พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการวิ่งราวทรัพย์: การช่วยเหลือหลังการกระทำความผิด ไม่ถึงตัวการร่วม และไม่ริบรถยนต์
จำเลยได้ร่วมรู้คบคิดกับ ศ. และพวกที่จะมาวิ่งราวทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยมีการวางแผนให้ ศ.ไปทำการ ส่วนจำเลยกับพวกจอดรถอยู่ห่างที่เกิดเหตุ เมื่อ ศ.วิ่งราวทรัพย์แล้วก็จะวิ่งหนีมาขึ้นรถยนต์ของจำเลยหลบหนีไป จำเลยจอดรถคอยอยู่ห่างที่เกิดเหตุประมาณ 80 เมตร และมีศาลาวัดบังมองไม่เห็นที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่ ศ.ในการที่จะไปทำการวิ่งราวทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา 86
การที่จำเลยกับพวกจอดรถกับ ศ.ไป เป็นเวลาภายหลังเมื่อ ศ.วิ่งราวทรัพย์เสร็จแล้ว ที่จอดรถและที่ ศ.วิ่งราวทรัพย์ห่างกันมาก และมองไม่เห็นกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการวิ่งราวทรัพย์
รถยนต์ของจำเลยมิใช่ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์จึงไม่ถึงริบตามมาตรา 33(1)
การที่จำเลยกับพวกจอดรถกับ ศ.ไป เป็นเวลาภายหลังเมื่อ ศ.วิ่งราวทรัพย์เสร็จแล้ว ที่จอดรถและที่ ศ.วิ่งราวทรัพย์ห่างกันมาก และมองไม่เห็นกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมในการวิ่งราวทรัพย์
รถยนต์ของจำเลยมิใช่ทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์จึงไม่ถึงริบตามมาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิดป่าไม้: ศาลพิจารณาจากบทบัญญัติอาญาควบคู่กับดุลพินิจ
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของตนนำไปบรรทุกถ่านจากผู้ที่ลักลอบเผา โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นถ่านที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้จะมีบทบัญญัติเกี่ยวแก่การริบทรัพย์เป็นพิเศษซึ่งไม่อาจใช้บังคับแก่รถยนต์ของกลางคันนี้ได้ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีข้อความใดบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นอันจะแสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการให้นำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับ ต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 มาใช้บังคับในการที่จะริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 531/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และการใช้ยานพาหนะเป็นอุปกรณ์ในการกระทำผิด ทำให้ต้องริบรถยนต์
ไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปและไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงประทับไว้ จำเลยรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ตัดฟันโดยไม่ชอบ ยังนำมาไว้ในความครอบครองของจำเลย อันเป็นความผิดฐานเป็นตัวการในการกระทำความผิดตามมาตรา11, 69, 70, 73แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เมื่อจำเลยมีไม้หวงห้ามดังกล่าวไว้โดยมิได้รับอนุญาต ด้วยการใช้รถยนต์ของกลางบรรทุกไม้ดังกล่าวมา อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69ย่อมเป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นอุปกรณ์เพื่อให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 69 และมาตรา 74 ทวิ โดยตรงอยู่แล้ว จึงต้องริบรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีป่าไม้: แม้เจ้าของรถไม่รู้เห็น ก็ริบได้หากใช้เป็นพาหนะขนย้ายไม้ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ไว้ในความครอบครอง อันยังมิได้แปรรูปไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง หรือรอยตรารัฐบาลขายประทับไว้ และจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางในการกระทำผิดขนย้ายไม้หวงห้ามดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมสั่งริบรถยนต์ของกลางได้โดยโจทก์มิต้องนำสืบว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยหรือเจ้าของรถยนต์ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ทั้งนี้เพราะรถยนต์ของกลางเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิดอันเข้าข่ายต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์มิได้อ้าง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้น เมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ โทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27 ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้ แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีศุลกากร: ศาลฎีกาพิจารณาความผิดตามมาตรา 27 ทวิ และอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33
คำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 นั้นเมื่อมาตรา 4 บัญญัติให้เพิ่มความเป็นมาตรา 27 ทวิ ก็เท่ากับโจทก์อ้างและขอให้ลงโทษตามความในมาตรา 4 คือ มาตรา 27 ทวิแล้ว
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
การกระทำของจำเลยผิดพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิโทษเบากว่ามาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ เพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพ.ศ. 2499 กับความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นผิดตามมาตรา 27ส่วนพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 32 ก็ให้ริบทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่ประชุมใหญ่เห็นว่าจะริบรถยนต์ของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 ไม่ได้แต่ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้แม้โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 33 แต่ก็ขอให้ริบรถยนต์ของกลางมาแล้ว ศาลจึงริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักลอบนำเข้าสลากและสินค้า การริบรถยนต์ของผู้เช่า และบทบัญญัติที่ขัดรัฐธรรมนูญ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ลักลอบนำสลากกินแบ่งของสหพันธรัฐมลายาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยวิธีซ่อนเร้น ด้วยการละเว้นไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง นั้น ชัดเจนพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดว่าการผ่านศุลกากรโดยถูกต้องจะต้องทำอย่างไร ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบนำของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใด ก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริมทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่นั้น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2467 มาตรา 27 เป็นบทบังคับให้ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร แม้จะเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรก็ต้องผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก่อน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2480 มาตรา 11 นั้น เป็นบทลงโทษผู้ทำการขนส่งฝ่าฝืนมาตรา 7 และ 8 จะนำมาปรับแก่กรณีผู้ลักลอบนำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้
เมื่อจำเลยใช้รถยนต์ของกลางลักลอบนำของซ่อนเร้นเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดแล้ว แม้ของจะมากน้อยเท่าใด ก็ได้ชื่อว่าจำเลยใช้รถยนต์ของกลางกระทำผิดด้วยแล้ว
พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ที่บัญญัติให้ริมทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นของบุคคลใดและเจ้าของจะได้รู้เห็นในการกระทำผิดด้วยหรือไม่นั้น ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์เป็นอุปกรณ์ในการกระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้เจ้าของรถจะไม่มีส่วนรู้เห็น
การสั่งริบของกลางในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราตามกฎหมายโดยิมได้รับอนุญาตตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ส. 2484 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบรถยนต์ที่จำเลยขับบรรทุกไม้ของกลางนี้มาจากป่าและถูกยึดไว้เป็นของกลางด้วยได้ เพราะรถยนต์นี้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการมีไม้หวงห้ามนั้นตามมาตรา 74 ทวิ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราตามกฎหมายโดยิมได้รับอนุญาตตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ส. 2484 เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบรถยนต์ที่จำเลยขับบรรทุกไม้ของกลางนี้มาจากป่าและถูกยึดไว้เป็นของกลางด้วยได้ เพราะรถยนต์นี้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการมีไม้หวงห้ามนั้นตามมาตรา 74 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์เป็นอุปกรณ์ในการกระทำความผิดฐานมีไม้หวงห้าม ต้องพิจารณาว่ารถยนต์ช่วยให้เกิดผลในการกระทำผิดหรือไม่
การสั่งริบของกลางในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราตามกฎหมายโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบรถยนต์ที่จำเลยขับบรรทุกไม้ของกลางนี้มาจากป่าและถูกยึดไว้เป็นของกลางด้วยได้ เพราะรถยนต์นี้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการมีไม้หวงห้ามนั้นตามมาตรา 74 ทวิ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปและไม่มีรอยตราตามกฎหมายโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนี้ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้ริบรถยนต์ที่จำเลยขับบรรทุกไม้ของกลางนี้มาจากป่าและถูกยึดไว้เป็นของกลางด้วยได้ เพราะรถยนต์นี้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการมีไม้หวงห้ามนั้นตามมาตรา 74 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6736/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีขับรถเมาแล้วหลบหนี ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ว่ารถยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
รถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ขับในขณะเมาสุราและขับรถหลบหนีด้วยความเร็วสูงโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นถือเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโดยตรงอันพึงริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)