คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดีอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5934-5935/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายแต่ละคน แม้มีการถอนฟ้องคดีไปแล้วโดยผู้เสียหายอื่น
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 หมายความว่า ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายคนหนึ่งได้ยื่นฟ้องไว้แล้วถอนฟ้องคดีนั้นไปจากศาล ย่อมตัดสิทธิผู้เสียหายคนนั้นที่จะฟ้องคดีอาญาในข้อหาเดียวกันนั้นอีกเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิผู้เสียหายคนอื่นที่จะฟ้องคดีอาญาในข้อหาเดียวกันนั้นอีกไม่ เพราะสิทธิในการดำเนินคดีอาญาที่ตนเป็นผู้เสียหายย่อมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เสียหายแต่ละคน ทั้งมาตรานี้มิได้บัญญัติตัดสิทธิผู้เสียหายแต่ละคนในกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคนไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่มิได้ถอนฟ้องจึงมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3907/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องคดีอาญาและการรับฟังพยานหลักฐานนอกฟ้อง ศาลรับฟังได้เฉพาะการกระทำที่บรรยายไว้ในฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ก. ว่า จำเลยบุกรุกเคหสถานของผู้เสียหายอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข และข้อ 1 ข. ว่าหลังจากจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว จำเลยนี้ใช้กำลังประทุษร้าย กอดปล้ำ กระทำอนาจารผู้เสียหาย แต่โจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยหลังจากหลบหนีไปแล้วที่กลับมาบุกรุกเคหสถานของผู้เสียหายอีก ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ ศาลก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นซึ่งนอกเหนือจากฟ้องของโจทก์มาลงโทษจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวง และการรับสารภาพที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องคดีด้วยลายลักษณ์อักษรเพียงแต่มีรายละเอียดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีก็เป็นการเพียงพอแล้ว ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจเข้าทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9ส่วนจำเลยที่ 6 ถึงที่ 9 ร่วมกันชกต่อยฟัดเหวี่ยงทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ย่อมมีความหมายว่าแต่ละฝ่ายมีพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ได้ร่วมกันกระทำความผิดในการทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นตัวการซึ่งโจทก์ได้อ้าง ป.อ. มาตรา83 มาด้วยแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยคนใดชกต่อยหรือทำร้ายจำเลยคนใด ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม.
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองฝ่ายต่างทำร้ายซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1,2,4 และ 6 มีบาดแผลดังที่บรรยายรายละเอียดมาในฟ้องแล้ว ทั้งระบุว่าเป็นอันตรายแก่กายด้วย จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับยอมรับในข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นอันตรายแก่กายจริง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าบาดแผลนั้นยังไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์เป็นฟ้องไม่ถูกต้อง ศาลฎีกายกฟ้อง
ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะให้แก้ไขเสียแล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องคดีอาญาและการลดโทษจำเลย: หลักการพิจารณาโทษและพยานหลักฐาน
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยกระทำทารุณโหดร้าย ตามที่โจทก์ร่วมฎีกา แม้จะได้ความว่าจำเลยกระทำการโดยมี ลักษณะดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ศาลก็จะลงโทษจำเลยมิได้เพราะ เป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้องและไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ ประสงค์ให้ลงโทษโจทก์ร่วมจึงฎีกาในข้อดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกิน 72 ชั่วโมง ต้องไต่สวนเวลาเดินทางของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อล่วงเลยระยะเวลา 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายมิให้นับเวลาเดินทางปกติที่นำผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการพนักงานสอบสวนขึ้นวินิจฉัยด้วย ยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 ศาลชั้นต้นต้องดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความก่อนว่าระยะเวลาที่กฎหมายยกเว้นมิให้นำมานับรวม เข้าดังกล่าวใช้เวลาเท่าใด แล้วจึงมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041-5042/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-เครื่องหมายการค้า: การฟ้องคดีอาญาซ้ำเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยชอบ
พนักงานอัยการโจทก์และผู้เสียหายโจทก์ร่วมเคยฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ร่วมพบสินค้าของจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นอีกจึงดำเนินการให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยพยานหลักฐานใหม่และเพิ่มข้อหาอื่นอีกแต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ร่วมกันกระทำการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมขึ้นใหม่ดังนี้ เป็นการนำการกระทำของจำเลยที่มีคำพิพากษา เสร็จเด็ดขาดแล้วมาฟ้องใหม่นั่นเองสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราควายพระอาทิตย์ย่อมมีสิทธิใช้หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนจดทะเบียนได้โดยชอบ การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 นำเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายมาใช้กับสินค้าของจำเลยที่4 โดยโจทก์ร่วมยินยอมจึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา โจทก์ต้องไปศาลเพื่อแจ้งข้อมูลด้วยตนเอง มิฉะนั้นถือว่าไม่เป็นการฟ้อง
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กำหนดไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานสอบสวนนำผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการ เพื่อฟ้องศาลโดยไม่ต้องสอบสวนและให้ฟ้องด้วยวาจา และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าการฟ้องด้วยวาจาให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่นนี้ โจทก์จึงต้องมาศาล เมื่อโจทก์เพียงแต่ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามายื่นต่อศาล โดยโจทก์ไม่มาศาล ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา
บันทึกการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา และเพื่อความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่ฟ้องด้วยวาจาตามกฎหมายไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องมีการแจ้งรายละเอียดต่อศาลโดยโจทก์เอง การมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนไม่ถือเป็นการฟ้อง
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์นั้น เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่ฟ้องด้วยวาจาตามกฎหมายไม่ แม้ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ จะมิได้บังคับโดยตรงว่าโจทก์ต้องไปศาล แต่มาตรา 19 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวบัญญัติให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อ โจทก์ ชื่อ ที่อยู่และสัญชาติของจำเลยฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและอื่น ๆอีกหลายประการ เห็นได้ว่าลักษณะของงานบังคับให้โจทก์ต้องไปศาลอยู่ในตัว เมื่อโจทก์ไม่ไปศาลย่อมถือว่าไม่มีการฟ้องคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา: โจทก์ต้องมาศาลเพื่อแจ้งรายละเอียดการฟ้องด้วยตนเอง
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20กำหนดไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานสอบสวนนำผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องศาลโดยไม่ต้องสอบสวนและให้ฟ้องด้วยวาจา และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าการฟ้องด้วยวาจาให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่นนี้ โจทก์จึงต้องมาศาล เมื่อโจทก์เพียงแต่ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามายื่นต่อศาล โดยโจทก์ไม่มาศาล ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา
บันทึกการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา และเพื่อความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่ฟ้องด้วยวาจาตามกฎหมายไม่.
of 25