คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระงับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์การเพิกถอนการขายทอดตลาด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดไปแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ระงับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไว้ก่อน ดังนี้ ถ้ามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวกับบุคคลภายนอกต่อไป หากต่อมาศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ให้ทำการขายทอดตลาดใหม่และปรากฏว่ามีผู้ซื้อคนใหม่ซื้อทรัพย์ดังกล่าวได้ก็จะเกิดการยุ่งยากระหว่างผู้ทำนิติกรรมกับผู้ซื้อเดิมและผู้ซื้อใหม่ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยให้ระงับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้แก่ผู้ซื้อเป็นการชั่วคราว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4956/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องอาญาซ้ำ: คดีอาญาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
โจทก์ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยกับพวกในข้อหาทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่าและปล้นทรัพย์ แต่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหาพยายามฆ่าและปล้นทรัพย์ คงสั่งฟ้องเฉพาะข้อหาทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 295 และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องจำเลยในมูลกรณีเดียวกันเป็นคดีนี้ แม้ว่าโจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนสั้นและอาวุธปืนยาวทุบตีทำร้ายร่างกายโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส แล้วร่วมกันปล้นเอาทรัพย์ของโจทก์ไปหลายอย่าง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้อาวุธปืนสั้นยิงพยายามฆ่าโจทก์โดยกระทำการต่อเนื่องกันเป็นลำดับก็ตามแต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุชัดเจนว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และอ้าง ป.อ. มาตรา 90 มาในคำขอท้ายฟ้อง โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและอ้างมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องไม่ ดังนี้เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงกรรมเดียวและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการระงับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน น. ในหนี้รายเดียวกัน จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทน น. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 (3) และ 296 และยังมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคแรกอีกด้วย เมื่อปรากฏต่อมาว่าโจทก์ตกลงกับ น. ทำหนังสือสัญญากู้เงินมีข้อความว่าน. เป็นลูกหนี้กู้เงินโจทก์ ถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยแก่ น. นั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงิน กรณีดังกล่าวความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะลูกหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมระงับ
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้รายเดียวกันของ น. จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อโจทก์ชำระหนี้แทน น. ลูกหนี้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อชำระหนี้ทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคแรก เมื่อต่อมาโจทก์กับ น. ตกลงทำสัญญากู้เงินไว้ว่า น. เดิมหนี้เงินกู้โจทก์ถือว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยนั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงินความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดตามสัญญา แต่ข้อตกลงในสัญญาอาจเป็นเบี้ยปรับได้
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาใช้บังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตามป.พ.พ. มาตรา 567 ผู้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อต่อไปส่วนข้อกำหนดตามสัญญาที่ระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย หรือสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบนั้นพอแปลได้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามจำนวนดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจที่กำหนดให้ตามที่เห็นสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: สัญญาประนีประนอมยอมความทำให้หนี้สิ้นผลผูกพัน สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ถึงกำหนดสั่งจ่ายแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายจำเลยที่ 1 จึงออกเช็คพิพาทไปแลกเอาเช็คฉบับก่อนคืนเป็นการออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั่นเอง แม้โจทก์จะมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 1 ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อสินค้าของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องออกเช็คลงวันที่ล่วงหน้าสั่งจ่ายเงินตามราคาสินค้ามอบให้โจทก์ไว้เพื่อนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากเรียกเก็บเงินได้ถือว่าเป็นการชำระค่าสินค้า หากเรียกเก็บเงินไม่ได้โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 ออกเช็คใหม่ไปแลกเอาเช็คเก่าคืนโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วยก็ตามเมื่อลักษณะข้อตกลงของจำเลยที่ 1และโจทก์ต่างมีเจตนาที่จะให้ใช้เช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยที่ 1 ได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ในเช็คและยินยอมให้โจทก์นำเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากเรียกเก็บเงินได้ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ หากเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์จะยอมผ่อนผันให้จำเลยที่ 1 ออกเช็คใหม่มาแลกเช็คเก่าคืนก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 1และโจทก์เจตนาผูกพันกันตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินหมวดที่ว่าด้วยเช็คนั่นเอง หาได้มีเจตนาพิเศษที่จะมิให้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารขาดเจตนาที่จะกระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไม่ โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งให้ชำระหนี้โดยรวมมูลหนี้ของเช็คพิพาทเข้าด้วย จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ศาลแพ่งได้พิพากษาตามยอม ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 บัญญัติไว้ ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันได้สิ้นผลผูกพันไป ก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิดบัญญัติเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้นสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คก่อนมีคำพิพากษา ทำให้คดีอาญาตาม พ.ร.บ.เช็ค ระงับ
ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยได้วางเงินจำนวน 400,000 บาท ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางเพื่อชำระหนี้ตามมูลหนี้ในเช็คพิพาทซึ่งโจทก์ร่วมก็ยอมรับโดยไม่คัดค้าน ถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดและเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ.มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800-1803/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียนเกิน 3 ปี สิทธิบังคับได้จำกัด สัญญาเช่าระงับเมื่อบอกเลิก
สัญญาเช่าที่พิพาทมีกำหนดระยะเวลาการเช่า 30 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมฟ้องร้องบังคับได้เพียง3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 และแม้ในสัญญาเช่าข้อที่ 3 ระบุไว้ว่า"เมื่อได้ชำระค่าเช่าครบแล้วเจ้าของที่จะจัดให้จดทะเบียนสัญญาเช่าและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการจดทะเบียนการเช่าว่านี้ให้ผู้เช่าจ่าย"ก็ตามก็ไม่มีสิทธิบังคับผู้ให้เช่าให้ไปจดทะเบียนได้ ฉะนั้นการที่โจทก์ทั้งสี่ไม่จดทะเบียนการเช่าให้จำเลยร่วม จะถือว่าโจทก์ทั้งสี่ผิดสัญญาหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ทั้งสี่บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งถือว่าเป็นการเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาเนื่องจาก โจทก์ทั้งสี่ไม่ทักท้วงในการที่จำเลยร่วมอยู่ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดลงตามมาตรา 566 และ 570 แล้ว สัญญาเช่าดังกล่าวย่อมระงับไปโจทก์ทั้งสี่จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยร่วมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญา: ผลกระทบต่อสิทธิฟ้องของโจทก์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้แทนบริษัทโจทก์ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ ป.ผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องคดีอาญาหรือแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ เมื่อป.ได้แจ้งความร้องทุกขฺ์แล้วต่อมาได้ถอนคำร้องทุกข์ไม่ว่า ป.จะดำเนินการในฐานะกระทำการแทนโจทก์หรือในฐานะผู้ถือหุ้นก็ตาม สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขอระงับการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการบังคับคดี
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร ขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระตัดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้
of 20