พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุตรโดยผู้แทนตามกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาระงับข้อพิพาทที่ทำโดยผู้แทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ และการพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลมีอำนาจที่จะแยกการพิจารณาคดีอาญาออกจากคดีแพ่ง และพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 42 วรรค 2 ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องคดีส่วนอาญาไป จึงหาทำให้คดีส่วนแพ่งระงับไปด้วยไม่
โจทก์จำเลยได้ตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาลงว่าจำเลยขอชำระเงินตามฟ้องให้โจทก์เพียง 170,000 บาท โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือนโจทก์ตกลงด้วย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยโจทก์จำเลยยอมผ่อนผันให้แก่กัน ศาลชั้นต้นได้จดข้อความแห่งข้อตกลงของคู่ความดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและคู่ความได้ลงชื่อไว้แล้ว ข้อตกลงนั้นจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 851แล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนี้หาจำเป็นที่ศาลจะต้องบันทึกลงไว้ในแบบพิมพ์สัญญายอมความเสมอไปไม่ ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี ไม่มีข้อเท็จจริงอื่นที่ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้ว ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาคดีไปได้
โจทก์จำเลยได้ตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาลงว่าจำเลยขอชำระเงินตามฟ้องให้โจทก์เพียง 170,000 บาท โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือนโจทก์ตกลงด้วย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยโจทก์จำเลยยอมผ่อนผันให้แก่กัน ศาลชั้นต้นได้จดข้อความแห่งข้อตกลงของคู่ความดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและคู่ความได้ลงชื่อไว้แล้ว ข้อตกลงนั้นจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 851แล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนี้หาจำเป็นที่ศาลจะต้องบันทึกลงไว้ในแบบพิมพ์สัญญายอมความเสมอไปไม่ ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี ไม่มีข้อเท็จจริงอื่นที่ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้ว ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาทด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความและการพิจารณาคดีแพ่งควบคู่คดีอาญา
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลมีอำนาจที่จะแยกการพิจารณาคดีอาญาออกจากคดีแพ่ง และพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว. ส่วนคดีแพ่งจะพิพากษาในภายหลังก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 42 วรรคสอง. ฉะนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องคดีส่วนอาญาไป จึงหาทำให้คดีส่วนแพ่งระงับไปด้วยไม่.
โจทก์จำเลยได้ตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาลงว่าจำเลยขอชำระเงินตามฟ้องให้โจทก์เพียง 170,000 บาท. โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือนโจทก์ตกลงด้วย. ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยโจทก์จำเลยยอมผ่อนผันให้แก่กัน. ศาลชั้นต้นได้จดข้อความแห่งข้อตกลงของคู่ความดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและคู่ความได้ลงชื่อไว้แล้ว. ข้อตกลงนั้นจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 851แล้ว. สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนี้หาจำเป็นที่ศาลจะต้องบันทึกลงไว้ในแบบพิมพ์สัญญายอมความเสมอไปไม่. ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี. ไม่มีข้อเท็จจริงอื่นที่ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้ว. ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาคดีไปได้.
โจทก์จำเลยได้ตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาลงว่าจำเลยขอชำระเงินตามฟ้องให้โจทก์เพียง 170,000 บาท. โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 6 เดือนโจทก์ตกลงด้วย. ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยโจทก์จำเลยยอมผ่อนผันให้แก่กัน. ศาลชั้นต้นได้จดข้อความแห่งข้อตกลงของคู่ความดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและคู่ความได้ลงชื่อไว้แล้ว. ข้อตกลงนั้นจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 851แล้ว. สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวนี้หาจำเป็นที่ศาลจะต้องบันทึกลงไว้ในแบบพิมพ์สัญญายอมความเสมอไปไม่. ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่าคู่ความได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี. ไม่มีข้อเท็จจริงอื่นที่ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้ว. ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาคดีไปได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029-1030/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีมรดกของอิสลาม: การมีส่วนร่วมของดะโต๊ะยุติธรรม และการระงับข้อพิพาท
ข้อที่โจทก์ฟ้องว่าได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดเมื่อศาลมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความมิได้โต้แย้งย่อมเป็นอันระงับไม่มีข้อพิพาท.
คดีแพ่งระหว่างอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดนราธิวาส. ใช้กฎหมายอิสลามบังคับเฉพาะแต่กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นซึ่งต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา และดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วยนั้น. หมายถึงเฉพาะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
คดีมีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและไม่เกี่ยวปะปนกัน. เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษามาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วม. ย่อมไม่ชอบเฉพาะแต่ข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกเท่านั้น. ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น. ซึ่งมิใช่ข้อกฎหมายอิสลาม. เพราะกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นข้ออื่นหาเสื่อมเสียไม่. ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วคดียังไม่ยุติ. ยังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอิสลามต่อไป. จึงจำเป็นที่การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าวต้องดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ.
เมื่อศาลอุทธรณ์ด่วนยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก. ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามแนวข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา.
คดีแพ่งระหว่างอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดนราธิวาส. ใช้กฎหมายอิสลามบังคับเฉพาะแต่กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นซึ่งต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา และดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วยนั้น. หมายถึงเฉพาะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม.
คดีมีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและไม่เกี่ยวปะปนกัน. เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษามาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วม. ย่อมไม่ชอบเฉพาะแต่ข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกเท่านั้น. ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น. ซึ่งมิใช่ข้อกฎหมายอิสลาม. เพราะกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นข้ออื่นหาเสื่อมเสียไม่. ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วคดียังไม่ยุติ. ยังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอิสลามต่อไป. จึงจำเป็นที่การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าวต้องดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ.
เมื่อศาลอุทธรณ์ด่วนยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก. ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามแนวข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องพิจารณาจากเอกสารโดยรวม แม้จะแบ่งเป็นหลายตอน
บันทึกที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องเดียวกันแม้จะแบ่งเป็นหลายตอนก็ต้องอ่านตลอดเรื่องแล้วจึงจะวินิจฉัยได้ว่าบันทึกนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องพิจารณาจากเอกสารโดยรวม แม้จะแบ่งเป็นหลายตอน
บันทึกที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องเดียวกัน แม้จะแบ่งเป็นหลายตอนก็ต้องอ่านตลอดเรื่องแล้วจึงจะวินิจฉัยได้ว่าบันทึกนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยตกลงทำบันทึกที่อำเภอว่า โจทก์จะชำระเงินที่กู้ไปให้ 6,400 บาท และจำเลยยอมคืนนาให้โจทก์ถึงวันนัดจำเลยไม่ยอมตามข้อตกลงขอให้ศาลบังคับนั้น เอกสารหมาย จ. 1 แบ่งเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1เป็นคำร้องของโจทก์ยื่นต่อนายอำเภอกล่าวหาว่าโจทก์ขายฝากนาไว้กับจำเลย โจทก์ขอไถ่จำเลยไม่ยอม ขอให้เรียกมาพูดจากันตอนที่ 2 เป็นบันทึกปากคำโจทก์ประกอบข้อกล่าวว่าโจทก์ได้กู้เงินจำเลยโดยมอบนาพิพาทให้จำเลยยึดถือ โจทก์ลงชื่อท้ายบันทึก ตอนที่ 3 เป็นบันทึกปากคำจำเลยแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ว่า โจทก์ขายกรรมสิทธิ์นาพิพาทให้จำเลยจำเลยลงชื่อท้ายบันทึกตอนที่ 4 เป็นบันทึกของปลัดอำเภอผู้สอบสวนและไกล่เกลี่ยว่าสอบโจทก์ โจทก์ยินดีให้เงิน จำเลย 6,400 บาท จะได้เข้าทำนาเป็นปกติเสียทีแล้วนัดชำระเงินและคืนสัญญากู้ให้แก่กันวันที่ 2 มิถุนายน 2504 โจทก์จำเลยลงชื่อท้ายบันทึก บันทึก ตอนที่ 2 ถึงตอนที่ 4 ทำวันเดียวต่อหน้าโจทก์จำเลยศาลฎีกาเห็นว่า ถ้าอ่านเฉพาะตอนที่ 2 ที่ 3 อาจไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแต่บันทึกทั้ง 4 ตอนนี้เกี่ยวเนื่องในเรื่องเดียวกันต้องอ่านตลอดเรื่องจะปรากฏข้อโต้เถียงว่า โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยหรือขายให้ เป็นข้อพิพาทเมื่อจำเลยยอมรับเงินและย่อมคืนสัญญาให้โจทก์ สิทธิของจำเลยเหนือที่พิพาทก็สิ้นไปการต้องคืนที่พิพาทจึงเป็นเงาตามตัว ซึ่งโจทก์จำเลยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นการระงับข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้นเอกสารหมาย จ. 1 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยตกลงทำบันทึกที่อำเภอว่า โจทก์จะชำระเงินที่กู้ไปให้ 6,400 บาท และจำเลยยอมคืนนาให้โจทก์ถึงวันนัดจำเลยไม่ยอมตามข้อตกลงขอให้ศาลบังคับนั้น เอกสารหมาย จ. 1 แบ่งเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1เป็นคำร้องของโจทก์ยื่นต่อนายอำเภอกล่าวหาว่าโจทก์ขายฝากนาไว้กับจำเลย โจทก์ขอไถ่จำเลยไม่ยอม ขอให้เรียกมาพูดจากันตอนที่ 2 เป็นบันทึกปากคำโจทก์ประกอบข้อกล่าวว่าโจทก์ได้กู้เงินจำเลยโดยมอบนาพิพาทให้จำเลยยึดถือ โจทก์ลงชื่อท้ายบันทึก ตอนที่ 3 เป็นบันทึกปากคำจำเลยแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ว่า โจทก์ขายกรรมสิทธิ์นาพิพาทให้จำเลยจำเลยลงชื่อท้ายบันทึกตอนที่ 4 เป็นบันทึกของปลัดอำเภอผู้สอบสวนและไกล่เกลี่ยว่าสอบโจทก์ โจทก์ยินดีให้เงิน จำเลย 6,400 บาท จะได้เข้าทำนาเป็นปกติเสียทีแล้วนัดชำระเงินและคืนสัญญากู้ให้แก่กันวันที่ 2 มิถุนายน 2504 โจทก์จำเลยลงชื่อท้ายบันทึก บันทึก ตอนที่ 2 ถึงตอนที่ 4 ทำวันเดียวต่อหน้าโจทก์จำเลยศาลฎีกาเห็นว่า ถ้าอ่านเฉพาะตอนที่ 2 ที่ 3 อาจไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความแต่บันทึกทั้ง 4 ตอนนี้เกี่ยวเนื่องในเรื่องเดียวกันต้องอ่านตลอดเรื่องจะปรากฏข้อโต้เถียงว่า โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยหรือขายให้ เป็นข้อพิพาทเมื่อจำเลยยอมรับเงินและย่อมคืนสัญญาให้โจทก์ สิทธิของจำเลยเหนือที่พิพาทก็สิ้นไปการต้องคืนที่พิพาทจึงเป็นเงาตามตัว ซึ่งโจทก์จำเลยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เป็นการระงับข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้นเอกสารหมาย จ. 1 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและการระงับข้อพิพาททางละเมิด
สัญญาที่จำเลยผู้ทำละเมิดทำให้ไว้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อระงับข้อพิพาทโดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยนั้น ยังหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ แต่ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยแถลงต่อศาลโดยอ้างถึงสัญญานี้ และโจทก์ก็ได้แถลงรับ ทั้งขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แล้วต่างลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลด้วยรายงานกระบวนพิจารณานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงย่อมจะมาฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเดิมอีกไม่ได้ได้แต่จะฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1605/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาระงับข้อพิพาทอาญา ความผิดต่อส่วนตัว ย่อมทำให้สิทธิฟ้องระงับได้
ผู้เสียหายเคยฝากข้าวเปลือกให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร จำเลยก็สีให้ โดยผู้เสียหายให้ค่าตอบแทนต่อมาผู้เสียหายให้จำเลยสีข้าวเปลือกอีก จำเลยเอาไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัวเสีย ผู้เสียหายจึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี พนักงานสอบสวนไกล่เกลี่ยให้จำเลยคืนข้าวเปลือกแก่ผู้เสียหาย แต่ไม่ตกลงกัน ต่อมานายอำเภอได้ไกล่เกลี่ยอีก ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาเป็นหนังสือโดยจำเลยเอารถยนต์ 1 คันจำนอง ผู้เสียหายและจะนำข้าวสารไปไถ่ถอนการจำนองเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบ ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้ผู้เสียหาย ถ้าจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว ผู้เสียหายจะคืนรถยนต์และใบทะเบียนให้ เมื่อพิเคราะห์ถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยที่มีต่อกันจนเกิดพิพาทและทำสัญญาต่อกันแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยทำสัญญาเพื่อระงับข้อพิพาททั้งในทางแพ่งและอาญา ถึงแม้ในสัญญาจะมิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่ให้คดีอาญาระงับไปก็ตาม แต่ตามรูปคดีพอถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยทำสัญญาโดยมุ่งประสงค์ให้ข้อหาทางอาญาระงับไป คดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว จึงมีผลทำให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันทางกฎหมายและการระงับข้อพิพาทนอกศาล
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน สัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
(2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850
(3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1) (2) นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเเภอทำ ส่วนตามมาตรา 108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ
(4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)
(2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850
(3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1) (2) นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเเภอทำ ส่วนตามมาตรา 108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ
(4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้อง ศาลก็พิพากษายกฟ้องได้.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, อำนาจอำเภอ, การระงับข้อพิพาท
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทนสัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ในศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1)(2)นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเภอทำ ส่วนตามมาตรา108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ (4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้องศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)