คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับมรดกกรณีมีผู้คัดค้านสิทธิ ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมายและพยานหลักฐาน
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ. ว. ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน) จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดกและสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไปดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1 จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสองมิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งรับมรดกของเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดิน การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบและไม่มีเจตนาละเมิด
โจทก์ร้องขอรับมรดกที่ดิน โฉนดที่ 5130 ของ พ..ว.ยื่นคำร้องคัดค้านว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช.ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว. ศาลฎีกาวินิจฉัยรับรองไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1927/2506 ว่า ว.มีสิทธิในส่วนของช.ในโฉนดที่กล่าวด้วย. จำเลยที่ 1 ในนามจังหวัด ได้มีหนังสือหารือการปฏิบัติในการสั่งคำร้องของโจทก์มายังจำเลยที่ 2(กรมที่ดิน). จำเลยที่ 2 เห็นว่าคำพิพากษาฎีกาได้วินิจฉัยว่า ว.มีส่วนได้เสียในที่ดินอยู่ด้วย. จำเลยที่ 1 จึงสั่งให้โจทก์และ ว.ลงชื่อร่วมกันในโฉนดในฐานะผู้รับมรดก. และสั่งด้วยว่าฝ่ายใดไม่เห็นพ้องด้วยก็ให้ฟ้องศาลภายใน 60 วัน. มิฉะนั้นจะดำเนินการไปตามคำสั่งต่อไป.ดังนี้ เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการในการออกคำสั่งคำร้องของโจทก์ ได้ปฏิบัติการไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โดยชอบ. เช่น การประกาศการขอรับมรดกของโจทก์เป็นต้น. ครั้น ว.คัดค้าน ก็ได้ขอความเห็นจากจำเลยที่ 2 อันเป็นสำนักงานต้นสังกัดในการรับผิดชอบ. แสดงว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้การงานเป็นไปโดยถูกต้อง. การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้ว.รับมรดกร่วมกับโจทก์ ก็เห็นว่าเนื่องจากหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่า ว.มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินโฉนดนี้อยู่ด้วย และทั้งสองฝ่ายไม่ยอมตกลงตามข้อเปรียบเทียบของจำเลยที่ 1. จำเลยก็ย่อมสั่งการไปได้ตามที่เห็นสมควร. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสอง มิได้ก่อการเสียหายอันเป็นละเมิดต่อโจทก์. เพราะถ้าโจทก์หรือ ว.ไม่เห็นพ้องกับคำสั่งของจำเลยที่1ก็ย่อมนำคดีเสนอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกแทนที่และการหมดสิทธิรับมรดกเนื่องจากไม่เรียกร้องภายใน 1 ปี
ค. ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกค. มีบุตรคือจำเลยเป็นผู้สืบสันดาน จำเลยย่อมเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ค.
จำเลยมิได้ครอบครองมรดกและมิได้เรียกร้องเอาภายใน 1 ปี ย่อมหมดสิทธิรับมรดก การที่บุตรของ ค. คนอื่นปลูกเรือนอยู่ในที่ดินมรดกหากเป็นความจริงก็เป็นสิทธิของผู้นั้นส่วนจำเลยหมดสิทธิไปแล้วจะคัดค้านขอรับมรดกด้วยหาได้ไม่
คดีพิพาทกันในระหว่างทายาทว่า จำเลยมีสิทธิขอแบ่งมรดกหรือไม่ โจทก์ก็ฟ้องเอาทรัพย์มรดกส่วนของ ค. 1 ใน 3 ตามที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด ประเด็นในคดีจึงมีเฉพาะเรื่องทรัพย์มรดกของนางคลี่ มิได้พิพาทกับเจ้าของร่วมว่านางคลี่เจ้ามรดกหรือโจทก์ มีกรรมสิทธิ์เกินหนึ่งในสามหรือตามอาณาเขตที่ครอบครอง ศาลจะพิพากษานอกฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากข้อตกลงในคดีก่อน การเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน และการรับมรดก
นาพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เอง มิใช่มีชื่อในฐานะเป็นผู้ซื้อแทนโจทก์ โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการโอนและการขายฝากนาพิพาทที่จำเลยกระทำต่อกันได้ไม่
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504)แพ้จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปีๆ ละ900 บาทนับแต่ พ.ศ.2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาทตั้งแต่ พ.ศ.2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้ โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์คืนจากผู้รับซื้อฝาก: ประเด็นอายุความและสิทธิของผู้รับมรดก
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยซื้อจากนายกองบิดาโจทก์ส่วนที่ซึ่งนายกองบิดาโจทก์ขายฝากจำเลยเป็นที่คนละแปลงนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับการไถ่โอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ขายฝาก จึงเป็นคดีที่มีคำขออันคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่นายกองขายฝากอยู่ตรงไหน พร้อมทั้งได้แสดงแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง และมีสำเนาทะเบียนบุริมสิทธิฯลฯ แนบมาท้ายฟ้องด้วย เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
อายุความตามมาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก ส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1754 แต่อย่างใด เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายกองผู้ขายเดิมฟ้องขอไถ่ทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 497(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยหลังจากนายกองผู้ขายเดิมตายเกิน 1 ปีคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะคดีนี้ไม่เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
ข้อที่ว่าสิทธิในการไถ่ทรัพย์ตามมาตรา 497 พึงใช้ได้แก่บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ถอนได้ เมื่อนายกองผู้ขายเดิมไม่ได้ทำสัญญายอมให้โจทก์เป็นคนไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน และผลของการครอบครองทำประโยชน์เกิน 10 ปี ต่อการรับมรดก
ที่ว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น หมายถึงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วย จึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกแทนที่ของทายาทโดยธรรมและการสละมรดกแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุมัติจากศาล
เมื่อเจ้ามรดกตาย ทรัพย์มรดกย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งตายก่อนเจ้ามรดก ส่วนมรดกที่ทายาทโดยธรรมจะได้รับย่อมตกทอดแก่ผู้สืบสันดานทุกคนของทายาทโดยธรรมนั้นในฐานะเป็นผู้รับมรดกแทนที่ ดังนั้น เมื่อทายาทโดยธรรมตาย มีผู้เอาชื่อผู้สืบสันดานคนหนึ่งใส่ลงในหน้าโฉนดเป็นผู้รับมรดกจึงหาทำให้ผู้สืบสันดานคนอื่นๆ เสียสิทธิในการรับมรดกแทนที่ในที่ดินนั้นไปไม่
คำสั่งของผู้ตายให้ยกที่ดินให้แก่ใครคนหนึ่งนั้นมิใช่พินัยกรรมจึงหาลบล้างสิทธิของทายาทโดยธรรม หรือผู้รับมรดกแทนที่ของทายาทโดยธรรมนั้นไม่
การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่มารดาจะสละมรดกแทนผู้เยาว์ได้ จะต้องได้รับอนุมัติจากศาลก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: ทายาทถูกตัดสิทธิมิให้รับมรดก ย่อมไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้
อายุความที่ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นั้น ผู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วยเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นน้องของเจ้ามรดกถูกโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกตัดมิให้จำเลยรับมรดกเสียแล้ว จำเลยจึงย่อมยกอายุความมรดกดังกล่าวขึ้นต่อสู้กับโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการรับมรดกและการครอบครองปรปักษ์: การตีความคำฟ้อง
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องชัดเจนแล้วว่าเดิมที่พิพาทเป็นของเจ้ามรดกๆ ตายมา 10 ปีกว่า และบุตรของเจ้ามรดกซึ่งเป็นมารดาโจทก์ก็ตายแล้ว ที่พิพาทตกอยู่แก่โจทก์ทางมรดกและโจทก์ครอบครองตลอดมา เช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ดีและไม่ขัดกับคำรับที่ศาลจดไว้ในรายงานฯ ที่ว่า "นางพุ่มตายทีหลังนายชุม จนถึงกับจะนำสืบไม่ได้"
อนึ่ง การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าครอบครองมากว่า 10 ปี ย่อมเข้าใจได้แล้วว่า โจทก์ได้ครอบครองที่รายนี้มาตั้งแต่นายชุมตายจนบัดนี้เกิน 10 ปี ไม่จำเป็นต้องอ้างหรือบรรยายถ้อยคำตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งทายาทเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะ: สิทธิในการรับมรดกและความจำเป็นในการเป็นผู้รับมรดก
โจทก์ขอให้เรียก ซ. ภรรยาของจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยแทนสามีซึ่งมรณะ ซ. ต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ทั้งไม่ได้รับมรดกจากสามีแต่ประการใดแต่เมื่อไต่สวนแล้วศาลเชื่อว่า ซ. เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทของสามีผู้วายชนม์ ศาลก็ย่อมตั้งให้ ซ. เป็นผู้รับมรดกความได้
of 9