คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ราคาที่ดินขณะฟ้องเป็นเกณฑ์ ศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายตามสมควร
ราคาที่ดินขณะฟ้องส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันเป็นเงินค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการที่จำเลยไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนเงินค่าเสียหายและศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควร โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยเมื่อปี2528ในราคา105,000บาทแต่จำเลยผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จึงขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้หากไม่อาจจดทะเบียนโอนให้ได้ให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้อง(ปี2533)เป็นเงิน420,000บาทดังนั้นการที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน280,000บาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลมีอำนาจกำหนดตามส่วนต่างราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น
การฟ้องให้ใช้เงินแก่โจทก์ตามราคาที่ดินขณะฟ้องส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่ดินที่ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันนี้เป็นเงินที่โจทก์ขาดประโยชน์เนื่องจากการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้เป็นของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายถือเป็นการเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาแม้จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ผู้กล่าวอ้างก็มีหน้าที่นำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายของโจทก์และศาลมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้ตามที่สมควรดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน280,000บาทจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงมัดจำและการคืนเงินกรณีไม่ชำระราคาที่ดินตามสัญญา
โจทก์และ น.กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันว่า ในวันทำสัญญาโจทก์มอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท และ น.ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 5,000,000 บาท ให้จำเลยเป็นมัดจำ และมีข้อตกลงข้อ 4 ว่า หากธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยยินดีคืนเงินจำนวน1,000,000 บาท ตามข้อ 1 ให้แก่โจทก์ และสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำขึ้นตามข้อ 3 เป็นอันยกเลิก แต่เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยก็ไม่ได้คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาทแก่โจทก์ และกลับมีการเพิ่มข้อตกลงเป็นข้อ 6 ว่า จำเลยได้รับเงินจำนวน 500,000 บาท จากโจทก์เพื่อเป็นการวางเงินเพิ่มตามข้อ 1 และตกลงขยายระยะเวลาตามข้อ 5 ออกไปเป็นวันที่ 27 กันยายน 2534 แสดงว่าโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงเปลี่ยนแปลงเฉพาะเรื่องเพิ่มวงเงินที่โจทก์ได้วางตามข้อ 1 จาก 1,000,000 บาท เป็น1,500,000 บาท และขยายระยะเวลาจ่ายเงินร้อยละ 50 ของราคาที่ดินออกไปเป็นวันที่ 27 กันยายน 2534 เท่านั้น ส่วนข้อความอื่น ๆ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้มีผลผูกพันตามเดิม เมื่อถึงวันที่ 27 กันยายน 2534 โจทก์ไม่นำเงินอีกร้อยละ 50 ของราคาที่ดินที่ยังขาดอยู่มาชำระให้จำเลย จำเลยก็จะต้องคืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่ะบุไว้ในข้อ 4 และกรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกทรัพย์คืนตามข้อตกลง มิใช่โจทก์เรียกให้จำเลยคืนทรัพย์ในลักษณะลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7661/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณราคาที่ดินพิพาทและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงไว้70,000บาทและมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2เฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดกับทายาทอื่นเพียงจำนวน10ใน14ส่วนแล้วให้จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนให้โจทก์ทั้งสองคนละ10ใน14ส่วนและให้ผู้ร้องสอด7ใน14ส่วนจำเลยที่2อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์คือราคาที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดชนะคดีคำนวณเป็นเงินแล้วไม่เกิน50,000บาทคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจแัยของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อฎีกาของจำเลยที่2เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้แต่คำรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วย่อมไม่เป็นผลศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5223/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดิน แม้มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงหากราคาที่ดินต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยปักหลักหินบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและให้จำเลยรื้อถอนหลักหินออกไปจากที่ดินพิพาทจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยปักหลักหินบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้วขอให้ยกฟ้อง เป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ที่ดินพิพาทกลับคืนมาเป็นของโจทก์ ส่วนที่โจทก์ห้ามมิให้จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องและให้รื้อถอนหลักหินออกไปจากที่ดินพิพาทนั้นเป็นเพียงคำขอเกี่ยวเนื่อง คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนราคาของที่ดินพิพาทนั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาเพียง 50,000 บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์ต้องคำนวณจากราคาที่ดินตามที่ฟ้องในชั้นต้น แม้จะมีการถอนฟ้องบางส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยที่1โอนที่ดินน.ส.3เลขที่359และให้จำเลยที่2โอนที่ดินน.ส.3เลขที่517คืนสู่กองมรดกจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินทั้งสองแปลงระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่2โอนที่ดินน.ส.3เลขที่517คืนราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามราคาที่ดินแปลงนี้เท่านั้นและต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ในขณะฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นเมื่อมีราคา40,000บาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดราคาที่ดินโดยคณะกรรมการและการชำระเงินตามสัญญา แม้มีการสอบเขตภายหลังก็ไม่ถือเป็นการสำคัญผิด
เมื่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ตรวจสอบจำนวนเนื้อที่ดินและกำหนดค่าทดแทนที่ดินแล้วได้มีการนำเสนอผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตชลประทาน จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกรมชลประทานโจทก์เพื่อพิจารณาอนุมัติดังนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างตัวแทนของโจทก์กับ พ. สามีจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ยอมผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นไปด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย และมีผลผูกพันให้คู่สัญญาต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นแม้ต่อมาได้มีการสอบเขตที่ดินของ พ. อีกครั้งหนึ่งและเจ้าหน้าที่ของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้จัดแบ่งราคาที่ดินออกเป็นสองส่วน ทำให้ค่าทดแทนที่ดินที่ พ. มีสิทธิได้รับลดลง และโจทก์ได้สมัครใจจ่ายค่าทดแทนจำนวนนี้ให้ พ. ไปแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์จะมากำหนดราคาซื้อขายที่ดินขึ้นใหม่แต่ฝ่ายเดียว เป็นเหตุให้ราคาที่ดินลดต่ำลงโดยผู้ขายไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่ จำเลยที่ 4 เป็นช่างรังวัดที่ดิน มีหน้าที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของ พ.ที่ถูกเขตชลประทานตามที่ฝ่ายพ.กับเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานโจทก์นำชี้และตามแนวหลักเขตคลองชลประทานที่เจ้าหน้าที่ของกองสำรวจภูมิประเทศปักไว้ถูกต้องตามระเบียบแล้ว หาได้รังวัดไปโดยพลการตามอำเภอใจของตนไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนที่ดิน เพราะในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินมีคณะกรรมการระดับจังหวัดและคณะอนุกรรมการระดับอำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว โจทก์จึงมิอาจอ้างได้ว่าพ. กับจำเลยที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนตามความเป็นธรรมในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ. 2527 มาตรา 5 ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมาตรา 5 นี้ เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้นแต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ นั้นที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริงและเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีแพ่ง: ทุนทรัพย์ที่แท้จริงเป็นเกณฑ์พิจารณา มิใช่จำนวนที่ระบุในฟ้อง
จำเลยฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็ตามแต่การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ว่าผลจะเป็นประการใด ก็เป็นแต่เพียงชี้ขาดว่าคำพิพากษาชอบด้วยกฎหมายแล้วหรือถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกานั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ฎีกาของจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาได้ จำเลยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว ปัญหาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย และแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ก็เป็นฎีกาที่ชอบจึงไม่ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา ให้แก่โจทก์โดยกำหนดทุนทรัพย์ 3,000 บาท จำเลยที่ 1 คัดค้าน โจทก์กับจำเลยที่ 1รับกันว่าที่ดินตามฟ้องราคา 150,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นเป็นเงิน 150,000 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 เนื้อที่ครึ่งหนึ่งของที่โจทก์ฟ้องคือเนื้อที่2 ไร่ 55 ตารางวา อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 50,000 บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7055/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ข้อตกลงราคาที่ดินนอกเหนือจากสัญญาจดทะเบียน ไม่ขัดต่อมาตรา 94 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตามหนังสือสัญญาที่ทำกันเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2537อีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้น จึงไม่เป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 11