คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภรรยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายภรรยาจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าเป็นการทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ไม่เข้าข้อยกเว้นป้องกันตัว
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากัน วันเกิดเหตุจำเลยกลับจากทำงานถึงบ้านไม่พบผู้ตายจึงตามไปพบผู้ตายที่แพของ อ. จำเลยถามผู้ตายว่าทำไมไม่กลับบ้าน ผู้ตายว่าไม่กลับจะทำไมจำเลยว่าข้าวปลาทำไมไม่หุงปล่อยให้ลูกหุงกินเองผู้ตายจึงว่าหุงกินเองไม่เป็นก็ช่างแม่มันจำเลยจึงตบหน้าผู้ตายตกจากเก้าอี้ล้มลงไปที่พื้น ผู้ตายลุกขึ้นได้ก็หยิบมีดวิ่งเข้าหาจำเลยจำเลยจึงหยิบเขียงบนโต๊ะเหวี่ยงไปที่ผู้ตาย ถูกผู้ตายล้มลงไป มีเลือดออกที่ศีรษะ จำเลยเข้าประคองผู้ตายและพาไปส่งโรงพยาบาลผู้ตายมีบาดแผลฉกรรจ์ คือ ศีรษะบริเวณท้ายทอยแตก เป็นแผลยาว 13 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ลึกจดกะโหลกศีรษะผู้ตายถึงแก่ความตายในคืนนั้น เพราะเลือดคั่งในสมอง ลักษณะบาดแผลที่จำเลยเหวี่ยงเขียงไปที่ผู้ตายในขณะที่ผู้ตายถือมีดวิ่งเข้าหาจำเลยไม่น่าจะทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ที่ท้ายทอยของผู้ตาย บาดแผลอาจจะเกิดจากการที่ผู้ตายหงายหลังล้มลงไปก็ได้แต่ก็ได้ความว่าเหตุที่ผู้ตายล้มลงไปก็เพราะจำเลยเหวี่ยงเขียงไปที่ผู้ตายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีร่วมภรรยา-สามี: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งภาษีสามีได้ แม้ไม่ได้ไต่สวนโดยตรง หากภรรยาแยกยื่นรายการ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้อง ตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษี อันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้ แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้วปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อภรรยาแยกยื่นรายการ: เจ้าพนักงานมีอำนาจแบ่งภาษีและให้ทั้งสองฝ่ายร่วมรับผิดชอบ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์ เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษีอันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้ว ปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินเดิมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
การที่สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หานั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภรรยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วย 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สินบริรุณภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อพินัยกรรม
การให้สินบริคณห์โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ซึ่งสามีทำได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมของภรรยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 นั้น ผู้ได้รับการยกให้ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีฐานะชอบด้วยกฎหมาย จำเลยผู้รับให้เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการให้ที่ยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ไม่ใช่เรื่องโมฆะกรรมหรือโมฆียะเป็นแต่เพียงนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบซึ่งภริยาเพิกถอนได้
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสรับผิดชอบหนี้สามีที่ถึงแก่ความตาย
จำเลยเป็นภรรยาของผู้ตายโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงมิใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391-2393/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินอันเป็นสินสมรสให้บุตร ถือเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยา
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภรรยากัน มีที่ดินอันเป็นสินสมรสด้วยกันหลายแปลง การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็น สามียกที่ดินดังกล่าวให้แก่บุตร 3 คน ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 เองคนละ 1 แปลง ถือว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีมีอำนาจทำได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภรรยาก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์ในความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค กรณีเจ้าของร้านเป็นภรรยา
จำเลยออกเช็คให้กับร้าน ม. เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เจ้าของร้าน ม.ย่อมได้รับความเสียหาย ร้าน ม. นี้ ต. และ ก. สามีภรรยาเป็นเจ้าของร่วมกัน ก.จึงเป็นผู้เสียหายด้วยผู้หนึ่งมีอำนาจร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแกจำเลย ในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสินสมรส: สามีรู้เห็นภรรยาทำหนี้จากการทำงานร่วมกัน ไม่มีสิทธิขอส่วนแบ่งทรัพย์สินจากการบังคับคดี
ผู้ร้องรู้เห็นด้วยในการที่ภรรยาผู้ร้องออกเช็คแลกเงินสดไปจากโจทก์ เงินที่นำมาใช้จ่ายในการซื้อที่ดินและตึกแถวที่ถูกโจทก์บังคับคดี ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ภรรยาผู้ร้องยืมไปจากโจทก์โดยวิธีออกเช็คแลกเงินสดนั้นเองดังนี้ ผู้ร้องจึงขอกันส่วนในจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไม่ได้เพราะหนี้ที่ภรรยาผู้ร้องเป็นหนี้โจทก์เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานที่ผู้ร้องและภรรยาทำด้วยกัน จึงเป็นหนี้ร่วมผูกพันสินสมรสส่วนของผู้ร้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์และการผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ภรรยาไม่ได้ลงชื่อ
สามีภรรยาได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน โดยซื้อที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งขายเป็นที่ดินแปลงเล็ก เมื่อแบ่งแล้วลงชื่อภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินทั้งหมดย่อมถือว่าเป็นสินบริคณห์ ดังนี้เมื่อสามีทำสัญญาจะขายที่ดินที่จัดสรรดังกล่าวให้ผู้จะซื้อไปโดยภรรยาไม่ได้ลงชื่อในสัญญาจะซื้อขายด้วย ภรรยาก็ต้องถูกผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1473 วรรคต้น ประกอบด้วยมาตรา 1468 ทั้งได้ความด้วยว่าภรรยาเคยยินยอมให้สามีขายที่ดินที่จัดสรรทำนองนี้มาแล้วด้วยภรรยาจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวหาได้ไม่
of 20