พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอฟ้อง และความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร vs. พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี... หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในพระราชอาณาจักรไทย... หรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ ในการนำของเช่นว่านี้เข้ามา... โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ๆ ... ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินสิบปี หรือทั้งปรับทั้งจำ" เห็นได้ว่า กฎหมายมีวัตถุประสงค์จะลงโทษผู้ที่นำของที่ยังมิได้เสียภาษี เข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยมีเจตนาที่จะฉ้อค่าภาษีรัฐบาล และกฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำผิดดังกล่าวไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ต้องร่วมรับผิดด้วยเพราะเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง
ส่วนมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดมีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ " การกระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเกิดขึ้นหลังจากมีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดตามมาตรา 27 แล้ว โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวโดยการซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไป ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงกำหนดโทษจำคุกน้อยกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกัน ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งน้ำมันเตาที่มีแหล่งกำเนิดอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ลักลอบมิได้ผ่านศุลกากร และยังมิได้เสียภาษี โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามช่วยเหลือในการนำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 27 และโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งตรงกับคำบรรยายฟ้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นการพิพากษาจำเลยทั้งสามในความผิดที่โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
ส่วนมาตรา 27 ทวิ บัญญัติว่า "ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดมีความผิดต้องระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ " การกระทำความผิดตามมาตรานี้ จึงเกิดขึ้นหลังจากมีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อจำกัดตามมาตรา 27 แล้ว โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ช่วยเหลือผู้กระทำความผิดตามมาตรา 27 ดังกล่าวโดยการซ่อนเร้น จำหน่าย พาเอาไป ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จึงกำหนดโทษจำคุกน้อยกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกัน ซื้อ หรือรับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งน้ำมันเตาที่มีแหล่งกำเนิดอยู่นอกราชอาณาจักรไทย โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ลักลอบมิได้ผ่านศุลกากร และยังมิได้เสียภาษี โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามช่วยเหลือในการนำของดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 27 และโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งตรงกับคำบรรยายฟ้องแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 จึงเป็นการพิพากษาจำเลยทั้งสามในความผิดที่โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16066/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายน้ำมันดีเซลโดยไม่ได้รับอนุญาตในน่านน้ำภายในและเขตต่อเนื่อง, การมีไว้เพื่อขาย, และการลงโทษ
เรือ ช. บรรทุกน้ำมันที่ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับการนำไปจำหน่ายเฉพาะในบริเวณเขตต่อเนื่อง โดยประเทศไทยได้ประกาศใช้ความกว้างของทะเลอาณาเขตเป็นระยะ 12 ไมล์ทะเล และได้มีการประกาศเขตต่อเนื่อง ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้าง 24 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสองขณะที่เรือ ช. ถ่ายน้ำมันให้แก่เรือ ป.ไทยประดิษฐ์ ซึ่งในบริเวณดังกล่าวอยู่ภายใต้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำของประเทศไทยบริเวณที่สี่ จึงอยู่ในน่านน้ำภายใน เพราะทะเลที่เป็นส่วนต่อจากน่านน้ำภายในคือทะเลอาณาเขตที่มีความกว้าง 12 ไมล์ทะเล เมื่อสุดระยะของทะเลอาณาเขตจึงเป็นบริเวณของเขตต่อเนื่อง
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายเรือ มีอำนาจควบคุมเรือ ช. ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายน้ำมันดีเซลดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นรองต้นกลเรือ เป็นผู้ควบคุมเครื่องยนต์ ซึ่งขณะถ่ายน้ำมันลงเรือ ป.ไทยประดิษฐ์ต้องมีการเดินเครื่องยนต์ จึงถือว่าจำเลยทั้งสองขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นหรือได้รับคืนภาษีแล้วตามหมวด 7 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มาตรา 162 (2)
แม้เรือ ช. จะได้รับน้ำมันดีเซลโดยชอบ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่อง แต่จากพฤติการณ์แสดงว่าการมีน้ำมันจำนวนดังกล่าวมุ่งประสงค์ในการนำเข้ามาจำหน่ายโดยฝ่าฝืนประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 63) ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 การมีน้ำมันในเรือ ช. จึงเป็นการมีไว้เพื่อขายโดยไม่มีสิทธิ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงรองต้นกลเรือ มีหน้าที่เพียงควบคุมเครื่องยนต์เรือ และไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่ามีส่วนร่วมในการมีน้ำมันดีเซลไว้เพื่อขาย จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีน้ำมันดังกล่าวไว้เพื่อขายโดยไม่ชอบ
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายเรือ มีอำนาจควบคุมเรือ ช. ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขายน้ำมันดีเซลดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นรองต้นกลเรือ เป็นผู้ควบคุมเครื่องยนต์ ซึ่งขณะถ่ายน้ำมันลงเรือ ป.ไทยประดิษฐ์ต้องมีการเดินเครื่องยนต์ จึงถือว่าจำเลยทั้งสองขายสินค้าที่ได้รับยกเว้นหรือได้รับคืนภาษีแล้วตามหมวด 7 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต มาตรา 162 (2)
แม้เรือ ช. จะได้รับน้ำมันดีเซลโดยชอบ เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ชาวประมงในเขตต่อเนื่อง แต่จากพฤติการณ์แสดงว่าการมีน้ำมันจำนวนดังกล่าวมุ่งประสงค์ในการนำเข้ามาจำหน่ายโดยฝ่าฝืนประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 63) ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 การมีน้ำมันในเรือ ช. จึงเป็นการมีไว้เพื่อขายโดยไม่มีสิทธิ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงรองต้นกลเรือ มีหน้าที่เพียงควบคุมเครื่องยนต์เรือ และไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่ามีส่วนร่วมในการมีน้ำมันดีเซลไว้เพื่อขาย จึงยังไม่อาจรับฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีน้ำมันดังกล่าวไว้เพื่อขายโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11286/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อมแซมรถยนต์ที่เคยเสียภาษีสรรพสามิตแล้ว ไม่ถือเป็นการผลิตรถยนต์ใหม่ จึงไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติม
จำเลยดัดแปลงรถยนต์คันพิพาทที่เคยเสียภาษีสรรพสามิตมาแล้ว แต่ต่อมารถคันพิพาทประสบอุบัติเหตุจนเหลือแต่ซาก จำเลยจึงซ่อมแซมด้วยการตัดต่อคัสซี่ ตัดต่อห้องโดยสารด้านหลัง เปลี่ยนเครื่องยนต์และระบบรองรับน้ำหนักด้านหลัง เป็นการซ่อมส่วนที่เสียหายให้กลับสู่สภาพเดิม มิใช่ทำสิ่งที่ไม่มีหรือไม่เคยมีให้เกิดขึ้น จึงมิใช่เป็นการผลิตสินค้าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
UPS ไม่เป็นแบตเตอรี่ ภาษีสรรพสามิตถูกต้อง ศาลสั่งคืนดอกเบี้ย
เครื่องเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่หรือ UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ ส่วนแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ เครื่อง UPS ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4)
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแก่โจทก์ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืน ตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี
จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องคืนเงินภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแก่โจทก์ เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืน ตาม พ.ร.บ.สรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
UPS ไม่ใช่แบตเตอรี่: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทย
เครื่อง UPS หน้าที่หลักในการแปลงกระแสไฟฟ้ามาสำรองไว้ แล้วนำไปใช้เฉพาะกรณีมีเหตุขัดข้องในการจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเป็นการชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อมิให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องหยุดทำงานกะทันหันจนเกิดความเสียหายเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าตามปกติดังเช่นแบตเตอรี่ จึงไม่อาจถือว่าเครื่อง UPS เป็นแบตเตอรี่ นอกจากนี้ส่วนประกอบของแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง UPS ก็ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ไม่อาจแยกการทำงานออกจากส่วนประกอบอื่นของเครื่อง UPS ได้ ดังนั้น เครื่อง USP จึงไม่อยู่ในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 08.90 (4) จึงเก็บภาษีสรรพสามิตตามการประเมินในรายการของเครื่อง UPS ไม่ได้
กรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ
กรณีที่โจทก์ชำระภาษีตามคำสั่งของพนักงานหน้าที่ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินที่ได้รับ โดยไม่คิดทบต้นและมิให้เกินกว่าจำนวนเงินที่ได้รับคืนตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 110 ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิตฯ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสั่งให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษี แต่เมื่อโจทก์ขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้เพียงเท่าที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และเบี้ยปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยแล้วว่า ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตแก่จำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น นอกจากจำเลยจะต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเงินเพิ่มรวมทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว จำเลยยังต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามการประเมินด้วย แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีเพื่อมหาดไทยตามการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยตาม พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพาสามิต พ.ศ.2527 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.เพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2527 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต เสียภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าหรือบริการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 10 ของภาษี และมาตรา 139 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินภาษี การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยในกรณีนี้จึงต้องคำนวณในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตรวมกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่จำเลยต้องชำระ มิใช่คำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยจากภาษีสรรพสามิตแล้วเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีเพื่อมหาดไทยจากต้นเงินภาษีเพื่อมหาดไทยที่คำนวณได้ดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 และ 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงรถยนต์เก่าถือเป็นการผลิตรถยนต์ใหม่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิต
การที่จำเลยนำซากรถยนต์ไปแปรรูปและประกอบขึ้นใหม่เป็นรถยนต์ที่มีสภาพลักษณะการใช้งานแตกต่างจากสภาพเดิม เปลี่ยนรุ่น และเปลี่ยนลักษณะของตัวรถจึงอยู่ในความหมายของการผลิตในโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งหากการผลิตสำเร็จและนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้าเมื่อได้ความว่าขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ของกลาง รถยนต์มีสภาพโครงสร้างภายนอกสมบูรณ์สามารถขับแล่นไปได้ และมีการนำรถยนต์ออกมาบนถนนหลวง จอดปะปนกับรถยนต์อื่นๆ อันเป็นสภาพการใช้งานรถยนต์ตามปกติ จึงถือว่าการผลิตสำเร็จและมีการนำรถยนต์ออกจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ความรับผิดและภาระในการเสียภาษีสรรพสามิตจึงเกิดขึ้น เมื่อจำเลยมิได้ชำระภาษีสรรพสามิต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด
ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกินกำหนด 1 ปี หรือไม่มีกำหนดเท่าใด เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปีไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกินกำหนด 1 ปี หรือไม่มีกำหนดเท่าใด เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปีไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตน้ำผลไม้: การเปลี่ยนแปลงขนาดบรรจุภัณฑ์และการยกเว้นภาษีตามประกาศกรมสรรพสามิต
พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เครื่องดื่ม" ไว้ว่า "สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปนและไม่มีแอลกอฮอล์ โดยจะมีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วยหรือไม่ก็ตามอันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ เช่น น้ำแร่ น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำพืชผักและน้ำโซดา เป็นต้น..." ถ้อยคำที่ว่า สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน แสดงว่าสิ่งที่จะเป็นเครื่องดื่มจะต้องเป็นสิ่งซึ่งตามสภาพสามารถใช้ดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องเจือปนกับสิ่งอื่น น้ำหวานเข้มข้นโดยทั่วไปจะไม่ใช้ดื่มในสภาพที่ยังเป็นน้ำหวานเข้มข้นอยู่ แต่จะต้องนำไปผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน จึงไม่ถือเป็นเครื่องดื่ม
น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน ส่วนการเติมน้ำแข็งเป็นแต่เพียงการทำให้มีความเย็นเท่านั้น จึงเป็นสิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน และการที่น้ำผลไม้ดังกล่าวบรรจุในขวดมีฝาปิดจึงเป็นสิ่งที่บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ตามนิยามของคำว่า เครื่องดื่ม ฉะนั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นเครื่องดื่มตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527
น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน ส่วนการเติมน้ำแข็งเป็นแต่เพียงการทำให้มีความเย็นเท่านั้น จึงเป็นสิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน และการที่น้ำผลไม้ดังกล่าวบรรจุในขวดมีฝาปิดจึงเป็นสิ่งที่บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ตามนิยามของคำว่า เครื่องดื่ม ฉะนั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นเครื่องดื่มตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุได้รับการยกเว้นภาษีตามประกาศ
น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายสามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผสมกับน้ำให้เจือจางลงก่อน ส่วนการเติมน้ำแข็งเป็นแต่เพียงการทำให้มีความเย็นเท่านั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นสิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้โดยไม่ต้องเจือปน และการที่น้ำผลไม้ดังกล่าวบรรจุในขวดมีฝาปิดจึงเป็นสิ่งที่บรรจุในภาชนะและผนึกไว้ตามนิยามของคำว่าเครื่องดื่มดังกล่าว ฉะนั้น น้ำผลไม้ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายจึงเป็นเครื่องดื่มตาม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมและหลักเกณฑ์การหาปริมาณอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่การเพิ่มชนิดขนาดภาชนะบรรจุจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อนจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุเครื่องดื่มน้ำผลไม้ของโจทก์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงถือว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามข้อ 4 วรรคสามของประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม เมื่อประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ ข้อ 8 ระบุว่า ผู้ใดได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตอยู่ก่อนวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 103 ต่อไป โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตต่อไป ไม่ว่าโจทก์จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุให้กรมสรรพสามิตทราบหรือไม่ก็ตาม
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดส่วนผสมและหลักเกณฑ์การหาปริมาณอัตราส่วนผสมของเครื่องดื่มน้ำผลไม้และน้ำพืชผักที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้นำเข้ามีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 เมษายน 2544 ที่การเพิ่มชนิดขนาดภาชนะบรรจุจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพสามิตก่อนจึงจะได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิต ประกาศกรมสรรพสามิต ฉบับใหม่นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุเครื่องดื่มน้ำผลไม้ของโจทก์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 29 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่จึงถือว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามข้อ 4 วรรคสามของประกาศกรมสรรพสามิตฉบับเดิม เมื่อประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ ข้อ 8 ระบุว่า ผู้ใดได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตอยู่ก่อนวันที่ 30 เมษายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกรมสรรพสามิตฉบับใหม่ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีสรรพสามิตตามประกาศกระทรวงการคลังตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 103 ต่อไป โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตต่อไป ไม่ว่าโจทก์จะได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงขนาดภาชนะบรรจุให้กรมสรรพสามิตทราบหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีสรรพสามิตโดยมิชอบ ผู้รับคืนต้องชำระคืนพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งการที่จำเลยได้รับคืนเงินค่าภาษีสรรพสามิตและภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยไปจากโจทก์ก็เนื่องจากจำเลยอ้างว่าได้นำน้ำมันที่ชำระค่าภาษีอากรแล้วเติมให้แก่เรือที่มีขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์และพนักงานศุลกากรได้ปล่อยเรือดังกล่าวให้ไปต่างประเทศแล้ว จำเลยจึงใช้สิทธิขอรับภาษีที่ชำระแล้วคืนตามมาตรา 102 (4) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยได้รับคืนเงินค่าภาษีไปโดยมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 โดยอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งได้แก่วันที่จำเลยได้รับหักคืนภาษีไปโจทก์ได้อนุมัติให้คืนเงินภาษีและจำเลยนำไปหักคืนภาษีแล้วในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2535 เรื่องมาจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2538 อันเป็นครั้งสุดท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 18 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 137 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เมื่อจำเลยรับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้วจึงเป็นการไม่ชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วนจึงต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่าภาษีซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 137 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดจากจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เมื่อจำเลยรับคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้วจึงเป็นการไม่ชำระภาษีหรือชำระภาษีไม่ครบถ้วนจึงต้องเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย