พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีครอบครองที่ดิน: ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความเดิม
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 148, 173 วรรคสอง (1), 182 (4), 225
วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา182 (4)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อ ว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ว.ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว.ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวาร กับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว.ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส. แล้ว ส.ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว.และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ ส. และ ส.ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของ ว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมาอ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว.โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว.เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่ออีก3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดินที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับคำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว.ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดีปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว.ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว.ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว.และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาทของ ว.ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดินในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา182 (4)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้ว โจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อ ว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ว.ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว.ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวาร กับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว.ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส. แล้ว ส.ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว.และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ ส. และ ส.ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของ ว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของ ว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว.ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว.อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมาอ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว.โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว.เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่ออีก3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดินที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับคำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว.ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดีปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว.ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว.ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว.และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาทของ ว.ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดินในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คำพิพากษาถึงที่สุด: ศาลยกฟ้องคดีที่ฟ้องซ้ำกับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา และฟ้องที่ขัดกับคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถานและนัดฟังคำพิพากษาเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เสร็จ ไปทั้งเรื่องโดยไม่ต้องสืบพยาน ย่อมเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาและมีคำสั่งดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182(4) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 500/2535 ของศาลชั้นต้น โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดแจ้งว่าบ้านเลขที่ 300/2ซึ่งเป็นของ ว. อยู่ก่อนนั้นได้พังลง โจทก์ได้ปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี 2535 อันเป็นเวลาก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง จึงไม่ใช่มูลคดีเดียวกัน แต่เป็นมูลคดีที่ปรากฏขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะต้องรับวินิจฉัย ข้ออุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ คดีก่อนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่าโจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่ง ว.ได้ปลูกสร้างลงบนที่ดินที่ได้ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินแล้วโจทก์ได้ตัดฟันต้นไม้ของ ว.อันเป็นการกระทำละเมิดต่อว.ว.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าว. ไม่ประสงค์ให้โจทก์อยู่อาศัยในบ้านและที่ดินของ ว. ขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารกับเรียกค่าเสียหาย โจทก์ให้การว่า หลังจากที่ ว. ได้ยกบ้านและที่ดินให้ ส.แล้วส. ได้ขายบ้านและที่ดินนี้ให้โจทก์ โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ส่วนต้นไม้ไม่ใช่ของ ว. และโจทก์มิได้ตัดฟันศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากบ้านและที่ดินพิพาทโดยวินิจฉัยว่า ว.ไม่ได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้ส. และส. ไม่ได้ขายให้แก่โจทก์บ้านและที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของว. โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์การที่โจทก์มาฟ้อง ท.ในฐานะทายาทของว.เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรและทายาทของ ว. ในคดีนี้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินบ้านเลขที่ 300/2 ซึ่งเป็นของ ว. อยู่ก่อนได้พังลง โจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือนขึ้นใหม่แต่ใช้เลขที่บ้านเดิมและร่วมออกเงินเพื่อถมดินในที่ดินดังกล่าวกับผู้มีชื่ออีก 3 คน ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้าน เลขที่ 300/2 พร้อมรั้วเป็นของโจทก์ หากที่ดินพิพาทไม่ใช่ ที่ราชพัสดุ ก็ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าดินที่ถมและ ค่ารั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ดังนี้ แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ จะถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนซึ่งได้มี คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้ มีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ซึ่งในคดีก่อนไม่มี ประเด็นให้ต้องวินิจฉัยดังกล่าว จึงมิใช่การที่คู่ความเดียวกัน รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ผลแห่งคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดในคดีแพ่งที่ว่าที่ดินและบ้านพิพาทยังเป็นของ ว. ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 โจทก์จำต้องยอมรับผลแห่งคำพิพากษานั้น โจทก์จะมา อ้างในคำฟ้องคดีนี้ว่าความจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินซึ่งโจทก์เป็นผู้ครอบครองและมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จึงมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ ไว้ในคดีก่อนหาได้ไม่ ดังนี้ เมื่อ ว. โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกบ้านและที่ดินพิพาทของ ว. เป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์ เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท และมีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสาม และให้บ้านเลขที่ 300/2 พร้อมรั้วรอบที่ดินเป็นของโจทก์ ในคดีนี้อีก ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกา ก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อ อีก 3 คน ถมดินในที่ดินแปลงพิพาทและโจทก์ได้ปลูกสร้างโรงเรือน ขึ้นใหม่ในที่ดินพิพาทขอให้พิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้าน ที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นใหม่ และให้จำเลยทั้งสามชำระค่าดิน ที่ถมและรั้วคอนกรีตพร้อมค่าบ้านเลขที่ 300/2 จำนวน 55,000 บาท แทนการรื้อถอนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคำขอบังคับทำนองเดียวกับ คำขอให้ชดใช้เงินค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสิ่งปลูกสร้าง ที่โจทก์ได้ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ว. ในคดีก่อนโจทก์ในคดีนี้และคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกัน ส่วนจำเลยในทั้งสองคดี ปรากฏว่าในคดีก่อน โจทก์ฟ้อง ว. ซึ่งมีจำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. ผู้มรณะในฐานะทายาท ส่วนในคดีนี้โจทก์ ก็ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ว. และโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินและบ้านพิพาท ของ ว. ถือได้ว่าจำเลยในทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกันเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทและการถมดิน ในที่ดินพิพาทไว้ในคดีก่อน ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณา ของศาลชั้นต้น และโจทก์ยื่นคำฟ้องในคดีนี้ในเรื่องเดียวกัน ต่อศาลเดียวกันอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีสิทธิภาระจำยอมที่ยังพิจารณาอยู่
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่า ที่ดินโจทก์มีสิทธิภาระจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรียกร้องสิทธิภารจำยอม คดีหลังเรียกค่าเสียหายจากเหตุเดิม ศาลยกฟ้อง
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่าที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนฐานฉ้อโกงเมื่อกรรมเดียวกันกับความผิดใช้เช็ค การฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเป็นกรรมเดียวกัน การฟ้องซ้ำจึงต้องห้าม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้วแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน, อายุความ, ความรับผิดทางสัญญาซื้อขาย, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อคดี
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในเรื่องเดียวกับคดีนี้ ครั้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2534ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2534 โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ใหม่ วันที่ 11 ตุลาคม 2534 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยที่ 1ก่อนเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นมาพิจารณาต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ครั้นวันที่ 14 พฤศจิกายน2534 จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีเดิมต่อศาลอุทธรณ์โดยอ้างว่าก่อนศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยก่อน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 14พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ไม่มีผลกระทบถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและถึงที่สุดไปแล้วโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 ตุลาคม 2534 ซึ่งเป็นเวลาที่คดีเดิมถึงที่สุดไปแล้ว ไม่ได้อยู่ระหว่างพิจารณา คดีโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ที่ดินที่จำเลยทั้งสองขายให้โจทก์นั้น ศาลฎีกาพิพากษาให้โอนไปเป็นของบุคคลอื่น จึงเป็นกรณีบุคคลอื่นมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือที่ดินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ในเวลาซื้อขาย จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 จำเลยที่ 1 ผู้ขายเป็นคู่ความในคดีเดิม โจทก์ไม่ได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอกหรือยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง กรณีของโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481และมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องของโจทก์เริ่มนับแต่วันที่4 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 1 ตุลาคม 2534คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ แต่จำเลยที่ 2นั้นปรากฏว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิม กรณีจึงต้องตามมาตรา 481 คดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงขาดอายุความตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การแบ่งมรดกที่ดินและพันธบัตรเมื่อมีการฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอื่นไปแล้ว
คดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องจำเลยกับ จ. ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ต. และนำมาแบ่งปันกันและตามคดีหมายเลขดำที่ 284/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องจำเลยกับ พ. ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 6278 ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนาย ต.และนำมาแบ่งปันกัน แต่คดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องจำเลยคนเดียว ให้ดำเนินการแบ่งปันที่ดินโฉนดเลขที่ 3977กับพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ต.แม้ว่าที่ดินทั้งหมดจะเป็นทรัพย์มรดกของต.แต่เห็นได้ว่าตามคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 และ 284/2535นั้น จะต้องพิจารณาประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินเสียก่อนว่าจะเพิกถอนหรือไม่ เมื่อเพิกถอนแล้วจึงจะนำมาแบ่งปันกันระหว่างทายาท ส่วนคดีนี้มีแต่เพียงประเด็นแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาทด้วยกันเท่านั้นหาได้เป็นเรื่องเดียวกันไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7852/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีละเมิดเดิมซ้ำ โดยควรแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเดิมแทน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 จงใจทุจริตยักยอกเงินค่าภาษีและค่าธรรมเนียมรถจักรยานยนต์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการส่วนจำเลยที่ 5 จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่โจทก์วางไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ แม้จะได้ความว่ายอดเงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกจะมาจากใบเสร็จรับเงินต่างเล่มและคนละเลขที่กัน ทั้งการตรวจพบการกระทำทุจริตยักยอกจะเป็นคนละครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 และที่ 5กระทำละเมิดต่อโจทก์ในระยะวันเวลาเดียวกันที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนไว้แล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นเรื่องเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีดังกล่าว ซึ่งโจทก์ชอบที่จะแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ เพราะเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกัน ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7629/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: สภาพแห่งข้อหาต่างกัน แม้หนี้เป็นรายเดียวกัน
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในคดีแพ่งเรื่องก่อน เป็นเรื่องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง โดยโจทก์นำเช็คที่จำเลยได้รับจากลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ปรากฏว่าธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงขอให้บังคับจำเลยกับผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้หนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องจำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ในฐานะผู้สลักหลังในคดีนี้เป็นหนี้รายเดียวกับสิทธิเรียกร้องบางส่วนของจำเลยที่โอนแก่โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องก่อน แต่เมื่อสภาพแห่งข้อหาของฟ้องโจทก์ทั้งสองเรื่องมิใช่เรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน