พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การที่ ศ. ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับเจ้าหนี้ซึ่งนอกจากจะมีข้อความระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้เงินกู้ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากโจทก์ตามสัญญากู้ยืมและบันทึกข้อความต่อท้ายสัญญากู้ยืมแล้ว ตอนท้ายของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวยังระบุด้วยว่าผู้ค้ำประกันสมัครใจค้ำประกันหนี้สินอื่น ๆ ทุกชนิด และทุกประเภทของผู้กู้ ทั้งที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นในภายหน้าอันพึงมีต่อผู้ให้กู้ และ/หรือในนิติกรรมสัญญาใด ๆ ที่ผู้กู้ได้ทำไว้กับผู้ให้กู้ทั้งหมดจนกว่าผู้ให้กู้จะได้รับชำระหนี้ถูกต้องครบถ้วนด้วยดังนั้น เมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้อันดับที่ 2และอันดับที่ 3 ไว้ต่อเจ้าหนี้ย่อมต้องถือว่า ศ. ตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย เมื่อ ศ. นำเงินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมิได้ระบุว่าชำระหนี้รายใด การที่เจ้าหนี้นำไปจัดสรรชำระดอกเบี้ยของหนี้ทั้งสามอันดับตามส่วน ย่อยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328และมาตรา 329 แล้ว การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้อันดับที่ 3 โดยอ้างส่งแต่เฉพาะสำเนาเอกสารเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าวเป็นพยาน แต่ไม่นำส่งต้นฉบับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้หมายนัดให้เจ้าหนี้ทราบโดยชอบ ทั้งไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังสำเนาเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะยื่นอุทธรณ์ และการส่งสำนวนกลับเพื่อวินิจฉัยสิทธิในการรับชำระหนี้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้น คือ จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ การพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเงินจำนวน 605,830.57 บาทศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน590,531.61 บาท โจทก์อุทธรณ์คำสั่งขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มขึ้นอีก11,798.96 บาท คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นมีจำนวนเกินกว่าสองหมื่นบาท คดีโจทก์จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอนุญาตรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ไม่ต้องแสดงเหตุผล หากไม่มีการโต้แย้ง
ในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะอนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และก็เป็นการสั่งตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 106 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่จำต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง และการโอนลอยพันธบัตรโดยไม่ได้รับความยินยอม
ศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็อนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเป็นการสั่งตามมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แม้จะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่มีข้อตกลงว่าวงเงินกู้ไม่เกิน 10,000,000บาท ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี เมื่อเงินกู้ที่ค้างชำระเพียง 5,259,980.74 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามข้อตกลงเท่านั้น ลูกหนี้โอนลอยพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ส. นำไปวางเป็นประกันในการกู้เงินของบริษัท บ.ต่อเจ้าหนี้ โดยกรรมการบริษัทลูกหนี้มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย และมิได้จดทะเบียนภาระผูกพันกับธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหนี้จึงไม่มีมูลหนี้ใดที่จะกล่าวอ้างได้ต้องคืนพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การรับฟังพยานหลักฐานและการนับระยะเวลายื่นอุทธรณ์
ในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าหนี้มีเพียงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้การยืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้าง ฆ. แต่จำเลยที่ 2มิได้แถลงหรือให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งคัดค้านว่าข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้น คำให้การของผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าวรับฟังได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 กำหนดให้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น แต่ในกรณีที่มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ขอรับชำระไปยังศาลชั้นต้นเมื่อใด ทั้งไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเมื่อใด จึงต้องถือว่าวันที่เจ้าหนี้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นวันที่ได้อ่านคำสั่งศาลชั้นต้นให้เจ้าหนี้ฟังและกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เริ่มนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น: ศาลพิจารณาเฉพาะสิทธิชอบธรรมของผู้รับจำนอง ไม่ต้องระบุจำนวนหนี้ในคำสั่ง
กรณีร้องขอให้ศาลเอาเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามป.วิ.พ. มาตรา 289 นั้น ศาลพิจารณาเพียงว่าผู้ร้องเป็นบุคคลที่ชอบจะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินนั้น โดยอาศัยสิทธิจำนองได้หรือไม่เท่านั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ศาลต้องระบุจำนวนหนี้จำนองที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนเจ้าหนี้อื่นไว้ในคำสั่งด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด แม้มีการฟ้องคดีล้มละลายคู่ขนานก็ไม่เป็นเหตุยกเว้น
การที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายซึ่งศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว พร้อมกับดำเนินคดีล้มละลายกับจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อม เพราะการขอรับชำระหนี้เป็นคนละเรื่องกับการดำเนินคดีล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1995/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นต้องยื่นคำร้องก่อนการขายทอดตลาด หากยื่นหลังจะเสียสิทธิ
การยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้ของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่น อันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสองนั้น ต้องยื่นก่อนเอาทรัพย์นั้นขายทอดตลาด ดังนั้นเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นภายหลังจากที่ได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว จึงเป็นการยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิขอให้เอาเงินที่ได้มาจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยมาชำระหนี้จำนองของผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิหลังพ้นกำหนด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย เจ้าหนี้รายที่ 8 เมื่อพ้นระยะเวลาขอชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของธนาคารกสิกรไทยต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างไร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้ ถือเป็นคำวินิจฉัยที่สามารถคัดค้านต่อศาลได้
คำสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 91 เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่กฎหมายให้อำนาจไว้มิใช่เพียงความเห็นที่เสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาสั่งเท่านั้น ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยนั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146