พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8573/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีบังคับจดทะเบียนภาระจำยอมซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ศาลในคดีก่อนพิจารณาว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ได้ระบุอ้างบันทึกข้อตกลงในโฉนดที่ดินเป็นพยาน ทั้งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แม้ภายหลังจำเลย (โจทก์คดีนี้) จะส่งต้นฉบับต่อศาล แต่ก็เป็นเวลาหลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว โดยไม่มีพยานมาสืบประกอบ จึงรับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานโจทก์ (จำเลยคดีนี้) มีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานจำเลย (โจทก์คดีนี้) ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ (จำเลยคดีนี้) ตกลงจะจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่จำเลย (โจทก์คดีนี้) ก่อนให้ชำระหนี้ค่าที่ดิน พิพากษายกฟ้องแย้ง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาของประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันไปจดทะเบียนภาระจำยอม อ้างเหตุตามบันทึกข้อตกลงเดียวกัน มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาว่ากล่าวฟ้องร้องเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8080/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน แม้จัดสรรไม่ครบตามเกณฑ์ แต่หากมีเจตนาจัดทำสาธารณูปโภคตั้งแต่แรก ก็ยังคงมีภาระจำยอม
ว. สามีผู้ร้อง ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โครงการหมู่บ้านวิชิตนคร และโครงการหมู่บ้านวิชิตนคร 2 ขายให้แก่ประชาชน ว. จดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 78859 และ 586 ทั้งแปลงตกอยู่ในภาระจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถยนต์ผ่าน การจัดทำท่อระบายน้ำ ตั้งเสาไฟฟ้า ตลอดจนจัดทำสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้ทั้งแปลง ซึ่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่นถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้" การที่ผู้ร้องและ ว. ได้กันที่ดินดังกล่าวไว้สำหรับจัดทำเป็นสนามเด็กเล่นและสวนสาธารณะของโครงการหมู่บ้านวิชิตนคร 2 จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรโดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว หาใช่เป็นที่ดินที่ภาระจำยอมไม่ใช้และใช้ไม่ได้ดังที่ผู้ร้องอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มนับจากวันที่สามารถบังคับคดีได้จริง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จะเปิดทางภาระจำยอมภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ดังนี้ โจทก์ทั้งสี่จะขอบังคับคดีในส่วนนี้ได้หลังวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ไปแล้ว กำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ทั้งสี่อาจขอดำเนินการบังคับคดีได้ คือวันที่ 1 กันยายน 2533 เป็นต้นไป โจทก์ทั้งสี่ยื่นคำขอดำเนินการบังคับคดีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7696/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกีดขวางสิทธิการใช้ทาง
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยรวม 26 แปลง แล้วจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปโดยกันที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาท กว้าง 5 เมตร ยาว 80 เมตร เพื่อเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะของที่ดินแปลงย่อยทุกแปลงและเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรดังกล่าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยที่จัดสรรขายย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์ทางพิพาทได้ แม้โจทก์ที่ 1 มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทางอื่นไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและโจทก์ที่ 2 พักอาศัยอยู่ที่อื่นก็ตาม กรณียังไม่อาจถือได้ว่าทางพิพาทนั้นหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ การที่จำเลยก่อสร้างรั้วและประตูลงในทางพิพาทย่อมเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยก่อสร้างออกไปเสียจากทางพิพาทได้
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้บังคับรื้อถอนรั้วประตูและหลังคาตลอดจนสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่กีดขวางออกไปเสียจากทางภาระจำยอม แล้วทำทางภาระจำยอมให้กลับสู่สภาพเดิม แต่โจทก์ทั้งสอง มิได้เป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางภาระจำยอมดังกล่าว และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีเพียงว่า จำเลยได้ก่อสร้างรั้ว ประตู และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น และหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครอง ทางพิพาทดังกล่าวก็ยังคงเป็นภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสองเช่นเดิม คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้บังคับรื้อถอนรั้วประตูและหลังคาตลอดจนสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่กีดขวางออกไปเสียจากทางภาระจำยอม แล้วทำทางภาระจำยอมให้กลับสู่สภาพเดิม แต่โจทก์ทั้งสอง มิได้เป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางภาระจำยอมดังกล่าว และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีเพียงว่า จำเลยได้ก่อสร้างรั้ว ประตู และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น และหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครอง ทางพิพาทดังกล่าวก็ยังคงเป็นภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสองเช่นเดิม คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมภาระจำยอม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่การยินยอมภายหลังฟ้องคดีก็มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่โจทก์ โดยสัญญาว่าจะให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 14789 จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์ที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 แม้ในขณะทำสัญญาจะซื้อขาย จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ายินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือยินยอมให้จดทะเบียนภาระจำยอมในภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็คงมีผลผูกพัน จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่เคยให้แก่โจทก์ไว้ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514-3515/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, ภาระจำยอม, และสถานะผู้ครอบครอง
คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางร่วม (ทางพิพาท) โดยถือวิสาสะ ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค. และ พ. โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มี ค.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่4 หลัง รวมทั้งบ้านของ ค. บ้านของ ค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้าน ค.ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกัน หลังจากค.ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภาระจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมไม่สมบูรณ์หากมิได้จดทะเบียน และสิทธิจำเป็นต้องมีข้อจำกัด
แม้ ท.เจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยทางนิติกรรมก็ตาม แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การได้มาย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และคงใช้บังคับได้ในฐานะบุคคลสิทธิเฉพาะโจทก์กับ ท.ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น แต่ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ท.ยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้จำเลยถือว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอก ทั้งในเรื่องให้ หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้รับต้องรับหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ผู้ให้ไปด้วยอย่างกรณีทายาทรับมรดกไม่ ความยินยอมดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันให้จำเลยต้องจดทะเบียนภาระจำยอมหรือเปิดทางพิพาทแก่โจทก์
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
การที่กรมชลประทานให้ราษฎรรื้อสะพานข้ามคลองสาธารณะเมื่อมีการขุดลอกคลองเนื่องจากสะพานดังกล่าวกีดขวางการขุดลอกคลอง หาใช่กรมชลประทานห้ามราษฎรใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำไม่ คลองนั้นจึงยังเป็นทางสาธารณะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349, 1350 และการที่ราษฎรมิได้ใช้คลองนั้นเป็นทางสัญจรทางน้ำเนื่องจากไม่สะดวกเท่าการสัญจรทางบก ก็หาได้ทำให้คลองนั้นสิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่
ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม ทางจำเป็น ความถูกต้องของระยะทางในคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภาระจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1