คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจขององค์การค้าคุรุสภา: ไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย
องค์การค้าคุรุสภาไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าขององค์การค้าคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างประจำส่วนราชการ ไม่เป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำสังกัดศูนย์มาลาเรีย กองมาลาเรียกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นส่วนราชการ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไข มิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยพนักงานรัฐวิสาหกิจ การผ่านเข้าออกโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อยกเว้นสำหรับกรรมการสหภาพแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์มิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานจึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริหารสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจทก์ผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบ จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์งดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ตามระเบียบว่าด้วยวินัย การร้องทุกข์ฯของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ การที่โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุย่อมเป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติตามพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงต้องตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เมื่อปรากฏว่า การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานดังกล่าวโดยที่โจทก์ไม่ได้กระทำผิดตามที่ระบุไว้ในข้อ 47 หรือเข้าข้อยกเว้นในกรณีไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จึงต้องถือเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นเงินเดือนค่าจ้าง ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายค่าเบี้ยกิโลเมตรให้โจทก์ซึ่งพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ในอัตรากิโลเมตรละ 35 สตางค์โจทก์ขับรถวันละ 609 กิโลเมตร ได้รับค่าเบี้ยกิโลเมตรวันละ 213 บาท ค่าเบี้ยกิโลเมตรดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรจึงเป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534 ข้อ 3 ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
จำเลยจ่ายค่าเบี้ยกิโลเมตรให้โจทก์ทุกวันตามระยะทางที่โจทก์ขับรถได้ในอัตรากิโลเมตรละ35 สตางค์ ค่าเบี้ยกิโลเมตรจึงเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้ จึงเป็น"เงินเดือนค่าจ้าง"ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 3 ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณค่าชดเชยได้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรที่จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้เป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานฯ ข้อ 3 ต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯฉบับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้ประกาศ คณะปฏิวัติฯ ไม่ใช้บังคับ แต่ระเบียบ ก.พ.ร. ยังให้สิทธิ
บริษัทจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่ พนักงาน ซึ่งเลิกจ้างโจทก์ทำงานมาแล้วประมาณ6 ปี จำเลยเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่าย ค่าชดเชย แก่โจทก์ ตามระเบียบดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้บริษัทฯ อยู่ในข่ายประกาศ คปต.ฉบับที่ 103 แต่ระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ยังใช้บังคับ
แม้บริษัทขนส่ง จำกัด จะเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ซึ่งเลิกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตาม ข้อ 46แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องเป็นไปตามระเบียบ หากไม่มีเหตุตามระเบียบ ผู้อำนวยการไม่มีอำนาจ
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการพนักงานจะระบุว่าการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่ง เป็นอำนาจของผู้อำนวยการก็ตาม แต่ก็ยังมีระเบียบของจำเลยว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างประจำปีของพนักงานระบุว่ากรณีจะรอการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างไว้ก่อนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่พนักงานอยู่ในระหว่างถูกสอบสวนทางวินัยหรือทางคดีอาญา เมื่อยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์อยู่ในระหว่างสอบสวนทางวินัย ประกอบคณะกรรมการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของจำเลยมีมติให้เลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้นแล้ว ผู้อำนวยการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนของโจทก์
of 18