พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายกเหล่ากาชาดต่อความเสียหายจากเหรัญญิกยักยอกเงิน เนื่องจากการประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
เหรัญญิกเหล่ากาชาดจังหวัดยักยอกเงิน ศาลพิพากษาลงโทษนายกเหล่ากาชาดไม่ควบคุมให้ลงบัญชีรับจ่ายเงินโดยถูกต้องตามระเบียบและเปิดบัญชีฝากเงินสั่งจ่ายเอง ผิดระเบียบที่ต้องลงชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับผู้อื่น ไม่มีหลักฐานการใช้เงินที่สั่งจ่ายในกิจการของเหล่ากาชาด เงินขาดบัญชีไปเป็นจำนวนมาก เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับเหรัญญิกที่ยักยอกเงินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการธนาคารต่อการยักยอกเงินของพนักงาน: ละเมิด ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารออมสินสาขา ขออนุมัติให้พนักงานบัญชีใต้บังคับบัญชาลงรายการในแบบบัญชีรับจ่ายแทนโดยขอรับผิดชอบโดยไม่มีข้อโต้แย้งเมื่อมีการทุจริตผิดพลาด เจ้าหน้าที่ของธนาคารโจทก์อนุมัติ ดังนี้เป็นการปฏิบัติภายในวงงาน ไม่ใช่มุ่งผูกนิติสัมพันธ์ก่อสิทธิ ไม่เป็นสัญญาค้ำประกัน การที่พนักงานบัญชียักยอกเงินไป จำเลยรับผิดในฐานละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินของหน่วยงาน การชำระคืนไม่ทำให้พ้นผิดทางอาญา
จำเลยเป็นพนักงานเสมียนการไฟฟ้าและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการร้านค้าการไฟฟ้าของโจทก์ร่วม ได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไป การที่จำเลยนำเงินที่ยักยอกไปมาชำระให้แก่โจทก์ร่วมในภายหลังนั้น เพียงแต่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดทางแพ่งเท่านั้น ไม่ทำให้พ้นความรับผิดทางอาญา โจทก์ร่วมย้งคงเป็นผู้เสียหายในความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานยักยอกเงินและสนับสนุนการกระทำผิด กรณีเบิกจ่ายเงินเท็จจาก ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ. สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่น จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ มาตรา 4 ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐยักยอกเงินและปลอมเอกสารสิทธิ การปรับบทความผิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยเป็นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นองค์การของรัฐ ใช้อำนาจในหน้าที่เบียดบังยักยอกเอาเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยรับไว้โดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 เพียงมาตราเดียวไม่ผิดตามมาตรา 8 ด้วย เพราะเป็นการเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ไว้เป็นประโยชน์ มิใช่อาศัยหน้าที่หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเบียดบังเอาทรัพย์ และกรณีดังกล่าวไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้น เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิแต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้น เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิแต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐยักยอกเงินและการปลอมเอกสารสิทธิ: การปรับบทความผิดให้ถูกต้อง
จำเลยเป็นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นองค์การของรัฐ ใช้อำนาจในหน้าที่เบียดบังยักยอกเอาเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยรับไว้โดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ไม่ผิดตามมาตรา 8ด้วย เพราะเป็นการเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ไว้เป็นประโยชน์ มิใช่อาศัยหน้าที่หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเบียดบังเอาทรัพย์ และกรณีดังกล่าวไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่: การกำหนดความรับผิดของเจ้าพนักงานและลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยาจำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงินจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกันจำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยาจำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงินจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542-1543/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การกำหนดความรับผิดชอบในการเก็บรักษาเงิน และความผิดของลูกจ้าง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นสำนวนเดียวกัน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสำนวนใหม่ ต่อมาคู่ความฎีกาทั้งสองสำนวน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคดีทั้งสองสำนวนนี้เกี่ยวพันกัน ย่อมให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันได้เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน
จำเลยที่ 1 รับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวันทำงานอยู่ที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาลเดียวกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คิดราคายา และเขียนราคายาลงในใบสั่งยา จำหน่ายยาให้คนไข้ เมื่อเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่มอบใบเสร็จรับเงินและยาให้แก่คนไข้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกใบเสร็จรับเงินและสำเนาให้ตรงตามใบสั่งยา เมื่อรับเงินค่าจำหน่ายยาแล้ว จำเลยที่ 2 มีหน้าที่เก็บรักษาไว้เพื่อส่งให้แก่เจ้าหน้าที่การเงิน เวลาจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ถ้าจำเลยที่ 1 ช่วยเขียนใบเสร็จรับเงินก็ต้องมอบเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสำเนาใบเสร็จรับเงินโดยลงจำนวนเงินราคายาน้อยกว่าราคาที่จำหน่ายไปจริง แล้วร่วมกันยักยอกเอาเงินที่เกินกว่าจำนวนในสำเนาใบเสร็จ ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น เพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะรับสารภาพตามฟ้องว่ากระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังเงินซึ่งมีหน้าที่รักษาไว้ แต่เมื่อรวมการพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีหน้าที่รักษาเงิน จำเลยที่ 2จึงมีความผิดตามมาตรา 352 เท่านั้นเหมือนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบของฟ้องอาญา ยักยอกเงิน - ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดประเภทเงินรายได้ หากฟ้องระบุจำนวนเงินที่ยักยอกชัดเจน
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่ รับจ่าย ทำบัญชีตลอดทั้งควบคุมเก็บรักษาเงินและมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องนำยอดเงินสดคงเหลือประจำวันส่วนที่เกินกว่า 3,000 บาท เข้าฝากธนาคารระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2505 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้รับเงินรายได้ 10 ประเภทและจ่ายไปคงเหลืออยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย 109,502.68 บาท จำเลยไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวนี้เข้าบัญชีธนาคารกลับเบียดบังยักยอกเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัวเสียปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5ขอให้ลงโทษ ฯลฯ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 ซึ่งเป็นบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้รับและจ่ายไปคงเหลือแต่ละเดือนประจำเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505 ถึงเดือนธันวาคม 2507เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงจำนวนเงินรายได้ของโจทก์ร่วมที่จำเลยรับไว้และยักยอกไปพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดเงินรายได้ประเภทไหนเท่าใดอีกจึงเป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานยักยอกเงินขององค์การตลาด แม้เป็นเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยก็ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค่าเช่าแผงลอย ค่าโอนแผงลอยค่าต่อสัญญาเช่าต่าง ๆ เป็นรายเดือนจากบุคคลหลายราย ในหลายท้องที่ และเรียกเก็บอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ในระหว่างนั้นก็ได้ยักยอกเอาเงินที่เรียกเก็บมาได้นั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียในระหว่างวันเวลา สถานที่ดังกล่าวในฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงลักษณะวิธีการพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลย และกล่าวความเกี่ยวกับวันเวลาสถานที่ที่หาว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควร ที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่ใช่คำฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาด ให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไป จึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการเงินขององค์การตลาด ให้เป็นไปตามหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยยักยอกเอาเงินขององค์การตลาดไป จึงเป็นความผิดในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4