พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในสัญญาซื้อขายที่ไม่จดทะเบียน: ศาลจำกัดขอบเขตการบังคับคดีตามที่โจทก์ขอ
ฟ้องว่าจำเลยขายที่ดินมือเปล่าและเรือน ส่งมอบแก่โจทก์และรับชำระราคาแล้ว จำเลยเช่าโจทก์ต่อไป จำเลยไม่ชำระค่าเช่า ขอให้ขับไล่ส่งคืนที่ดินและชำระค่าเช่าที่ค้าง ได้ความว่าสัญญาซื้อขายไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ โจทก์ยังไม่ได้ครอบครองที่ดินและเรือนก็พิพากษายกฟ้องเท่านั้นจะให้จำเลยคืนค่าที่ดินนอกเหนือคำฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งริบของกลางต้องเป็นไปตามคำขอของโจทก์ การพิพากษาเกินคำขอเป็นเหตุให้ต้องแก้ไข
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความชัดว่าจำเลยได้ใช้รถไถ 3 คันของกลางในการกระทำผิด อันอยู่ในข่ายควรริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 หรือต้องริบเสียทั้งสิ้นตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 35 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลางรายนี้ ศาลจะสั่งริบไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีปล้นทรัพย์และการลงโทษฐานมีอาวุธปืน การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามคนร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้มีดและปืนขู่ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 มีปืนพกไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองหนึ่งกระบอกโดยไม่รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 และพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่โจทก์ฟ้องแต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 อันเป็นกระทงหนักที่สุด จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นโจทก์ไม่นำสืบให้ชัด ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานนี้ไม่ได้พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อหานี้เสีย โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ใช้ปืนจี้ผู้เสียหาย และเห็นว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 1ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นแปลได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไว้ คำพิพากษาของศาลล่างยังคลาดเคลื่อนอยู่ ดังนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีปล้นทรัพย์และการลงโทษฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามคนร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้มีดและปืนขู่ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 มีปืนพกไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองหนึ่งกระบอกโดยไม่รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่โจทก์ฟ้อง แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 อันเป็นกระทงหนักที่สุด จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนนั้นโจทก์ไม่นำสืบให้ชัด ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานนี้ไม่ได้พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 เฉพาะข้อหานี้เสีย โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่ายังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้ปืนจี้ผู้เสียหาย และเห็นว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษเฉพาะจำเลยที่ 1ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาต แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นแปลได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความผิดฐานนี้ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไว้ คำพิพากษาของศาลล่างยังคลาดเคลื่อนอยู่ ดังนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำเลยในคดีอาญาที่จำหน่ายคดีแล้ว และการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษจำเลยในคดีอื่น แต่ปรากฏว่าในคดีอื่นนั้นจำเลยปฏิเสธโดยมีจำเลยอื่นรับสารภาพ ศาลจึงสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลย โดยให้โจทก์แยกฟ้องเป็นคดีใหม่ เมื่อโจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่แล้ว โจทก์ไม่มีคำขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโจทก์ในคดีใหม่ศาลย่อมพิพากษาให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีใหม่ไม่ได
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าทำศพต้องมีฐานะเป็นผู้จัดการศพหรือมีส่วนได้เสียโดยชอบด้วยกฎหมาย การพิพากษาเกินคำขอเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง
ฟ้องว่าเป็นภรรยาผู้ตาย ขอให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจ่ายค่าทำศพ โดยไม่ได้ขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกหรือผู้จัดการศพมาด้วย ศาลจะพิพากษาตั้งให้เป็นผู้จัดการศพไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
เมื่อศาลยังไม่ได้พิพากษาตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการศพ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทำศพจากจำเลยผู้รับมรดก
เมื่อศาลยังไม่ได้พิพากษาตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการศพ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทำศพจากจำเลยผู้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ ฉ้อโกง และผู้สนับสนุนความผิด การพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของบริษัท ก. ผู้เสียหายขณะอยู่ในความครอบครองของ ร. แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า เจ้าพนักงานตำรวจยืมรถตามฟ้องจากผู้อื่นแล้วให้ ร. นำไปส่งมอบแก่พวกจำเลยแลกกับค่าตอบแทนเป็นเงิน 10,000 บาท หาใช่เป็นการลักรถจักรยานยนต์ตามฟ้องไปจาก ร. ไม่ จึงเป็นกรณีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลยกฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และลงโทษฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้เช่นกัน ถือว่าเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และการที่จำเลยทั้งสามชี้ช่องแนะนำให้ ร. ไปทำสัญญาเช่าซื้อและเสนอเงินค่าตอบแทนในการนำรถจักรยานยนต์มาส่งมอบจำนวน 10,000 บาท ดังกล่าว อาจถือว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ร. ก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ต้องเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 86 ที่บัญญัติว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด หมายถึงต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นด้วย จึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำก่อนหรือขณะกระทำความผิดได้ แตกต่างกับบทบัญญัติแห่งมาตรา 84 วรรคสองตอนท้าย ที่อาจมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ได้แม้ว่าความผิดมิได้กระทำลงก็ตาม เมื่อคดีนี้เกิดจากการวางแผนของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อน และเป็นการขอยืมรถจักรยานยนต์จากผู้อื่นเพื่อให้ ร. ขับไปทำทีส่งมอบแก่พวกจำเลย หาได้เกิดจาก ร. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง อันจะถือเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 เมื่อความผิดตามมาตรา 341 ไม่มีเสียแล้ว ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดที่ต้องนำความผิดตามมาตรา 341 มาประกอบกับมาตรา 86 ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 86 ได้อีกด้วย และกรณีดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6176/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมการผู้จัดการในความผิดของบริษัท และการพิพากษาเกินคำขอ/ขาดส่วนร่วม
ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามหมวดนี้เป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ยินยอมหรือมีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น" คดีนี้ แม้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย แต่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 90/5 มาด้วย จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 90/5 จึงเป็นการเกินคำขอ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 อาจเป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมามีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 อาจเป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม ไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กรณีมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2 จะได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12797/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 364 นั้น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะระบุอ้าง ป.อ. มาตรา 364 ไว้ด้วย แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสามเข้าไปในเคหสถานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 364 ดังนั้น ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 364 ไม่ได้ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปแล้วและไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)
ตามบันทึกการตรวจยึดและบัญชีของกลางคดีอาญาระบุว่า ป้ายผ้าผืนแรกมีข้อความว่า "ที่ดินคนไทย ทำไมให้ต่างชาติทำกิน" ผืนที่สองมีข้อความว่า "แผ่นดินไทยแต่คนไทยไม่มีที่ทำกิน ต้องยกเลิกสัญญา" ส่วนไม้กระดานอัดแผ่นแรกเขียนข้อความเกี่ยวกับระเบียบการเข้ามาอยู่ในที่ดินที่เกิดเหตุและแผ่นที่สองเขียนข้อความเกี่ยวกับค่าสมัครสมาชิก แม้ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดซึ่งมีข้อความดังกล่าวแขวนหรือติดไว้ในที่เกิดเหตุ แต่ป้ายผ้าและไม้กระดานอัดไม่ใช่ทรัพย์สินที่บุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดในคดีนี้โดยตรง จึงริบทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้ริบทรัพย์สิน ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อไม่ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องคืนแก่เจ้าของ แม้โจทก์มิได้มีคำขอมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนของกลางแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 ประกอบมาตรา 186 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9640/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินกรอบที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและโจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเฉพาะเรื่องแจ้งความเท็จเกี่ยวกับเรื่องยักยอกเงินว่า จำเลยแจ้งข้อความเท็จ ให้จำคุก 1 ปี ข้อหาอื่นให้ยก ย่อมถือว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบการกระทำผิดเพื่อไม่ให้คดีขาดอายุความแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานดังกล่าวที่เกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบการกระทำผิด โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่าจำเลยไม่ได้แจ้งข้อความเท็จว่าโจทก์ยักยอกเงิน ก็ชอบที่จะพิพากษาแก้โดยยกฟ้องโจทก์ในฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับเรื่องยักยอกเงินเสียด้วย จะไปหยิบยกในเรื่องเกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบเรื่องการกระทำผิดขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำคุกย่อมไม่ชอบ เนื่องจากเป็นการพิพากษานอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับวันที่จำเลยทราบเรื่องการกระทำผิด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15