คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาตลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากราคาตลาดและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เมื่อปรากฏว่าโจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกันโจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับซึ่งข้อ1บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"และข้อ5วรรคหนึ่งบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ของมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่าที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วนซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่งและข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วยถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้วโจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา10เมื่อวันที่9พฤษภาคม2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯนับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6กันยายน2532อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่1ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากถนนสาธารณะ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นรวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม การจะเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวางเขตคลองเตยและเขตพระโขนงกรุงเทพมหานครพ.ศ.2533นั้นมีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วยอีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ11ไร่เศษทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน32ไร่เศษมีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่านการเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลในที่ดินของโจทก์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นโจทก์จึงได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินที่ถูกเวนคืนซึ่งตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งก็บัญญัติถึงหลักการและเจตนารมณ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่นอกจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วยังต้องพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมด้วยในกรณีนี้ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์สำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนดังกล่าวจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้วการที่จะกำหนดราคาค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคมและแม้ว่าที่ดินทางทิศใต้ของทางพิเศษที่เหลือมีความกว้าง20ถึง30เมตรไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้ก็ตามแต่โจทก์ยังสามารถสร้างบ้านและอาคารชุดได้ตามที่โจทก์ประสงค์อยู่ตามเดิมไม่ทำให้เสียไปซึ่งวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์ถือได้ว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดราคาค่าทดแทนให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้ง12แปลงในส่วนที่ถูกเวนคืนในคดีนี้เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากอยู่แล้วจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9871/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 และราคาประเมินที่สอดคล้องกับราคาตลาด
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทเป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ฯ พ.ศ. 2516แต่ภายหลังจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนตามฟ้องยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) โดยกำหนดให้คิดราคาในปีที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่พิพาทมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2511 แล้วฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการกำหนดค่าทดแทนภายในเวลาอันควรปล่อยระยะเวลามา เนิ่นนานกว่า 20 ปี เป็นการกระทำที่ทำให้โจทก์เสียหายเมื่อได้ความว่าฝ่ายจำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ กำหนดราคาเบื้องต้นของที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2531 และได้ประชุมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์อันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน แล้วแจ้งราคาให้แก่โจทก์ทราบ การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เริ่มต้นใหม่ในปี 2531 ดังนั้น การใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1)-(5) จึงเปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาเป็นปี 2531 อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการเพื่อจ่ายค่าทดแทนใหม่ โจทก์นำสืบถึงบัญชีราคาประเมินที่ดินเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งกรมที่ดินได้กำหนดในปี 2533 เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน และที่ดินที่พิพาทก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วย จึงเชื่อว่าในปี 2533ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องมีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดใกล้เคียงหรือสูงต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาทตามที่ปรากฏในราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวไม่มาก และราคาดังกล่าวนี้เป็นราคาที่เพิ่มขึ้นจากปี 2531 เป็นเวลา2 ปี ดังนั้นในปี 2531 ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามฟ้องย่อมมีราคาต่ำกว่าตารางวาละ 60,000 บาท ไม่มากเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7275/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาดและดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารออมสิน
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่่าทดแทนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดโจทก์โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนด60วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ทั้งคดีไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินค่าทดแทนดังนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งหนึ่งก่อน สัญญาซื้อขายที่ดิน1งาน50ตารางวาและสัญญาซื้อขายที่ดิน12ตารางวาโจทก์และจำเลยทำต่างวันกันและเป็นคนละฉบับต่างกันอีกทั้งคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่21พฤษภาคม2534อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาส่วนคำอุทธรณ์ของโจทก์ฉบับลงวันที่19กันยายน2534ก็อุทธรณ์ขอให้เพิ่มค่าทดแทนเฉพาะที่ดิน12ตารางวาเป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากและเป็นคำอุทธรณ์ที่พ้นระยะเวลา60วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนที่ดิน1งาน50ตารางวาดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน12ตารางวาเป็นส่วนหนึ่งของคำอุทธรณ์ค่าทดแทนที่ดินจำนวน1งาน50ตารางวาเมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ภายในกำหนดโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาลขอให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น เมื่อปรากฎว่ามีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะดังนี้การกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่โจทก์จึงต้องบังคับตามมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งตามมาตรา21(1)ให้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาออกตามมาตรา6ประกอบด้วยประการหนึ่งแต่ทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบฟังไม่ได้ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาคือวันที่1มกราคม2531เป็นราคาเท่าไรส่วนที่โจทก์นำสืบราคาซื้อขายที่ดินรวม68โฉนดก็ปรากฎว่าทีดินดังกล่าวเป็นที่ดินแปลงใหญ่อยู่ติดถนน3ด้านคือถนนเจริญกรุงถนนสีลมและถนนศรีเวียง แต่ที่ดินของโจทก์ติดซอยธนวัฒน์ มิได้ติดถนนใหญ่ทั้งระยะเวลาที่ซื้อขายก็เป็นเวลาภายหลังและห่างจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาถึง2ปีราคาประเมินก็เพียงตารางวาละ70,000บาทจึงไม่น่าเชื่อว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินโจทก์ในวันที่1มกราคม2531จะเป็นตารางวาละ252,800บาทที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ได้รับค่่าทดแทนที่ดินเพิ่มเป็นตารางวาละ150,000บาทนั้นจึงเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21(1)ถึง(5)เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์โจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและศาลอุทธรณ์พิพากษาในตอนท้ายว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแสดงว่าศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีคงที่นั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามซึ่งบัญญัติให้โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีเนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจากที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และการปรับแก้คำพิพากษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 36 วรรคหนึ่ง เป็นบทกฎหมายที่กำหนดแนวทางว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะและในกรณีใดบ้าง และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายส่วนวรรคสองเพียงแต่วางหลักการกว้าง ๆ ว่าการกำหนดค่าทดแทนนั้นต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มาสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน ดังนั้นรายละเอียดของการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะซึ่งในขณะเกิดกรณีพิพาทคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องคำนึงถึง (1) ถึง (5)ของมาตราดังกล่าวในวันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2534 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ได้มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย ทั้งทางนำสืบ ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยวางเงิน ค่าทดแทนในวันใด แต่พออนุมานได้ว่าก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองไปทำคำเสนอขอรับเงินค่าทดแทนจึงให้ จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่เป็นธรรม โดยพิจารณาจากราคาตลาดปัจจุบัน และหักค่าที่ดินเหลือจากการเวนคืน
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 เพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนให้ ส.ทราบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2534 และได้มีการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2535 การกำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ของคณะกรรมการฯจึงต้องพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของ ส.เป็นการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆ แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลม อำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรี อำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2506 และ พ.ศ.2511 ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์... พ.ศ.2506 สิ้นอายุและได้มีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์.....พ.ศ.2511 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 16 ตุลาคม 2511 เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์..... พ.ศ.2511 คือวันที่16 ตุลาคม 2511 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ได้ความต่อไปว่าหลังจากที่ได้มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์....พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้ว ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำเลยที่ 2 ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ ส.ในเวลาอันควรและจำเลยที่ 2 เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์..... พ.ศ.2516 และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ ส.ในปี 2531 เช่นนี้ ย่อมทำให้ส.ได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์.....พ.ศ.2516 ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควร การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยพิจารณาราคาที่ดินในปี พ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่ ส.ไม่ถูกต้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่งตอนท้าย และยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรค 3 ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของ ส.ที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น ในปี 2531 ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงค์.....พ.ศ.2516 และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทน จึงจะเป็นธรรมแก่ ส.ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา14 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21ต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้ แม้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคสี่ ซึ่งใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้ จะบัญญัติให้การคำนวณอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและไม่มีพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตาม แต่คณะกรรมการฯย่อมชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนได้ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 2530 ทั้งนี้โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลและที่วิญญูชนจะพึงพิจารณา ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบต่อรัฐและมิให้เอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนได้ประโยชน์เกินสมควรอันไม่เป็นธรรมแก่สังคม
การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดของ ส.ที่มีอยู่ในขณะมีการดำเนินการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืน แม้ภายหลัง ส.จะได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยและโอนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่บุตรก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน และนำที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนเพื่อตัดถนนและทำระบบระบายน้ำมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: พิจารณาจากราคาตลาดปัจจุบัน และหักราคาที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนได้
จำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516เพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของส.ที่ถูกเวนคืนให้ส.ทราบเมื่อวันที่22พฤษภาคม2534และได้มีการฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่14กันยายน2535การกำหนดราคาค่าทดแทนเบื้องต้นจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44มีผลใช้บังคับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังนั้นการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ส.ของคณะกรรมการฯจึงต้องพิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของส.เป็นการเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์และแขวงสีลมเขตบางรักและแขวงยานนาวาแขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรีเขตยานนาวากรุงเทพมหานครพ.ศ.2516โดยมีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ตำบลสีลมอำเภอบางรัก และตำบลยานนาวาตำบลทุ่งมหาเมฆตำบลทุ่งวัดดอนตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนครพ.ศ.2506และพ.ศ.2511ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ.2506สิ้นอายุและได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ พ.ศ.2511ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่16ตุลาคม2511เมื่อพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์พ.ศ.2511คือวันที่16ตุลาคม2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ได้ความต่อไปว่าหลังจากที่ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้วผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ก็มิได้ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ส.ในเวลาอันควรและจำเลยที่2เพิ่งจะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516และคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่งจะพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่ส.ในปี2531เช่นนี้ย่อมทำให้ส. ได้รับความเสียหายและเป็นระยะเวลาล่วงเลยหลังจากที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ พ.ศ.2516ใช้บังคับแล้วนานเกินสมควรการที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้โดยพิจารณาราคาที่ดินในปีพ.ศ.2511เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นย่อมไม่เป็นธรรมแก่ส.ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งตอนท้ายและยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521มาตรา33วรรค3ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของส.ที่ถูกเวนคืนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(5)จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่รวมทั้งราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี2531ซึ่งเป็นปีที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงค์พ.ศ.2516และเป็นปีที่คณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาเงินค่าทดแทนจึงจะเป็นธรรมแก่ส.ผู้ถูกเวนคืน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา14และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21ต่างมีเจตนารมณ์ที่จะให้นำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนและราคาที่สูงขึ้นนั้นเนื่องมาจากการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนนำไปหักออกจากเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสี่ซึ่งใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในคดีนี้จะบัญญัติให้การคำนวณอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาและไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการคำนวณราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนก็ตามแต่คณะกรรมการฯย่อมชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนได้ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์2530ทั้งนี้โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมเหตุสมผลและที่วิญญูชนจะพึงพิจารณาทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบต่อรัฐและมิให้เอกชนเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนบางส่วนได้ประโยชน์เกินสมควรอันไม่เป็นธรรมแก่สังคม การที่จะพิจารณาว่ามีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินทั้งหมดตามโฉนดของส.ที่มีอยู่ในขณะที่การดำเนินการเวนคืนไม่ใช่กรณีเกิดขึ้นภายหลังการเวนคืนแม้ภายหลังส.จะได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดที่ถูกเวนคืนออกเป็นแปลงย่อยและโอนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่บุตรก็ยังถือว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่เหลือจากเวนคืนและนำที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเวนคืนเพื่อตัดถนนและทำระบบระบายน้ำมาหักออกจากค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินจากการเช่าเมื่อผู้ขายไม่ปฏิบัติตามกม. และการกำหนดราคาซื้อตามราคาตลาด
ตามบันทึกการประชุมคชก.จังหวัดพิจิตรซึ่งมีมติให้โจทก์ผู้เช่าสามารถซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่2ผู้รับโอนในราคา65,000บาทตามราคาที่จดทะเบียนไว้โดยไม่ได้มีการพิจารณาว่าขณะที่จำเลยที่2และที่3ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1นั้นราคาที่ดินพิพาทตามราคาตลาดมีราคาสูงเท่าใดสูงกว่าราคาตามที่จดทะเบียนซื้อขายกันหรือไม่แม้มติคชก.ได้ถึงที่สุดไปแล้วก็ตามแต่การพิจารณาเฉพาะเรื่องราคาที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทในราคา65,000บาทนั้นไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งศาลบังคับตามมติในเรื่องนี้ของคชก.ไม่ได้ตามมาตรา58ประกอบพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24แต่คำวินิจฉัยของคชก.ในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทนั้นเป็นคำวินิจฉัยส่วนหลักชอบด้วยกฎหมายไม่เสียไปดังนั้นในส่วนประกอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนี้ศาลมีอำนาจพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบแล้วพิพากษาให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54ได้ ระยะเวลาที่โจทก์ขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1ในราคาไร่ละ5,000บาทแต่จำเลยที่1ไม่ยอมขายให้แก่โจทก์ในราคาดังกล่าวห่างจากเวลาที่จำเลยที่1กับบุตรจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ประมาณ1ปีและได้ความจากคำพยานโจทก์ว่านับแต่ปี2531เป็นต้นมาราคาที่ดินขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆเพิ่งหยุดนิ่งเมื่อปี2534และทางราชการปรับราคาประเมินที่ดินพิพาทในปี2535จากไร่ละ5,000บาทเป็นไร่ละ12,000บาทอันเนื่องมาจากสภาพของราคาที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นมากนั้นเองจึงเชื่อได้ว่าวันจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3นั้นราคาตลาดของที่ดินพิพาทสูงกว่าไร่ละ5,000บาทมากประกอบกับจำเลยทั้งสามนำสืบถึงราคาตลาดของที่ดินพิพาทว่าในขณะนั้นมีราคาไร่ละ12,000บาทเป็นราคาที่สมเหตุสมผลโจทก์จึงต้องซื้อที่ดินพิพาทในราคาไร่ละ12,000บาทตามราคาตลาดซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาที่จำเลยที่2และที่3ซื้อไว้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมฯมาตรา54วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา54บัญญัติให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาที่เช่าจากผู้รับโอนโดยตรงหากการขายนาที่เช่ามิได้ปฏิบัติตามมาตรา53เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและผู้ให้เช่านาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3โดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา53ทั้งโจทก์ได้ร้องขอต่อคชก.เพื่อวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์และได้ผ่านขั้นตอนการอุทธรณ์ต่อคชก.แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2และที่3ผู้รับโอนที่ดินพิพาทขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่ต้องคำนึงว่าเดิมมีผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทบ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาด แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเดิมอ้างอิงราคาประเมิน
แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งขึ้นจะได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือเอาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรุงเทพมหานครพ.ศ.2531ถึง2534ของกรมที่ดินซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯพ.ศ.2531ใช้บังคับตั้งแต่วันที่23พฤษภาคม2531เนื่องจากมีราคาสูงกว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา9วรรคสี่พ.ศ.2530ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาต้องถือปฏิบัติตามในขณะนั้นก็ตามแต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1ยกเลิกความในมาตรา9วรรคสี่โดยให้การกำหนดเงินค่าทดแทนต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา21(1)(4)และ(5)และในข้อ5แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวก็ได้บัญญัติให้มีผลใช้บังคับแก่การฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยดังนั้นเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์หรือมีคำสั่งให้คณะกรรมการกำหนดราคาพิจารณาเงินค่าทดแทนใหม่ตามหลักเกณฑ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวศาลย่อมมีอำนาจกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพื่อความเป็นธรรมได้ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯพ.ศ.2531กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบบริหารงานของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2เป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวโดยมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในกรณีใดกรณีหนึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530อันเป็นหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯพ.ศ.2531ย่อมมีความหมายว่าการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กระทำในฐานะของจำเลยที่2โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด การหักสำรองสินค้าล้าสมัย และการประเมินภาษี
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินไม่รวมถึงการหักสำรองสินค้าล้าสมัยหรือตกรุ่นเนื่องจากตามมาตรา4(5)แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน(ฉบับที่145)พ.ศ.2527บัญญัติเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินนอกจากที่ดินและสินค้า การคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา65ทวิ(6)ประมวลรัษฎากรไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักในการคำนวณราคาขายเพราะสินค้าที่ขายไปแล้วไม่ใช่สินค้าคงเหลือ
of 21