พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
++ เรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมการที่ศาลภาษีอากรเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบ โดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรม จึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบก็ตาม กรณีหาอาจถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปไม่
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับระยะเวลานั้น ป.พ.พ. มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน..." ดังนั้น วันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา39 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษีท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์ แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือนเมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2518 มาตรา 17 ให้อำนาจศาลที่จะนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเองได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมการที่ศาลภาษีอากรเรียกพยานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบ โดยพยานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินภาษีโจทก์เพื่อให้การกำหนดค่ารายปีและค่าภาษีเป็นไปโดยถูกต้องเที่ยงธรรม จึงชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดและโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบก็ตาม กรณีหาอาจถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปไม่
โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่จากกรุงเทพมหานครจำเลย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2542 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ซึ่งการนับระยะเวลานั้น ป.พ.พ. มาตรา193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวันสัปดาห์เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน..." ดังนั้น วันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นวันครบสามสิบวันพอดี เป็นการฟ้องภายในกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
หนี้ที่กรุงเทพมหานครจำเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์เป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา39 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าศาลตัดสินให้ลดค่าภาษีท่านให้คืนเงินส่วนที่ลดนั้นภายในสามเดือน โดยไม่คิดค่าอย่างใด" จึงเป็นบทยกเว้นความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จะต้องชำระแก่โจทก์ แต่มีระยะเวลาเพียงสามเดือนเมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว จำเลยยังไม่ชำระโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างฟ้องคดีแรงงานแล้ว ไม่อาจยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในประเด็นเดียวกันได้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 มีลักษณะเป็นการกำหนดให้ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียวกล่าวคือจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานก็เท่ากับสละสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอยู่ในตัว
การที่ ณ. ลูกจ้างยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างที่ค้างถือว่า ณ. เลือกใช้สิทธิที่จะฟ้องต่อศาลแรงงาน จึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 แล้วเมื่อต่อมา ณ. ได้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอีกในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อขอให้โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วและค่าจ้างในเดือนถัดมาต่อเนื่องกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องของณ. แม้ต่อมา ณ. จะได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าว ก็ไม่ทำให้พนักงานตรวจแรงงานกลับมีอำนาจพิจารณาคำร้องนั้นขึ้นมาอีก
การที่ ณ. ลูกจ้างยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างที่ค้างถือว่า ณ. เลือกใช้สิทธิที่จะฟ้องต่อศาลแรงงาน จึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 แล้วเมื่อต่อมา ณ. ได้ไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอีกในขณะที่คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อขอให้โจทก์จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วและค่าจ้างในเดือนถัดมาต่อเนื่องกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานตรวจแรงงานจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องของณ. แม้ต่อมา ณ. จะได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าว ก็ไม่ทำให้พนักงานตรวจแรงงานกลับมีอำนาจพิจารณาคำร้องนั้นขึ้นมาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: จำนวนหนี้ต่างกันในแต่ละคดี แม้สัญญาเดียวกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นในคดีก่อน ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าวโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แม้ฟ้องคดีก่อนและฟ้องคดีนี้ต่างอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระตามคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละจำนวนกัน กล่าวคือ ฟ้องคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าร้อยละ 10 ที่จำเลยต้องชำระในวันทำสัญญาและราคาสินค้าที่ต้องผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 8ส่วนฟ้องคดีนี้โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่ต้องผ่อนชำระงวดที่ 9 ถึงงวดที่ 12 และราคาน้ำยาเคมีที่ใช้สำหรับทางการแพทย์ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระเมื่อโจทก์เสนอคำฟ้องคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่ฟ้องเรื่องเดียวกับฟ้องคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่อง, การพิสูจน์ความชำรุดบกพร่อง, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากจำเลยและได้รับโอนการครอบครองไปเรียบร้อยแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้เข้าอยู่อาศัย ต่อมาประมาณกลางปี 2538 โจทก์ประสงค์จะเข้าอยู่อาศัย จึงได้ให้ช่างเข้าไปตกแต่ง ในระหว่างนั้นเกิดมีฝนตกหนัก น้ำฝนรั่วซึมเข้าไปในห้องชุดพิพาท ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ความเสียหายเกิดจากผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าว และบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิโคนไม่ทั่ว ทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาตามห้องชุดตามรอยร้าวหรือรอยต่อที่ไม่สนิทเป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ต่อเมื่อมีฝนตกหนัก น้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่อง แม้โจทก์จะได้มอบหมายให้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบ ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลทั้งสองไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์ติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างให้ผู้ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญเข้าไปทำการตรวจสอบให้แน่ชัด จึงเป็นการกระทำที่สมควร เมื่อผู้เชียวชาญได้ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และการฟ้องคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการพิสูจน์เอกสารรับสภาพหนี้
จำเลยอ้างว่ามีที่อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ตามสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่ศาลไปส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์ หมายนัดฟังคำพิพากษา และอื่น ๆให้แก่จำเลยที่บ้านในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าคนข้างบ้าน บุตรสาว และคนในบ้านของจำเลยแจ้งว่าจำเลยไปธุระต่างจังหวัดบ้าง ไปธุระนอกบ้านบ้างทุกครั้งแสดงว่าจำเลยอยู่ที่บ้านที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบกับบ้านที่จังหวัดนครสวรรค์นั้นถูกรื้อไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยเองว่า จำเลยอาศัยอยู่ที่บ้านของพี่สาวเมื่อเดินทางไปที่จังหวัดนครสวรรค์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่สองแห่ง คือที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งถือว่าทั้งสองแห่งนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ฉะนั้น ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี และการเพิกเฉยต่อการขอให้จำหน่ายคดี
ในกรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้เสนอข้อพิพาททางแพ่งให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากคู่สัญญาฝ่ายใดนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเสียก่อนตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องก็อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยาน หรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีได้ แต่คดีนี้คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 3 ให้การลอย ๆ อ้างว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่า กรณีมีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 หาได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง และผลต่อการพิจารณาคดี
ในกรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้เสนอข้อพิพาททางแพ่งให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากคู่สัญญาฝ่ายใดนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเสียก่อนตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องก็อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยาน หรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีได้ แต่คดีนี้คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 3 ให้การลอย ๆ อ้างว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่า กรณีมีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 หาได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังศาลจำหน่ายคดีเดิมเนื่องจากไม่มีอำนาจ พิจารณาจากวันที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลคดีเดียวกันกับคดีนี้ที่ศาลแพ่งธนบุรีแต่ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539เนื่องจากจำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นในเขตอำนาจซึ่งคดีจะครบอายุความภายในวันที่ 7 มิถุนายน 2539 กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสองโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งศาลแพ่งธนบุรีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 4 กรกฎาคม 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์ทันที แต่ต้องปิดเมื่ออ้างเป็นหลักฐาน ศาลต้องให้โอกาสสืบพยานก่อนพิพากษา
ประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ไม่ได้บังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง ดังนั้น แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจะไม่มีหนังสือมอบอำนาจแนบมาด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพียงแต่ว่าเมื่อใดโจทก์อ้างหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จะต้องปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์และขีดฆ่าแล้ว ศาลจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เมื่อโจทก์อ้างในคำฟ้องว่ามอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนเท่านั้นซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์สืบพยานก่อนจึงไม่ชอบ
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 จึงเป็นการอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 จึงเป็นการอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ โดยอาศัยหลัก ป.พ.พ. มาตรา 193/3
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้นจึงต้องอาศัยการนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โจทก์ได้รับแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2542 การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นวันแรกและครบกำหนด 30 วันในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ