พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: การแบ่งรายได้, การบังคับบัญชา, และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์เป็นช่างแต่งผมชาย ใช้สถานที่ของจำเลยเปิดบริการลูกค้า โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ และของใช้ต่าง ๆ ส่วนโจทก์มีกรรไกร ปัตตะเลี่ยน เครื่องมือใช้เช็ดหู รายได้จากการแต่งผมชายของโจทก์แบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยจำเลยจ่ายส่วนที่จะได้แก่โจทก์ ให้โจทก์ทุกวันที่ 1 และ 16 ของแต่ละเดือน ได้มีการตกลงเรื่องระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า โจทก์ต้องตอกบัตรลงเวลาการทำงาน หากโจทก์ไม่มาทำงานหรือมาทำงานสายในวันใด โจทก์จะถูกหักค่าจ้าง โจทก์ได้รับบัตรประจำตัวพนักงานจากจำเลยเพื่อแสดงว่าเป็นพนักงานและจำเลยใช้ตรวจสอบในการอนุมัติให้เข้าออกบริเวณสถานที่ของจำเลย โจทก์ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน เห็นได้ว่าโจทก์มีเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จำเลยมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาให้โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดเวลาทำงานและตรวจสอบเวลาทำงานของโจทก์ กับมีอำนาจหักรายได้ของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ขาดงานหรือมาทำงานสาย และเงินรายได้จากการแต่งผมที่จ่ายให้โจทก์ก็คำนวณได้ตามผลงานที่โจทก์ทำได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้แก่จำเลย เพื่อรับค่าจ้างโดยคำนวณค่าจ้างตามผลงานที่โจทก์ทำได้ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการขับรถสองแถวของผู้ที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นรายได้ที่ใช้ชดใช้ค่าเสียหายได้
ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีอายุ 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างซึ่งจัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมาย การขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้และการพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินร่วม4,000,000 บาท แม้จำเลยอาจมีรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมค้าขายพืชผลเดือนละประมาณ 100,000 บาท มาชำระหนี้โจทก์จริงโดยไม่คลาดเคลื่อนก็ตามแต่กว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 4 ปี อีกทั้งโจทก์ก็ไม่ยินยอมด้วยดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบหักล้างก็ตามก็ถือไม่ได้ว่ารายได้ประจำปีของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของกับการประเมินภาษี: รายได้จากวัสดุอุปกรณ์และกำไรที่ส่งจากต่างประเทศ
สัญญาข้อ 3.2 ระบุหน้าที่ของโจทก์ว่า โจทก์มีหน้าที่จัดหาแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดและปฏิบัติงานทั้งสิ้นกับข้อ 3.3 ระบุว่า การไฟฟ้ามีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแรงงาน วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้และงานที่โจทก์ทำไป ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587ส่วนการที่โจทก์ที่ประเทศอินเดียมีโรงงานผลิตเสาไฟฟ้าแรงสูงจำหน่ายทั่วโลกนั้น ก็มิได้หมายความว่าผู้ผลิตสินค้าจำหน่ายจะรับจ้างทำของด้วยไม่ได้ และข้อที่ปรากฏว่าการส่งเสาไฟฟ้าแรงสูงมายังประเทศไทย การไฟฟ้าจะเป็นผู้ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและดำเนินการต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้ซื้อนั้น ก็ปรากฏว่าค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างครั้งนี้ การไฟฟ้าจะจ่ายจากเงินที่กู้จากธนาคารโลกโดยให้ธนาคารโลกส่งเงินไปให้โจทก์โดยตรงที่ประเทศอินเดีย ฉะนั้น วิธีการปฏิบัติดังกล่าวน่าจะเพื่อให้สามารถแยกราคาค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ออกไปได้และเพื่อความสะดวกเท่านั้น หาทำให้สัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายรวมอยู่กับสัญญาจ้างทำของไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีการค้าโดยนำเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มารวมเป็นค่าจ้างหรือรายรับจากการค้าประเภท 4 ชนิด 1(ค) การปลูกสร้างหรือการก่อสร้างทุกชนิดตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ในประมวลรัษฎากร จึงชอบแล้ว เมื่อโจทก์จัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทยเพื่อดำเนินการตามสัญญาจ้างทำของก็เท่ากับว่า โจทก์เป็นผู้ดำเนินการรับจ้างทำของในประเทศไทย วัสดุที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยจึงเป็นสัมภาระที่โจทก์จัดหามาเพื่อการรับจ้างทำของของโจทก์ ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวจึงเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการในประเทศไทยของโจทก์ ตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ส่วนที่การนำเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆเข้ามาได้กระทำโดยการไฟฟ้าสั่งซื้อ และการจ่ายเงินก็ได้ให้ธนาคารโลกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ประเทศอินเดียโดยตรง ก็เป็นเพราะการไฟฟ้าได้กู้เงินจากธนาคารโลกมาจ่ายเป็นค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ วิธีการได้วัสดุมาดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อลดขั้นตอนและเพื่อความสะดวกบางอย่างเท่านั้น ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์จึงมิใช่เงินที่การไฟฟ้าซื้อจากโจทก์ค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวก็ย่อมรวมอยู่ในค่าจ้างทำของของโจทก์อันได้ดำเนินการในประเทศไทยนั่นเอง เงินจำนวนนี้จึงเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย มิใช่นำมาคำนวณเฉพาะค่าติดตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง เมื่อโจทก์มิได้นำเงินจำนวนนี้มาคำนวณในการเสียภาษีด้วย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจตรวจสอบภาษีและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเพียงพอแล้ว จึงฟังได้ว่าโจทก์มิได้ส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่เจ้าพนักงานประเมินเพื่อหาต้นทุนสินค้า เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) การประเมินจึงชอบแล้ว การที่เงินกำไรที่รวมอยู่ในค่าเสาไฟฟ้าแรงสูง และวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้ส่งจากธนาคารโลกซึ่งอยู่ต่างประเทศไปยังประเทศอินเดียให้โจทก์โดยตรง ก็เนื่องจากการไฟฟ้าได้กู้ยืมเงินจำนวนนี้จากธนาคารโลก การกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสะดวกเท่านั้นกรณีเท่ากับว่าธนาคารโลกได้ส่งเงินค่าเสาไฟฟ้าแรงสูงและวัสดุอุปกรณ์มาให้การไฟฟ้าในประเทศไทย แล้วการไฟฟ้าผู้ว่าจ้างได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้สาขาโจทก์ในประเทศไทย และสาขาโจทก์ในประเทศไทยส่งเงินไปยังโจทก์ในประเทศอินเดียนั่นเอง สาขาโจทก์ในประเทศไทยก็คือตัวโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ส่งหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย กรณีต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีโดยคำนวณหากำไรจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา: การใช้รายได้ 1 ปี ชำระหนี้ และการแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์
ความหมายแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาตรา 307 ให้ใช้รายได้1 ปี มาชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามคำพิพากษา มิใช่ให้ผ่อนชำระเป็นรายปีแล้วแต่ลูกหนี้จะผ่อนชำระได้
จำเลยที่ 2 มิได้มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึด จึงไม่อาจตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 2 มิได้มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึด จึงไม่อาจตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย: พิจารณาฐานะทรัพย์สินและรายได้ของจำเลยเพื่อวินิจฉัยความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งนักสำรวจดิน 6 กรมพัฒนาที่ดินนอกจากมีรายได้ประจำจากเงินเดือนยังประกอบกิจการค้าขายอาหารร่วมกับภรรยา บ้านของจำเลยแม้จะปลูกอยู่ในที่ดินบุคคลอื่นและรถยนต์อยู่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อแต่ทั้งบ้านและสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยย่อมนำไปแสวงหาประโยชน์ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก จำเลยจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ มิได้เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ในคดีล้มละลายต้องเสียเพียง 50 บาท ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) โจทก์เสียมา 200 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการทรัพย์เพื่อชำระหนี้จากกิจการที่สร้างรายได้ แทนการขายทอดตลาด
รถตัดและเครื่องชั่งที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดนั้นจำเลยใช้ในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมของจำเลยซึ่งทำรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงสมควรตั้งผู้จัดการทรัพย์ในการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: จำนวนหนี้ไม่มากเมื่อเทียบกับอาชีพและรายได้, ไม่มีเจ้าหนี้อื่น, เหตุไม่ควรล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยเป็นหนี้โจทก์เพียง 65,168.31 บาท ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักเมื่อคำนึงถึงอาชีพทนายความและรายได้ของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก รูปคดีมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2497 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลาย พิจารณาจากทรัพย์สินและรายได้ของจำเลย
การที่จำเลยยังมีที่ดินและยังประกอบกิจการโรงพิมพ์อยู่นั้นแสดงว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอยู่มาก และยังประกอบกิจการมีรายได้จึงมีทางขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เคยเสียภาษีเงินได้นั้น มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดว่าจำเลยไม่มีรายได้สำหรับเงินฝาก แม้จำเลยจะนำมาฝากก่อนเบิกความ 2 วัน ก็ถือเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์อาจบังคับชำระหนี้ได้ แม้จำเลยเป็นหญิงมีสามี ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นสินสมรสจะต้องแบ่งครึ่ง จึงไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์นั้น เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีที่จะต้องว่ากล่าวกันภายหลัง ยังไม่อาจทราบว่าหนี้ที่จำเลยค้างชำระเมื่อบังคับคดีพอชำระหนี้หรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3143/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้จากค่าปรับทางบัญชีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยใช้หลักเกณฑ์สิทธิ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2519 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินและอาคารจากบริษัท ส. ในราคา 36,000,000 บาท ชำระราคาครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้ลงบัญชีที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ต่อมาบริษัท ส. ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ จึงตกลงใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 15,000,000 บาท โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 5 ปี และโจทก์ได้ลงบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันว่าบริษัท ส. เป็นลูกหนี้โจทก์ในเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวนอกจากนี้ยังได้หมายเหตุไว้ในงบกำไรขาดทุนและขาดทุนสะสมของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันว่าโจทก์จะได้รับชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวจากบริษัท ส.ภายใน5ปีและบริษัทส. ก็หมายเหตุไว้ในงบกำไรขาดทุนของตนว่า บริษัทจะชำระค่าปรับจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ภายใน 5 ปี ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ว่าโจทก์มีเงินได้เป็นค่าปรับจากบริษัท ส. จำนวน 15,000,000 บาทในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2519 นั้น จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิ์มีหน้าที่ต้องนำค่าปรับดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย