พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: เจ้าของทรัพย์สินต้องพิสูจน์สิทธิ หากพิสูจน์ไม่ได้ทรัพย์สินตกเป็นของกองทุน
ตามทางไต่สวนผู้คัดค้านนำสืบไม่ได้ว่าทรัพย์สินที่ผู้ร้องขอให้ริบผู้คัดค้านเป็นเจ้าของที่แท้จริง กลับนำสืบเองว่าเป็นทรัพย์สินของ ณ. และ ว. ซึ่ง ณ. และ ว. ไม่ได้ยื่นคำร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินดังกล่าวด้วยตนเอง แม้ผู้คัดค้านจะเป็นบิดาของ ณ. และสามีของ ว. ก็ไม่อาจขอคืนทรัพย์สินแทนได้ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19706/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิถอนเงินวางทรัพย์ถูกจำกัดเมื่อเจ้าหนี้แสดงเจตนาขอรับเงิน แม้ยังไม่มีการพิสูจน์สิทธิ
เมื่อจำเลยและธนาคาร ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางว่าจะรับเอาทรัพย์นั้น สิทธิถอนทรัพย์ของโจทก์ที่ 1 จึงเป็นอันขาดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 334 วรรคสอง (2) เหตุที่สำนักงานวางทรัพย์กลางยังไม่จ่ายเงินเนื่องจากจำเลยและธนาคาร ก. ต่างขอรับเงินจำนวนนี้ จึงต้องมีการพิสูจน์สิทธิต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางว่าแท้จริงแล้วผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้ เมื่อยังไม่มีการพิสูจน์สิทธิ สำนักงานวางทรัพย์กลางต้องเก็บรักษาเงินดังกล่าวไว้เพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิที่แท้จริง แม้จะล่วงพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้รับการบอกกล่าว ก็ไม่ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางไว้ระงับสิ้นไป โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิที่จะถอนเงินวางทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 339
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีการออกโฉนดที่ดินใหม่คลาดเคลื่อน ไม่กระทบสิทธิครอบครองเดิม โจทก์ต้องพิสูจน์สิทธิเอง
ที่ดินของ ป. กับที่ดินของ อ. อยู่ติดกันโดยที่ดินของ ป. ทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของ อ. ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่ ป. และระบุรูปแผนที่ที่ดินของ ป. ว่าทางด้านทิศตะวันตกติดบ่อน้ำสาธารณประโยชน์ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และมีส่วนได้เสียในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินได้ แต่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์ไปขอตรวจสอบตำแหน่งที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดเพชรบุรี และโจทก์ก็เบิกความตอบทนายโจทก์รับว่า โจทก์ยังไม่เคยไปยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ทั้งการขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินของนางสาวปทุมก็เป็นเรื่องการแบ่งแยกโฉนดที่ดินในที่ดินของ ป. เองโดยเฉพาะ แม้การระบุอาณาเขตที่ดินในโฉนดที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจะคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่มีผลโดยตรงต่อที่ดินของ อ. กล่าวคือมิได้ออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของ อ. หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการรบกวนการครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของ อ. สิทธิครอบครองที่ดินของ อ. (หากมี) จะมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของ อ. หากโจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดิน การออกโฉนดที่ดินให้ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินรกร้างว่างเปล่า การพิสูจน์สิทธิครอบครอง และการฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
คำว่า ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) หมายถึง ที่ดินที่เอกชนไม่เคยมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อนข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินพิพาทเดิมทางราชการเคยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ให้โดยชอบ ที่ดินพิพาทจึงหาใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่ปี 2506 จนปัจจุบันที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ต้นมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. 1375 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 243 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยให้การว่า จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่ปี 2506 จนปัจจุบันที่ดินดังกล่าวจึงเป็นของจำเลย แสดงว่าจำเลยอ้างว่าเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ต้นมิได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์ เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. 1375 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 243 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: เพิกถอนใบจองทับที่ดินเดิม, การพิสูจน์สิทธิ, ข้อจำกัดการฎีกา
คดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์เป็นผู้เสียหายกล่าวหาว่า จำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงในบันทึกถ้อยคำ แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อดำเนินการออกใบจองให้จำเลย อันเป็นการปลอมและใช้เอกสารปลอม ส่วนคดีนี้โจทก์ขอให้เพิกถอนใบจองที่ออกทับที่ดินของโจทก์ สิทธิการฟ้องคดีนี้จึงไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม กรณีจึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้ครอบครองต่อจากบิดาจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
จำเลยให้การเพียงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้ครอบครองต่อจากบิดาจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง และปัญหาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249