พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยมิชอบ และสิทธิลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า
การไม่ให้ลูกจ้างทำงานโดยลูกจ้างไม่ได้ทำผิด ถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน 16 เมษายน 2515 ข้อ 45 ฉบับที่ 6 31 กรกฎาคม 2521 มีผลตั้งแต่วันเลิกจ้าง จะนำ ประมวลกฎหมาายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 มาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการสมุห์บัญชีมีอำนาจตรวจสอบภาษีอากร แม้ไม่รายงานอนุมัติก่อน ย่อมใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเมื่อเรียกเงินจากผู้ไม่มีบัญชี
จำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 2 คำว่า "อำเภอ" หมายความว่านายอำเภอหรือสมุห์บัญชีอำเภอและหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนจำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีอำเภอมีอำนาจทำการตรวจสอบภาษีอากรโดยให้รายงานขออนุมัติสรรพากรจังหวัดก่อนทำการตรวจสอบฉะนั้นจำเลยจึงมีอำนาจในการตรวจสอบภาษีอากรโดยอาศัยคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากรประกอบกับประมวลรัษฎากร การรายงานขออนุมัติเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายใน การที่จำเลยไม่รายงานขออนุมัติหาใช่ว่าจำเลยจะไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีอากรไม่ การที่จำเลยไปเรียกตรวจสอบบัญชีภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้จัดทำบัญชีไว้ จำเลยก็ขู่เข็ญข่มขืนใจเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2464/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องนอกเหนือจากข้อหาเดิม เป็นการกระทำที่มิชอบ ศาลรับฟังลงโทษไม่ได้
เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์แซงขึ้นหน้ารถคันอื่นตรงบริเวณทางแยก ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากฟ้อง จะรับฟังลงโทษจำเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และมาตรา 192วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีถูกพักราชการแล้ว ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยรับราชการเป็นตำรวจ แต่ในขณะที่แสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานทำการจับกุมผู้เสียหาย แล้วไม่นำส่งสถานีตำรวจ กลับพาไปข่มขืนกระทำชำเราและปล่อยตัวไปนั้น จำเลยถูกสั่งพักราชการแล้ว แม้จะยังมิได้มีคำสั่งปลดหรือให้จำเลยออกจากราชการ จำเลยก็ถูกสั่งมิให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามตำแหน่งหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะตั้งแต่แรก: การติดตามทรัพย์สินจากนิติกรรมโมฆียะและการโอนสิทธิที่มิชอบ
ส.ภริยาโจทก์ได้ขายที่พิพาทให้แก่ก.กับพวกไปโดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม โจทก์ฟ้อง ส.และก.กับพวกเป็นคดีแรกขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเสีย ปรากฏว่า ก. กับพวกขายที่พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วโจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นว่า นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่าง ส. กับ ก. และพวก เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย และเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่าง ก. กับพวก กับจำเลยที่ 1 เสียด้วย ศาลฎีกาพิพากษายืน ขณะที่คดีแรกอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ได้ขายฝากที่พิพาทแก่จำเลยที่ 2 และที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ให้ทำลายนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองเสียดังนี้ การที่โจทก์ฟ้อง ส. กับพวก ขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นโมฆียะในคดีแรกนั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมแล้ว เมื่อในที่สุดศาลพิพากษาว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคแรกการที่ ก.กับพวก โอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 1 ก็ดี หรือจำเลยที่ 1ขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก็ดี เป็นอันใช้ยันโจทก์ไม่ได้ เพราะการขายต่อ ๆ มา จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจที่จะโอนขายได้ เข้าหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีอำนาจดีกว่าผู้โอน เพราะนิติกรรมอันเดิมเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกเสียแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิตามเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1336 ได้ กรณีเช่นนี้ จะนำมาตรา 1299 และ 1300 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่ ส่วนมาตรา 1329 นั้น ต้องได้ความว่า ได้ทรัพย์สินมาในระหว่างที่ยังไม่มีการบอกล้างโมฆียะกรรม ถ้าได้มาภายหลังล้างโมฆียะกรรมแล้ว ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ผู้รับรองหลักทรัพย์ก่อนบังคับคดีนายประกันเสร็จสิ้น มิชอบ
ค.ทำสัญญาประกันตัวจำเลยต่อศาลโดยว. รับรองหลักทรัพย์ของ ค.ว่าถ้าค. ไม่สามารถชำระค่าปรับได้ครบถ้วน ขาดอยู่เท่าใด ว. ยินยอมใช้ให้จนครบ ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่ได้เงินที่จะนำมาชำระค่าปรับเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด ก็ยังไม่มีทางรู้ได้ว่ายังขาดแน่นอนเท่าใดเมื่อ ค. ผิดสัญญาประกัน ถูกยึดทรัพย์และขายทอดตลาดทรัพย์ไปบางส่วนแล้วได้เงินน้อยกว่าค่าปรับมากแม้จะคาดหมายได้จากทรัพย์ที่ถูกยึดมาว่าเมื่อนำออกขายทอดตลาดจะได้เงินไม่เพียงพอชำระค่าปรับ ก็เป็นเพียงคาดคะเนเท่านั้น เมื่อการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของนายประกันยังไม่เสร็จ ศาลก็จะสั่งให้ยึดทรัพย์และอายัดสิทธิเรียกร้องของ ว. ผู้รับรองหลักทรัพย์ไว้ชั่วคราวก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการกระทำโดยมิชอบของเจ้าพนักงาน: อำนาจจับกุม ความจำเป็น และขอบเขตการใช้กำลัง
การบรรยายฟ้องเกี่ยวแก่การกระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) หาได้บัญญัติว่าต้องใช้ถ้อยคำของกฎหมายไม่ โจทก์จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2) การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้ และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และ มาตรา 295 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยมีจิตคิดร้ายเจตนากลั่นแกล้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันจับมือขา กระชากและเตะโจทก์ ใส่กุญแจมือโจทก์ไพล่หลังจนโจทก์มีบาดแผลและทั้งควบคุมโจทก์ไว้ 2 คืน โจทก์ได้รับความเสียหาย" ข้อความดังกล่าวเข้าใจได้ดีแล้วว่า พฤติการณ์ที่จำเลยกระทำต่อโจทก์นั้น เป็นการที่จำเลยได้ข่มขืนใจให้โจทก์ต้องจำยอมต่อการกระทำของจำเลย โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพของโจทก์ และการที่จำเลยจับมือ ขา กระชากและเตะโจทก์จนมีบาดแผล ถือได้ว่าเป็นการประทุษร้ายให้เกิดอันตรายแก่กายเพราะการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นผิด จึงเป็น ฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 มิได้ยกเลิกไปเสียทีเดียวเพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 13 และยังคงเป็นบทบังคับอยู่เช่นเดิม แม้ฟ้องโจทก์อ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิมไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษก็ใช้ได้ ถือว่าเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองศาลย่อมมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 157 ที่แก้ไขได้
โจทก์ได้กระทำผิดซึ่งหน้า แต่ความผิดที่โจทก์กระทำเป็นแต่เพียงความผิดฐานลหุโทษ ฐานฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เก็บค่าดูจากประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทุกคนรู้จักหลักแหล่งของโจทก์แล้ว จึงไม่เป็นเหตุให้ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2) การที่จำเลยทั้งหมดผู้เป็นเจ้าพนักงานไปทำการจับกุมโจทก์ในที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมาย จึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ตามกฎหมาย โจทก์มีสิทธิป้องกันการจับกุมได้ และการที่จำเลยทั้งหมดควบคุมโจทก์จากโรงภาพยนตร์ไปสถานีตำรวจ ถือได้ว่าเป็นการหน่วงเหนี่ยวโจทก์ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การยึดทรัพย์โดยมิชอบ แม้มีการขัดทรัพย์ ก็ไม่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดทรัพย์ของโจทก์โดยอ้างว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์เพราะโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น และฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ดังนี้ โจทก์จะต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปีนับแต่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์จะได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์และเจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ การยื่นคำร้องขัดทรัพย์นั้นก็ไม่เป็นเหตุให้อายุความในเรื่องละเมิดสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีที่มิชอบ แม้ไม่มีข้ออุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณายกคำพิพากษาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1, 2 และ 4 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในฐานที่จำเลยที่ 1 และ 2 เป็นนายจ้างของผู้ขับรถโดยประมาทและจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาคดีโดยจำเลยที่ 1 ไม่ทราบวันนัดสืบพยานและวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ พิพากษาให้เพิกถอนเสียแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกปัญหาข้อนี้อุทธรณ์ขึ้นมาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องเป็นหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยตรงเท่านั้น
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยมิชอบ. หรือโดยทุจริตอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น.จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น. ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้ว. ก็ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้.