คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายจ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ค่านายหน้าในการขายสินค้าที่ได้จ่ายไปจริงนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ค่าชดเชยความเสียหายเนื่องจากสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อมีคุณภาพต่ำผิดข้อตกลงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไร นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ เมื่อรายจ่ายค่าซื้อที่ดินเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนอันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากรค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ รายจ่ายค่ารับเหมาปูบล็อก ประดับพื้นเป็นรายจ่ายเพื่อทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มิใช่รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซม ให้คงสภาพเดิม จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การรับรู้รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่านายหน้า ค่าเสียหาย ค่าซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ค่านายหน้าในการขายสินค้าที่ได้จ่ายไปจริงนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ค่าชดเชยความเสียหายเนื่องจากสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อมีคุณภาพต่ำผิดข้อตกลงเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไร นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่ง ป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
เมื่อรายจ่ายค่าซื้อที่ดินเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนอันเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่ง ป.รัษฎากรค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดินจึงไม่มีอำนาจนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
รายจ่ายค่ารับเหมาปูปล็อกประดับพื้นเป็นรายจ่ายเพื่อทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน มิใช่รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม จึงถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งป.รัษฎากร จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานโดยมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่จ่ายเสร็จเด็ดขาดทางภาษี
เงินบำเหน็จพิเศษที่โจทก์จ่ายเข้าบัญชีของพนักงานโดยให้พนักงานโอนเงินดังกล่าวมาเป็นเงินประกันตัว แล้วฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานแต่ละคนนั้น โจทก์มีระเบียบว่า พนักงานจะเบิกเงินในบัญชีเงินฝากประจำไม่ได้จนกว่าจะออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ถ้า ทำความเสียหายโจทก์มีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายได้เงินบำเหน็จพิเศษดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จ่ายให้แก่พนักงานโดยเด็ดขาดเป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ การนำสืบหลักฐานนอกฟ้อง และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่ คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517จริงแต่ไม่เต็มตามที่อ้าง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การพิสูจน์รายจ่าย และการแก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์
รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินไม่มีชื่อผู้รับเงินมีแต่ใบสำคัญจ่ายแต่มิได้มีพยานหลักฐานนำสืบว่าได้จ่ายเงินไปจริงแม้เป็นจำนวนเงินเล็กน้อยก็จะรับฟังว่าเป็นความจริงหาได้ไม่. คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวถึงค่าถมทรายในปี2516ข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่าเงินจำนวน1,705,287บาท45สตางค์เป็นรายรับของโจทก์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยที่1ประเมินรายรับขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาสิ่งปลูกสร้างของกรมโยธาธิการและเงินจำนวน53,390บาทเป็นรายจ่ายที่โจทก์ลงบัญชีไว้ว่าเป็นค่าขนส่งแสดงว่าโจทก์หาได้ฟ้องว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบเพราะความจริงโจทก์มีรายจ่ายค่าถมทรายไม่การที่โจทก์นำสืบว่าได้จ่ายค่าถมทรายไปจึงเป็นการนอกฟ้อง โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่ามีรายจ่ายค่าถมทรายในปี2517จำนวนเงินใกล้เคียงกับที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจพบใบเสร็จฉบับแรกกรรมการโจทก์คนหนึ่งลงชื่อรับเงินฉบับที่2ไม่ปรากฏว่าผู้ใดรับเงินฉบับที่3ถึง5ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้รับเงินและฉบับที่6บุคคลภายนอกซึ่งมีอาชีพรับจ้างคัดเหล็กเป็นผู้รับเงินทั้งที่โจทก์มีลูกจ้างไปซื้อทรายจากเรือเร่มาได้อยู่แล้วพยานหลักฐานโจทก์จึงมีพิรุธรับฟังไม่ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากที่ดินที่โจทก์สร้างศูนย์การค้าเป็นที่ลุ่มต้องถมทรายก่อนทำการก่อสร้างจึงน่าเชื่อว่ามีรายจ่ายค่าซื้อทรายถมที่ดินในปี2517แต่ไม่เต็มตามที่อ้าง. ศาลมีอำนาจพิพากษาให้แก้ไขคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ถูกต้องโดยไม่จำเป็นต้องสั่งให้ทำการประเมินใหม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจอดรถไม่ใช่ค่าจ้าง: การจ่ายเหมาเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน
โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถในการออกปฏิบัติงาน แม้จำเลยจะจ่ายค่าจอดรถให้โจทก์ประจำเป็นรายเดือน ก็เพราะค่าจอดรถเป็นรายจ่ายปลีกย่อยไม่สะดวกที่จะจ่ายตามความเป็นจริง เห็นได้ว่าเป็นการจ่ายเหมาเพื่อชดเชยการที่โจทก์ต้องเสียค่าจอดรถไป ค่าจอดรถจึงไม่เป็นค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าเดินทาง, ค่ารับรอง, ค่าของขวัญ, และโบนัส
รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการบริษัท ซึ่งใช้จ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัวของกรรมการผู้นั้น มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทย่อมไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (13)
รายจ่ายค่ารับรองซึ่งไม่ปรากฏว่าจ่ายเพื่อรับรองผู้ใดและจ่ายในกิจการใด ถือเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัว และรายจ่ายค่าของขวัญไม่ใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และมิใช่จ่ายเพื่อเป็นค่ารับรองแต่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หารายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3)
เงินโบนัสของบริษัทที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทไม่มีสิทธินำค่าโบนัสดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา65 ตรี (19)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทุนเลี้ยงชีพต้องจ่ายให้ลูกจ้างเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด จึงจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างที่จะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาด มิใช่เป็นแต่เพียงวิธีการจ่ายทางบัญชีและยังคงอยู่ในความควบคุมของโจทก์ โดยพนักงานเจ้าของเงินไม่มีสิทธิใช้เงินทุนในบัญชีเงินทุนเลี้ยงชีพของตนเองเลยจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อออกจากงานแล้ว แต่โจทก์กลับมีสิทธิใช้โดยนำเงินดังกล่าวไปซื้อหุ้นของธนาคารโจทก์ได้ จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 65 ตรี (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจ่ายระหว่างสาขาธนาคารต่างประเทศ: รายจ่ายต้องห้ามทางภาษีและจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
เงินที่ธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศรับฝากจากลูกค้าแล้วส่งมาให้สาขาในประเทศไทยลงทุน แม้จะเป็นเงินซึ่งจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝาก ก็เป็นรายจ่ายของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมิใช่รายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยเงินดังกล่าวเมื่อส่งมาลงทุนในประเทศไทยย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ดังนั้นดอกเบี้ยที่สาขาในประเทศไทยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศย่อมถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง เป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งตนเป็นเจ้าของเองและใช้เองกับเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนของตนเอง จึงเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10) และ (11) ต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจ่ายดอกเบี้ยของสาขาในประเทศไทยดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์รายจ่ายเพื่อหักลดหย่อนภาษี: หลักฐานการรับเงินสำคัญกว่าลายมือชื่อ
การพิสูจน์รายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) นั้น เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในสำนวนว่า ผู้จ่ายพิสูจน์ได้หรือไม่ว่าใครเป็นผู้รับเงิน
โจทก์เป็นบริษัทประกอบกิจการรับซื้อข้าวในประเทศส่งไปขายต่างประเทศ รายจ่ายค่าซื้อข้าวจากพ่อค้าเร่ตามใบเสร็จรับเงิน จำนวน 1,506 ฉบับ เป็นเงิน 73 ล้านบาทเศษนั้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่าพ่อค้าเร่ขายข้าวมีอยู่จริง และโจทก์นำพยานจำนวนถึง 45 ปาก มาเบิกความรับรองว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน ทั้งปรากฏว่า ปริมาณข้าวที่มีอยู่ที่บริษัทโจทก์ถูกต้อง ดังนี้ โจทก์พิสูจน์ได้ว่าใครเป็น ผู้รับเงินตามใบเสร็จรับเงินจำนวน 1,506 ฉบับ โจทก์จึงมีสิทธินำ จำนวนเงินตามใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิได้
of 7