พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีขับไล่ที่ดินราคาต่ำกว่าเกณฑ์ฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จึงเป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทราคาเพียง 8,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องประดับราคาถูก ไม่ถือเป็นของมีค่าตามกฎหมาย
เครื่องประดับจำพวกตุ้มหู สร้อย แหวน ทำด้วยเงินราคาต่ำสุดคู่ละ 7 บาท สูงสุดคู่ละ 25 บาท เป็นเพียงเครื่องประดับทำด้วยเงินมีราคาต่ำ จึงเป็นของธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้จะมีจำนวนมากและรวมจำนวนกันแล้วมีราคา52,200 บาท ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของมีค่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องประดับราคาถูกไม่ใช่ของมีค่า
เครื่องประดับจำพวกตุ้มหู สร้อย แหวน ทำด้วยเงินราคาต่ำสุดคู่ละ 7 บาท สูงสุดคู่ละ 25 บาท เป็นเพียงเครื่องประดับทำด้วยเงินมีราคาต่ำ จึงเป็นของธรรมดาทั่ว ๆ ไป เท่านั้นถึงแม้จะมีจำนวนมากและรวมจำนวนกันแล้วมีราคา52,200 บาท ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงในคดีทรัพย์สินที่มีราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ ในการวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีราคา 60,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อที่และราคาที่ดิน ส่งผลต่อการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และครอบครองตลอดมา ดังนี้ เป็นการโต้เถียงกันในสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ประมาณ28 ไร่เศษ แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยขอให้ทำแผนที่พิพาทปรากฏตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวา ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1ตีราคาที่ดินพิพาทตามคำให้การของจำเลยในราคาไร่ละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านและมิได้ฎีกาโต้เถียงราคาทรัพย์ที่พิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ยอมรับในข้อนี้ ดังนี้จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน173,625 บาท หาใช่เนื้อที่ 28 ไร่ เป็นเงิน 280,000 บาทไม่ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ประมาณ28 ไร่เศษ แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยขอให้ทำแผนที่พิพาทปรากฏตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวา ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1ตีราคาที่ดินพิพาทตามคำให้การของจำเลยในราคาไร่ละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านและมิได้ฎีกาโต้เถียงราคาทรัพย์ที่พิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ยอมรับในข้อนี้ ดังนี้จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน173,625 บาท หาใช่เนื้อที่ 28 ไร่ เป็นเงิน 280,000 บาทไม่ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนภาษีอากรต้องแจ้งความประสงค์ก่อนส่งมอบของ และการประเมินราคาภาษีรวมค่าขนส่ง
ราคาของที่นำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้นต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวาง เรียกว่า ราคาซี.ไอ.เอฟ. ที่โจทก์อ้างว่าโต้แย้งเฉพาะค่าขนส่งก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของ เมื่อโจทก์มิได้แจ้งไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของ ว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย ส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรในส่วนนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดหุ้นที่ราคาต่ำกว่าตลาดอย่างมากถือเป็นการหลงผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำให้การขายนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดหุ้นบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ด้วย การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ส่อพฤติการณ์ทุจริต แต่ปรากฏว่าบริษัท อ. ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลยจำนวน 1,000 หุ้นจึงแตกออกเป็น 10,000 หุ้น ซึ่งราคาหุ้นที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันขายทอดตลาดมีราคาหุ้นละ 98.50 บาท ฉะนั้นราคาหุ้นพิพาทตามราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ขายทอดตลาดเป็นเงิน 985,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้ผู้คัดค้านทั้งห้าในราคา 152,000 บาท ซึ่งหากเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบราคาหุ้นทั้งหมดก็จะไม่อนุมัติให้ขาย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายหุ้นพิพาทโดยหลงผิด เนื่องจากไม่รู้ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งการที่ขายทอดตลาดหุ้นพิพาทต่างจากราคาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากเช่นนี้ จำเลยย่อมเสียหายต่อการชำระหนี้ จึงให้เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายป่าน การกำหนดราคาและเวลาชำระ การผิดนัดชำระหนี้
ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการโอนสิทธิเรียกร้องมาด้วยเป็นเพียงบรรยายให้รู้ว่าจำเลยยังไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์เพราะเหตุใดเท่านั้นดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก ม.คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีในส่วนนี้จึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใด ซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อเป็นประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระราคาป่านจำนวน 288,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น หาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่
แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคล แต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 490บัญญัติว่า ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกันเมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคล แต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 490บัญญัติว่า ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกันเมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ถูกต้อง และสิทธิในการฟ้องเรียกเงินคืน รวมถึงการอุทธรณ์ภาษีการค้า
คำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 47/2531 ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 1 เดือนนั้น เป็นเพียงระเบียบภายในของจำเลยในกรณีไม่อาจจะทราบราคาแท้จริงได้ตามกฎหมาย เมื่อทางโจทก์ได้เสนอหลักฐานให้ทราบแน่ชัดแล้วจึงไม่จำต้องอาศัยระเบียบดังกล่าวมาพิจารณา ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรฉบับที่ 77(พ.ศ. 2533) ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5(4)และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 กำหนดให้สินค้าบางชนิดต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำเข้าในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 0.5ของราคาตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และจำเลยได้ออกคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 25/2533 วางระเบียบเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวและนำส่งกระทรวงพาณิชย์ในภายหลัง การที่จำเลยเรียกเก็บเงินนี้ก็โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเรียกเก็บเงินโดยที่จำเลยกำหนดราคาผิดไป ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำผิดจำเลยก็ต้องมีหน้าที่คืนแก่โจทก์ต่างกับกรณีต้องคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 เพราะกรณีดังกล่าวเป็นกรณีเรียกไว้โดยชอบ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากจำเลยได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วมีความเห็นให้เพิ่มราคา และเรียกอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม โจทก์ก็ได้แก้ไขจำนวนเงินราคา ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลในใบขนสินค้าขาเข้าตามรายการสำแดงที่จำเลยขอเพิ่มแล้ว ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 87(2) แล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคาซึ่งไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 ไม่เป็นการอุทธรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลให้คืนเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาที่สมควร
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งของศาล กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่า จะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาที่สูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายแก่ผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ธนาคารเคยรับจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้น ผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ธนาคารรับจำนอง ประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองเกินกว่า 5 ปี ทรัพย์ที่ขาย-ทอดตลาดเป็นอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินอยู่ในย่านทำเลการค้า ราคาน่าจะต้องสูงขึ้นไปอีกมาก และเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้สูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอ หากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ฝ่าฝืนต่อ ป.พ.พ. มาตรา 513 ประกอบป.วิ.พ. มาตรา 308 ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเช่นนี้ได้