พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม การจัดสรรที่ดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาให้ฟ้องและดำเนินคดีแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนได้หาจำต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาอีกครั้งไม่
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินไว้ในข้อ 1 ว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด เมื่อปรากฏว่า ป.และ ย.ได้ร่วมกันแบ่งแยกที่ดินของตนออกเป็นแปลงย่อย รวม 27 แปลง แล้วประกาศขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้ระบุที่ดินพิพาทอันเป็นรูปตัวทีในหนังสือโฆษณาจัดทำเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ซื้อที่ดิน การกระทำของ ป.และ ย.จึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า บุคคลทั้งสองได้จัดให้มีสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตามข้อ 1ดังกล่าวประกอบด้วย ข้อ 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 32 ส่วนการที่ ป.และ ย.จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่เป็นอีกเรื่องต่างหาก หากบุคคลทั้งสองนั้นจะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของบุคคลทั้งสองดังกล่าวไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินจัดสรรและที่ดินโจทก์ที่ได้รับจาก ส.ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจาก ป.และ ย. จำเลยจะอ้างว่าจำเลยเป็นบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างสิ่งของลงบนที่ดินพิพาทเพื่อกีดขวางทางภาระจำยอม อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเครื่องกั้นกีดขวางให้ออกไปจากทางภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ การรื้อถอนทรัพย์สิน และค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดง แผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้ว ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจน พอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใด ถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้างเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณี กระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชน ใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะ ด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยืนหลักการรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร แม้แก้ไขไม่ได้ และเจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายพิเศษการฟ้องบังคับตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงฟ้องขอให้บังคับให้รื้อถอนได้เสมอหากอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 กำหนดว่าการก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนกฎหมายในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ครอบครองอาคารพิพาทได้ อาคารพิพาทเป็นตึกแถว จึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 76(4) ให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมไว้เป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรการที่อาคารของจำเลยทุกห้องมีการดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มที่ว่างด้านหลังอาคารทุกชั้นรวมทั้งการต่อเติมอีก 2 ชั้น ดังกล่าวย่อมเห็นได้โดยสภาพว่าไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ ดังกล่าวได้ นอกจากจะรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวออกไป การที่โจทก์สั่งให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 รื้อถอนโดยไม่สั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลีกเลี่ยงคำพิพากษา: การกระทำโดยใช้วัสดุอื่นเพื่อรุกล้ำที่ดินหลังศาลสั่งรื้อถอน
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงคอนกรีตที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยรับคำบังคับแล้วได้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกจากแนวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของฝ่ายโจทก์ แต่ได้ใช้แผ่นเหล็กหนา 15 เซนติเมตร และ50 เซนติเมตร สูง 1.50 เมตร ก่อกำแพงตามแนวเดิมอันทำให้เป็นไปตามสภาพเดิมอีก ถือเป็นการกระทำโดยวิธีการอันแยบคายของจำเลยที่อาศัยการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างอื่น ให้ผิดไปจากที่ระบุไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นที่เข้าใจ และประจักษ์ชัดว่าจำเลยมีเจตนาแท้จริงที่จะหลีกเลี่ยงไม่ถือปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งนี้ก็โดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อไปนั่นเอง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนและขนย้ายวัสดุดังกล่าวออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ ไม่เป็นการบังคับคดีเกินหรือนอกคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางผ่านเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็นกับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้นทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธาณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ
เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณนั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอควรแก่ความจำเป็นที่โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม
จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณนั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอควรแก่ความจำเป็นที่โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม
จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอม: หน้าที่ในการปลูกสร้างบ้านใหม่หลังรื้อถอน
การที่ ป.ไม่ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีฐานทำให้เสียทรัพย์แก่จำเลยทั้งสอง ก็เนื่องจากจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยทั้งสองจะปลูกสร้างบ้านใหม่ให้คืนสู่สภาพเดิม เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ ป.ไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองที่รื้อบ้านพิพาท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทระหว่างป.กับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่จะต้องปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ตามข้อตกลงดังกล่าว และเมื่อตามข้อตกลงดักล่าว ป.ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทขึ้นใหม่ โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของ ป. ก็ไม่จำต้องร่วมออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านพิพาทกับจำเลยทั้งสองด้วย จำเลยทั้งสองต้องเป็นผู้ออกวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมแย่งการครอบครองที่ดินจากผู้ครอบครองก่อน ย่อมถูกฟ้องรื้อถอนได้ แต่ไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากที่ดินรวมได้
ที่ดินพิพาทเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรวมทั้งโจทก์และจำเลย การที่จำเลยใช้คนงานเข้าไปถมดินทำรั้วสังกะสีล้อมที่ดินพิพาทไว้ทั้งสี่ด้านและทำเสาเพื่อสร้างโรงจอดรถของจำเลยในที่ดินพิพาทโดยอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของตน มิใช่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคน หากแต่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองจากโจทก์ในลักษณะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเอง จำเลยไม่อาจอ้างว่าจำเลยเข้าใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1360 วรรคหนึ่ง โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก่อนซึ่งได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงจึงชอบที่จะเข้าขัดขวางและฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อรั้วถอนรั้วสังกะสีและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทได้
จำเลยรื้อรั้วลวดหนามและตัดฟันต้นกล้วย ต้นจาก และต้นมะพร้าวของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวมอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ผู้เดียว หากแต่เป็นของเจ้าของรวมทุกคนคือโจทก์และจำเลย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่ได้
จำเลยรื้อรั้วลวดหนามและตัดฟันต้นกล้วย ต้นจาก และต้นมะพร้าวของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทที่โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของรวมอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยย่อมต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ แต่เมื่อที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นของโจทก์ผู้เดียว หากแต่เป็นของเจ้าของรวมทุกคนคือโจทก์และจำเลย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเพื่อประโยชน์ที่ดินจัดสรร: สิทธิใช้ทาง & การรื้อถอนสิ่งกีดขวาง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน2515 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ประกอบข้อ 32 จะเห็นได้ว่า ถึงแม้การจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินกระทำอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 32 จะไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ตาม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อ 30 กล่าวคือ ถือว่าสาธารณูปโภคเช่นว่านั้นตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และจากถ้อยคำในข้อ 32ที่ว่า "ผู้ใดจัดสรรที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจา-นุเบกษา และ...หรือได้จัดให้มีสาธารณูปโภค...หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรมไปแล้วบางส่วน...ฯลฯ" ย่อมมีความหมายชัดแจ้งอยู่แล้วว่า สาธารณูปโภคดังกล่าวคือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หาใช่สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินภายหลังประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับไม่เมื่อบริษัท น.ดำเนินการจัดสรรที่ดินหมู่บ้าน ม.เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2516 และถนนซอยพิพาทเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ใช้บังคับ ถนนซอยพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 และ 32 ถึงแม้ถนนซอยพิพาทเป็นทางเข้าออกบ้านของจำเลยทั้งสองสู่ถนนสายหลักของหมู่บ้าน ม.และถนนสาธารณะ โดยผ่านรั้วด้านข้างบ้านของโจทก์และเจ้าของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งไม่มีประตูที่รั้วด้านดังกล่าว แต่ในเมื่อถนนซอยพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30และ 32 โจทก์ในฐานะเป็นผู้อาศัยอยู่ในที่ดินจัดสรร จึงมีสิทธิใช้ถนนซอยพิพาทได้ซึ่งอาจจะใช้เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว เช่น ในยามเกิดอัคคีภัยเป็นต้นที่จำเลยทั้งสองร่วมกันจัดทำประตูรั้วเหล็กปิดกั้นถนนซอยพิพาท ย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนรั้วเหล็กดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมได้มาจากการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภารจำยอม
การที่จะได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401นั้นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์จะต้องใช้ทางผ่านที่ดินภารยทรัพย์โดยมิได้ขออนุญาตจากเจ้าของและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะติดต่อกันมาเกิน10ปีห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ได้ดำเนินการจัดสรรแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยปลูกตึกแถวขายพร้อมที่ดินประมาณ40คูหาแก่บุคคลทั่วไปโดยเหลือที่ดินทำเป็นถนนตรงกลางคือทางพิพาทเพื่อให้บุคคลที่มาซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แสดงออกโดยชัดแจ้งต่อบุคคลที่มาซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินว่าไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในทางพิพาทโดยยอมให้บุคคลที่ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินใช้ทางพิพาทอันกระทบถึงสิทธิของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางพิพาทบิดาโจทก์ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินและได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี2505จึงมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมที่ดินและตึกแถวเป็นมรดกตกทอดได้แก่โจทก์โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทเช่นเดียวกับบิดาโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตจากใครและมิได้ใช้โดยถือวิสาสะไม่เคยมีใครมาห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและเมื่อจำเลยที่1ซื้อที่ดินโฉนดทางพิพาทจากกรมบังคับคดีเมื่อปี2527จำเลยที่1ก็ไม่เคยห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทจำเลยก็ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมเพียงแต่โต้แย้งว่าไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกลงดังนี้ถือได้ว่าบิดาโจทก์และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อจะให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของการที่จำเลยที่1เก็บค่าเช่าจากพวกพ่อค้าที่มาตั้งแผงขายสินค้าบริเวณสองข้างทางพิพาทจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทต่อบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความของโจทก์ บิดาโจทก์ใช้ทางพิพาทมาตั้งแต่ปี2505อายุความที่จะได้สิทธิจึงเริ่มนับตั้งแต่ปี2505เมื่อโจทก์รับมรดกที่ดินจากบิดาโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากอายุความนั้นด้วยและนับติดต่อกันกับช่วงที่โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากบิดานับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10ปีทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ปากทางพิพาทนี้เดิมกว้าง6.80เมตรเมื่อจำเลยที่1สร้างอาคาร6ชั้นคร่อมปากทางเสาและผนังอาคารกินทางเข้ามาข้างละ65เซนติเมตรจึงทำให้ทางพิพาทแคบเข้า1.30เมตรคงเหลือเป็นทางอยู่5.50เมตรการกระทำของจำเลยที่1เจ้าของภารยทรัพย์เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดลงไปและเสื่อมความสะดวกเพราะเดิมทางกว้าง6.80เมตรรถยนต์วิ่งสวนกันเข้าออกได้สะดวกเมื่อทางเหลือเพียง5.50เมตรรถยนต์ย่อมวิ่งเข้าออกสวนกันไม่ได้สะดวกถึงแม้จำเลยที่1จะได้ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่รู้ว่าที่พิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และที่ดินของผู้ที่ซื้อที่ดินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ผู้จัดสรรขายแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นสภาพไปจำเลยที่1จึงต้องรื้ออาคารที่จำเลยที่1ปลูกสร้างคร่อมทางภารจำยอมออกไปการที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปลูกสร้างอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่1จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทถึงแม้คำสั่งของจำเลยที่2จะชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อาจลบล้างสิทธิการได้ทางภารจำยอมของโจทก์ได้ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่1รื้อถอนอาคารพิพาทออกจากทางภารจำยอมแล้วจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่2ที่อนุญาตให้จำเลยที่1ทำการปลูกสร้างอาคารพิพาทนั้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7598/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิใช้ทางสาธารณะ การรื้อถอนสิ่งกีดขวาง และขอบเขตการคิดค่าเสียหาย
จำเลยได้นำเสาปูนมาปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่ให้รถยนต์ของโจทก์ผ่านทางพิพาทไปยังที่ดินของโจทก์ซึ่งประกอบกิจการโรงสีและเลี้ยงเป็ด ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนในการใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่15 ธันวาคม 2534 จนกว่าจะรื้อถอนเสาคอนกรีตออกจากทางพิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2535 ว่า โจทก์ขอคิดค่าเสียหายนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเพียง30 วัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 27 เมษายน 2535เป็นเวลาถึง 135 วันจึงเป็นเวลาพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้