พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อการสั่งซื้อของข้าราชการในสังกัด แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัสดุในเรือนจำกลาง และจำเลยที่ 3 เป็นหัวหน้าฝ่ายอบรมและฝึกวิชาชีพในเรือนจำกลาง จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าประเภทวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการก่อสร้างจากโจทก์โดยไม่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดซื้อ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของทางราชการ แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบปฏิบัติของทางราชการ กำหนดให้หน่วยราชการปฏิบัติจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 จะต้องคอยควบคุมดูแลให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติตาม การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบการสั่งซื้อวัสดุ การทำบัญชีหนี้สินและการส่งมอบจึงเป็นเรื่องภายในระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะหาผูกพันบุคคลภายนอกไม่ จำเลยที่ 4 จะอ้างระเบียบปฏิบัติของส่วนหรือหน่วยราชการมาเพื่อให้พ้นจากความรับผิดหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ รวมถึงต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าฯ
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายนอกจากจะต้องเข้า หลักเกณฑ์ตามที่ ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และมาตรา 59 แล้วยังจะต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากประกาศใช้ ป.ที่ดินพ.ศ. 2497 แม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ (2) แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ยังไม่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น การเฉพาะรายตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2525) ข้อ 9ที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออก หนังสือรับรองประโยชน์ให้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องได้รับอนุมัติผู้ว่าฯ ตามระเบียบ
โจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเนื้อที่ 12 ไร่เศษ หลังจากที่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้วจึงเป็นที่ดินที่ไม่อาจจะแจ้งการครอบครองได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ถึงแม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ(3) ก็ตามแต่ก็ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 4ข้อ 9(2)(ค) กำหนดไว้ด้วย จึงจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือให้โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการอนุมัติให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายสำหรับที่ดินที่พิพาทแล้วที่ดินที่พิพาทจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดไว้ในอันที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่มีอนุมัติจากผู้ว่าฯ ก็ไม่ออกได้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย นอกจากจะเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ(3) แล้ว ยังต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดด้วย ซึ่งระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 4การขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย โดยมิได้แจ้งการครอบครอง กำหนดไว้ในข้อ 9 ว่า "การออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองและการทำประโยชน์ ในที่ดินเฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ต้องอยู่ใน หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้...(2) ความจำเป็นในกรณีที่ จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้คือ...(ค) ในกรณีที่มี ความจำเป็นอย่างอื่น แต่ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นการเฉพาะราย"ที่ดินพิพาทโจทก์เข้าจับจองครอบครองหลังจากที่ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว จึงเป็นที่ดินที่ไม่อาจจะแจ้ง การครอบครองได้ตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ถึงแม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 58 ทวิ(3) ก็ตาม เมื่อได้ความว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือให้ โจทก์ออกจากที่พิพาท แสดงให้เห็นว่าไม่มีการอนุมัติให้ออกหนังสือ รับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายสำหรับที่ดินพิพาท ดังนั้น ที่ดินพิพาท จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ไว้ในวันที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องถูกต้องตามระเบียบ หากไม่ถูกต้อง ถือว่าจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108,108 ทวิและ ป.อ. 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ป.ที่ดินมาตรา 108 ทวิ และ ป.อ. มาตรา 368 มีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ โดยกล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใดก็เป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัดต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ป.ที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 96ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยนอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้วยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ บันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 368 และ ป.ที่ดิน มาตรา 108.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งออกจากที่ดินต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือว่าจำเลยยังไม่ได้รับคำสั่งและไม่มีความผิด
ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้ และให้มีพยานอย่างน้อย2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วย เมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวแล้วนั้นให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลย นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน บันทึกข้อความนั้นจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบกำหนด จะถือว่าจำเลยได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาบุกรุกที่ดินและการพิสูจน์การรับทราบคำสั่งเจ้าหน้าที่ตามระเบียบ
สำหรับจำเลยที่ 6 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108,108ทวิ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ซึ่งมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ไม่อาจฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ในข้อหาความผิดนั้นได้อีก ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนฎีกาที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่าขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น มิได้กล่าวว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ เพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติมาตราทั้งสองดังกล่าวเช่นกัน ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2515) ว่าด้วยวิธีปฏิบัติในการแจ้งและออกคำสั่งแก่ผู้ฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2515 ใช้บังคับกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งหนังสือแจ้งบันทึกเหตุการณ์และเหตุผลในการไม่ยอมรับหนังสือแจ้งไว้และให้มีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงชื่อรับรองไว้ในบันทึกนั้นด้วยเมื่อผู้นำส่งหนังสือแจ้งได้ปฏิบัติการดังกล่าวนั้นแล้ว ให้ถือว่าผู้ฝ่าฝืนได้รับหนังสือแจ้งแล้ว แต่ตามบันทึกข้อความของเจ้าหน้าที่ผู้นำหนังสือแจ้งและคำสั่งให้ออกจากที่ดินไปส่งแก่จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7 นอกจากจะไม่ปรากฏเหตุผลที่ผู้ฝ่าฝืนไม่ยอมรับหนังสือแจ้งแล้ว ยังไม่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ผู้นำส่งได้สอบถามเหตุผลเอาจากผู้ฝ่าฝืนแล้วบันทึกไว้ และไม่ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นเอกสารที่อ้างอิงเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4ถึงที่ 7 ว่าเป็นผู้เข้าไปยึดถือครอบครองก่อสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 9 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใดบันทึกข้อความนั้นจึงยังไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ระเบียบดังกล่าวกำหนด ดังนั้น จะถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 7ได้รับหนังสือแจ้งอันเป็นคำสั่งเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้และทราบคำสั่งนั้นแล้วหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ถึงที่ 7 ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกับการจ่ายเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับ
จำเลยมีคำสั่ง เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชยกำหนดว่า "พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน" และจำเลยมีข้อบังคับ ฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จกำหนดว่า "พนักงานที่ต้องออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้"และ "พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มแต่จำนวนที่ต่ำกว่า คำสั่งดังกล่าวเห็นได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
ข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ ข้อ 6 กำหนดว่า พนักงานที่ออกจากงานกรณีใดบ้างที่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 8 เป็นการกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกเงื่อนไขข้อ 8 จึงเป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 มิได้หมายความว่า ถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้ว จะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้
คำสั่งของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชย การอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามคำสั่งดังกล่าว ซึ่งจ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันจึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคสองแล้ว
ข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ ข้อ 6 กำหนดว่า พนักงานที่ออกจากงานกรณีใดบ้างที่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 8 เป็นการกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกเงื่อนไขข้อ 8 จึงเป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 มิได้หมายความว่า ถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้ว จะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้
คำสั่งของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชย การอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามคำสั่งดังกล่าว ซึ่งจ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันจึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานจัดซื้อย่อมไม่มีความผิดฐานมีส่วนได้เสีย หากการจัดซื้อเป็นไปตามระเบียบและเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการ
ผู้ที่จะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 152 จะต้องเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยกิจการนั้น เมื่อปรากฏว่าในการจัดซื้อดินถมพร้อมบดอัดแน่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.นั้น เทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าการจัดซื้อดินดังกล่าวจำเลยที่ 1 ในฐานะนายกเทศมนตรีได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่นนอกจากประโยชน์ของเทศบาลเป็นสำคัญ แม้จำเลยที่ 1จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ตาม กรณีก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 152 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ก็ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทที่มีส่วนได้เสีย: ไม่ผิด ม.152 หากราคาต่ำกว่างบประมาณและดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ
จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนายกเทศมนตรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของเทศบาลโดยตรงและเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. เมื่อเทศบาลได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและราคาที่ตกลงซื้อก็ต่ำกว่าราคาที่เทศบาลตั้งงบประมาณไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์อย่างอื่น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นเนื่องด้วยการทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152