมายและกฎกระทรวงที่ถือว่าเป็นความผิดไว้ในคำฟ้อง เป็นการบรรยายคำฟ้องถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดพอสมควรที่จำเลยเข้าใจข้อหาแล้ว และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7061/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สิทธิลูกจ้าง, การพิพากษาเกินคำขอ, อุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2ยื่นหนังสือเลิกจ้างให้โจทก์ย่อมเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างที่ไม่ประสงค์จะจ้างโจทก์ให้ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างและมีผลสมบูรณ์นับแต่ยื่นหนังสือเลิกจ้างดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์รับหนังสือเลิกจ้างแล้วโจทก์ยื่นหนังสือลาออกให้จำเลยที่ 2 ก็มิใช่เป็นการตกลงกันใหม่ให้ถือเป็นการลาออกดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ดังนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานปรับข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
รายได้พิเศษอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือผ่านสิทธิและรับรองเงินเดือนเป็นเงินค่าภาษีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร จำเลยที่ 1ผู้เป็นนายจ้างจึงออกภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรแทนโจทก์ โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์ ดังนี้ภาษีเงินได้ดังกล่าวเป็นเพียงสวัสดิการ และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่เงินที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย180 วัน หรือ 6 เดือน จำเลยทั้งสองจ่ายให้โจทก์เพียง 3 เดือน ยังคงค้างค่าชดเชยอีก 3 เดือน แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือน โดยมิได้ยกเหตุใด ๆขึ้นอ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ย่อมไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการพิพากษาถึงที่สุด ผลผูกพันคู่ความ
ในคดีที่ผู้คัดค้านเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้ร้องนั้น ศาลได้พิพากษาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้าน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อคู่ความแถลงรับว่า ที่ดินพิพาทในคดีนี้และคดีก่อนเป็นที่ดินแปลงเดียวกันและมีจำนวนเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ เท่ากัน ดังนั้น ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาผิดประเด็นอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้คำพิพากษาเพื่อความถูกต้องและสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดพิพาทเฉพาะส่วนเนื้อที่ประมาณ 3 งาน 82 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่ผู้คัดค้านครอบครองอยู่เนื้อที่ 1 งาน 63 ตารางวาส่วนผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ ดังนี้ประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงตามคำขอในฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านคือที่ดินซึ่งมีเนื้อที่เพียง 1 งาน 63 ตารางวา การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องขอเสียทั้งหมด จึงเป็นการไม่ถูกต้องมีผลเท่ากับเป็นการพิพากษายกคำร้องขอเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 2 งาน 19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1382 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก่เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีได้เมื่อพยานหลักฐานเพียงพอ แม้มีการแก้ไขคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการที่จำเลยจ้างโจทก์ให้เลี้ยงไก่ของจำเลยเป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การปฏิเสธว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ เพราะเมื่อครั้งที่โจทก์รับเลี้ยงไก่ให้จำเลย โจทก์ก็เป็นหนี้จำเลยจากการที่จำเลยจ่ายค่าอุปกรณ์การเลี้ยงไก่เป็นจำนวนเงิน 17,715 บาท จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยใหม่เป็นว่าโจทก์จะเป็นผู้ซื้อลูกไก่ อาหารไก่ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่จากจำเลย โดยจำเลยจะต้องเป็นผู้ซื้อไก่จากโจทก์ ครั้งนี้โจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นเงิน 136,283 บาทการที่จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การดังกล่าว เท่ากับว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์อีกเช่นกัน ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ตามคำให้การที่ขอแก้ไขใหม่จึงเป็นไปตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบปฏิเสธตามคำให้การและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแล้วดังที่ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่แก้อุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่ายอมรับข้ออุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ส่วนจำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ จะถือว่าจำเลยไม่ได้ต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ต้องรับฟังข้ออุทธรณ์ของโจทก์ฝ่ายเดียวแล้ว พิพากษาลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้เช่นนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีภาระจำยอม – ทางจำเป็น
ประเด็นแห่งคดีของโจทก์ที่ต้องการให้ศาลตัดสินตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องที่บรรยายไว้เป็นข้ออ้างในฟ้องเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยในเรื่องภาระจำยอมเท่านั้น โดยที่ในคำฟ้องของโจทก์ทั้งเก้ามิได้บรรยายเรื่องทางจำเป็นไว้ คงบรรยายแต่เพียงเรื่องที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกันแล้วใช้ทางเดินในที่ดินจำเลยที่ใช้เดินมาตั้งแต่เจ้าของเดิม แล้วจำเลยเอาเสาปูนมาปักปิดกั้นโดยเจตนากลั่นแกล้งปิดกั้นทางเดินของโจทก์เท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นทางจำเป็นด้วยนั้น ผลของคดีจึงเกินคำขอและทำให้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคท้ายด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีทางจำเป็น/ภารจำยอม ศาลต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องเท่านั้น
ประเด็นแห่งคดีของโจทก์ที่ต้องการให้ศาลตัดสินตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องที่บรรยายไว้เป็นข้ออ้างในฟ้องเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยในเรื่องภารจำยอมเท่านั้น โดยที่ในคำฟ้องของโจทก์ทั้งเก้ามิได้บรรยายเรื่องทางจำเป็นไว้ คงบรรยายแต่เพียงเรื่องที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกันแล้วใช้ทางเดินในที่ดินจำเลยที่ใช้เดินมาตั้งแต่เจ้าของเดิม แล้วจำเลยเอาเสาปูนมาปักปิดกั้นโดยเจตนากลั่นแกล้งปิดกั้นทางเดินของโจทก์เท่านั้น ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นการจำเป็นด้วยนั้น ผลของคดีจึงเกินคำขอและทำให้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีเหตุที่มีทางผ่านนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคท้ายด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้หากปิดหลังแต่ก่อนพิพากษา ไม่ต้องเสียอากรเพิ่ม
เอกสารซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์มาแต่ต้น เมื่อต่อมาได้ปิดให้ถูกต้องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยไม่จำต้องเสียอากรเพิ่มก่อน เพราะตามมาตรา 118 แห่ง ป.รัษฎากรตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113และมาตรา 114 ฉะนั้น การที่จะต้องรับผิดเสียอากรเพิ่มขึ้นจึงเป็นส่วนหนึ่งต่างหากไม่กระทบกระทั่งถึงการที่จะรับฟังตราสารนั้นแต่อย่างใด
of 37