คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องขับไล่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2714/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสิทธิในที่ดิน: การคัดค้านการออกโฉนดถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ การฟ้องขับไล่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจากบิดาโจทก์แต่จำเลยยื่นหนังสือคัดค้านโดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยแม้การยื่นคำคัดค้านดังกล่าวจะเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา60แต่เนื้อหาในคำคัดค้านที่จำเลยอ้างว่าที่ดินโจทก์ขอออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินของจำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แล้วทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือคัดค้านที่มีข้อความระบุว่าจำเลยได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องและโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงการที่จำเลยไปคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของโจทก์ด้วยซึ่งหากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้ศาลชั้นต้นชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1) เมื่อคดีสิทธิในที่ดินยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
การที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านในคดีก่อนก็เพราะจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อจำเลยเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะมีความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอเข้าไปในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)และคดีก่อนโจทก์ไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกสามารถและพิสูจน์ในชั้นบังคับคดีได้ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันโจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2)โดยไม่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ คำร้องขอของโจทก์ในคดีก่อนเป็นคำฟ้อง และแม้ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่โจทก์ก็ยังฎีกาคัดค้านต่อศาลฎีกาคดีก่อนจึงยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่่จำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งคดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจำเลยเป็นบริวารของผู้เช่า ซึ่งมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือของจำเลย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่าหลังผู้เช่าเสียชีวิต: สิทธิการฟ้องขับไล่ทายาทและผู้เช่าช่วง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจาก ว.ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ได้ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่าโรงงานทำพัดลมเพื่อทำเป็นโรงงานทำ ประกอบ และผลิตสินค้า โดยจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5ขออนุญาตโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไปจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ก็ยังคงดื้อดึงใช้โรงงานทำพัดลมบนที่ดินพิพาท ทำ ประกอบ และผลิตสินค้าเรื่อยมา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 เพิกเฉย เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงเหตุที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและเหตุที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าแล้วว่า ว.ผู้เช่าได้ถึงแก่ความตายแล้วและโจทก์ไม่ยินยอมให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทอีกต่อไป ซึ่งย่อมจะทำให้จำเลยทั้งห้าสามารถเข้าใจสภาพแห่งข้อหาได้ดี เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ ว.จะได้จดทะเบียนเช่าที่ดินพิพาทจาก ร.มีกำหนดเวลา 30 ปีซึ่งมีผลทำให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ร.ต้องยอมให้ ว.เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามสัญญาก็ตาม แต่สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้น เมื่อ ว.ถึงแก่ความตาย สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ว.กับ ร.ก็เป็นอันสิ้นสุดลง และมีผลทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างว.กับจำเลยที่ 3 เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของว.จึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจาก ว.ก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งห้าได้
เกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาในการเช่านั้น กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้โดยเคร่งครัด และให้สิทธิแก่คู่สัญญาในอันที่จะเลือกเอากำหนดเวลาในการเช่าได้หลายแบบรวมทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลา 30 ปี ด้วย หรือแม้แต่จะทำกันตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือของผู้เช่าก็สามารถทำได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า ว.ได้เลือกเอากำหนดเวลาเช่าเป็นเวลา 30 ปี และไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิตามสัญญาเช่าสามารถตกทอดไปยังผู้เป็นทายาทของ ว. หรือไม่มีข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เช่นนี้ ก็ต้องถือว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่าง ร.ผู้ให้เช่ากับ ว.เป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ใหม่ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.148 หากคดีก่อนยกฟ้องเรื่องอำนาจฟ้อง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าใบแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดโจทก์ไม่สมบูรณ์ เพราะสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก มิได้ลงพระนามในใบแต่งตั้ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีจึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีฟ้องขับไล่: แยกพิจารณาคำฟ้องหลักและคำฟ้องแย้ง
แม้คดีในส่วนคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในส่วนคำฟ้องแย้ง จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า และขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยซึ่งมิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากโจทก์ จึงเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทกฎหมายดังกล่าว และต้องแยกพิจารณาการต้องห้ามอุทธรณ์ของคดีในส่วนตามคำฟ้องแย้งของจำเลยต่างหากจากส่วนคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกสร้างลงในที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้วเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าได้ ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยข้ออื่นนอกจากนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อที่ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่า ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยนั้นเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้งของจำเลย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง กรณีฟ้องขับไล่และค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวต่อมาจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินและบ้านของโจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาทพร้อมทั้งให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาส่วนบ้านพิพาทนั้นจำเลยได้ว่าจ้างบุคคลอื่นก่อสร้างโดยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยด้วยดังนั้นแม้บ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ก็ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทหากจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยก็อยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกไม่ได้จึงเป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ2,000บาทโจทก์ไม่ฎีกาย่อมฟังได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นที่ดินและบ้านพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสันนิษฐานสถานะบริวารในบังคับคดี ผู้ร้องมีสิทธิยื่นหลักฐานหลังพ้นกำหนดเวลาได้ และการฟ้องขับไล่เกิน 5,000 บาท ไม่ห้ามฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)เพียงแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ แม้ล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ถ้าผู้ร้องมีหลักฐานสืบแสดงได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารจำเลย ก็ชอบจะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ และแม้ผู้ร้องจะไม่ขอขยายระยะเวลายื่นคำร้องไว้ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะยื่นคำร้องในภายหลังเพราะระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5986/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรองผู้จัดการทั่วไปลงนามแทนผู้จัดการทั่วไป และผลผูกพันสัญญาเช่า แม้มีการฟ้องขับไล่
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามหลักทั่วไปเมื่อผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่รองผู้จัดการทั่วไปก็จะลงชื่อแทนได้การที่ย. ซึ่งเป็นรองผู้จัดการทั่วไปของจำเลยลงชื่อในเอกสารหมายจ.4ในขณะที่ผู้จัดการทั่วไปไม่อยู่ไปต่างประเทศนั้นถือว่าเป็นการลงชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลย จำเลยเป็นบริษัทย่อมมีระบบและขั้นตอนในการทำงานหากมีสัญญาเช่าใหม่กับโจทก์ไว้จริงทางจำเลยก็ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือเอกสารหมายจ.4เสนอให้โจทก์เช่าต่ออีกแต่ปรากฎว่าตามข้อตกลงที่จะให้โจทก์เช่าต่อไปนั้นโจทก์จะต้องเสียค่าเช่าเพิ่มอีกร้อยละ15เมื่อได้รับค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นที่พอใจแล้วจำเลยย่อมจะให้โจทก์เช่าต่อไปโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้มีการฟ้องขับไล่กันไว้หรือไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ตกลงให้โจทก์เช่าห้องพิพาทโดยสำคัญผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จำเลยที่ยึดครองที่ดินต่างส่วนกัน การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการครอบครองปรปักษ์
จำเลยทั้งสองต่างเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนเป็นส่วนสัดแยกต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง เข้ามาในคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใด ย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไป ยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมที่ดินหลังไถ่การขายฝาก - การฟ้องขับไล่ทำได้เมื่อมีการแบ่งแยกส่วนสัด
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่ 1 กับ ส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนด และมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของ ส.แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับ ส. ส่วนของ ส.ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด จำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1
of 59