คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอนอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต้องอาศัยเหตุตามกฎหมายชัดเจน หากเพียงก่อสร้างเกินข้อตกลง หรือไม่มั่นคงแข็งแรง ยังไม่อาจสั่งรื้อได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้เฉพาะกรณีการก่อสร้างไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้างนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วยเมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุว่าการก่อสร้างอาคารของจำเลยผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น คงปรากฏเพียงว่าจำเลยก่อสร้างอาคารใหญ่โตเกินไป ซึ่งเจ้าของที่ดินถือว่าเป็นการผิดข้อตกลง และยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับการออกใบอนุญาตจึงหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่ทั้งไม่ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือผิดสุขลักษณะอนามัยหรือไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โจทก์จึงไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารโดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบและความรับผิดของเจ้าของที่ดินที่รับโอนสิทธิภายหลังการก่อสร้าง
จำเลยที่ 1 ได้รับโอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างผิดแบบแปลนโดยมิชอบด้วยกฎหมายจากจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2521ซึ่งเป็นขณะที่อยู่ในระหว่างการใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 บังคับ โจทก์ไม่อาจฟ้องเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารเช่นจำเลยที่ 1 ได้ แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เป็นเวลาระหว่างที่ พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ ซึ่งตาม พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ มาตรา 40 และมาตรา 42 ให้อำนาจโจทก์ขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารนั้นได้ ก็จะนำมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายย้อนหลังที่มีผลเสียหายแก่จำเลยที่ 1ซึ่งมิได้เป็นผู้ปลูกสร้างและต่อเติมอาคารพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนส่วนของอาคารที่ต่อเติมผิดแบบแปลนนั้นได้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ไม่ได้รับอนุญาต: อำนาจฟ้องมีจำกัดตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารต่อเติมที่ผิดกฎหมาย: อำนาจฟ้องและการใช้กฎหมายย้อนหลัง
ในขณะที่จำเลยที่ 2 แก้ไขต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารดังกล่าวมาจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นระยะเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ยังใช้บังคับซึ่งตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ทำการก่อสร้างรื้อถอนอาคาร แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีจะเป็นระยะเวลาที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติให้อำนาจโจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองนั้นรื้อถอนได้ก็ตามแต่บทบัญญัติดังกล่าวนี้ไม่มีผลย้อนหลังโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รื้อถอนอาคาร และปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีปัญหานี้ขึ้นสู่ศาลฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น, การมอบอำนาจ, การรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย, การเว้นทางเดินหลังอาคาร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนซึ่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีฐานะเป็นบุคคลและเอกสารที่มอบอำนาจดังกล่าวก็ปรากฏว่าโจทก์มอบอำนาจของโจทก์ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ดังนี้อำนาจของหัวหน้าเขตที่ได้กระทำแก่จำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการกระทำของโจทก์เองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 33กำหนดให้ปลัดกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่ผู้ว่าฯและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นใดนอกจากการออกตามวาระ การที่ปลัดกรุงเทพมหานครลงนามในคำสั่งมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้ว่า ฯ ย่อมเป็นการกระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่สืบหักล้างว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรจึงต้องถือว่าคำสั่งมอบอำนาจนั้นชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มิได้สืบเนื่องมาจากมูลความผิดทางอาญาในความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำข้อเท็จจริงในคดีอาญามารับฟังเป็นยุติในคดีแพ่งหาได้ไม่
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522ข้อ 76(4) กำหนดให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกัน กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และมีกฎกระทรวง (พ.ศ.2498) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 ข้อ 21 บังคับมาแต่เดิมแล้วว่า ห้องแถว ตึกแถวให้ทำกว้างไม่น้อยกว่า 350 เซนติเมตรระหว่างผนัง และต้องมีทางคนเข้าออกได้ทั้งข้างหน้ากับข้างหลัง เช่นนี้ หากปรากฏว่าเดิมมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ด้านหลังอาคารพิพาทเต็มเนื้อที่จริง ก็เป็นเรื่องที่ผู้อาศัยแต่เดิมทำผิดกฎหมายมาแต่แรกจำเลยจะอาศัยการกระทำของผู้อื่นที่ผิดกฎหมายมาสวมรอยเพื่อซ่อมแซมหรือดัดแปลงให้เหมือนของเดิมหรือผิดแผกแตกต่างไปบ้างหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเลยต้องรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมนั้นออกไป.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และอายุความตามกฎหมายพิเศษ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจยื่นคำขอต่อศาลให้มีการรื้อถอนอาคารได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 และเมื่อหัวหน้าเขตผู้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพบว่าจำเลยต่อเติมอาคารผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครโดยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ และมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่กำหนดแล้ว ดังนี้ ข้อบัญญติกรุงเทพมหานครเป็นข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง เมื่อโจทก์นำสืบว่าได้ปฏิบัติตามครบทุกขั้นตอนแล้ว แม้ไม่นำสืบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
การฟ้องคดีให้ผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตรื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้นมิใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ และกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มิใช่อายุความตามมาตรา448.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: เหตุขอขยายเวลาต้องสมเหตุสมผลและไม่ใช่การจงใจชะลอการปฏิบัติตามคำพิพากษา
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ และหมายบังคับคดีของศาล การที่จำเลยขอขยายกำหนดการบังคับคดี โดยอ้างว่าการรื้อถอนอาคารพิพาทจำต้องใช้การคำนวณของนักวิชาการและต้องใช้เวลาถึง 502 วัน และในอาคารพิพาทมีคนงานทำงานอยู่เกือบ 60 คน ต้องให้เวลาหาสถานที่ให้แก่คนงานเหล่านั้นด้วย ยังไม่เป็นเหตุพ้นวิสัยอันจะเป็นมูลให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: เหตุขยายเวลาต้องมีเหตุพ้นวิสัย การอ้างความเดือดร้อนของคนงานไม่เพียงพอ
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ และหมายบังคับคดีของศาล การที่จำเลยขอขยายกำหนดการบังคับคดี โดยอ้างว่าการรื้อถอนอาคารพิพาทจำต้องใช้การคำนวณของนักวิชาการและต้องใช้เวลาถึง 502 วันและในอาคารพิพาทมีคนงานทำงานอยู่เกือบ 60 คน ต้องให้เวลาหาสถานที่ให้แก่คนงานเหล่านั้นด้วย ยังไม่เป็นเหตุพ้นวิสัยอันจะเป็นมูลให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ พฤติการณ์ของจำเลยส่อไปในทางจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนอาคารผิดแบบ และอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
เมื่อช. พยานคนสุดท้ายของโจทก์ตอบคำถามติงแล้วโจทก์ส่งคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบอำนาจให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนเป็นพยานต่อศาลและให้ช. ดูและแถลงรับรองเอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้วโดยได้รับอนุญาตจากศาลตามป.วิ.พ.มาตรา117วรรคสี่จึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานได้ การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนนั้นเป็นการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนตามที่พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518มาตรา35ให้อำนาจไว้จึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจด้วย หัวหน้าเขตผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทำหนังสือมอบหมายงานโยธาให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตควบคุมรับผิดชอบวินิจฉัยสั่งการแทนถือเป็นการมอบอำนาจตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522ซึ่งอยู่ในอำนาจของหน่วยงานโยธาให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนซึ่งชอบที่จะกระทำได้ตามมาตรา17แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518ที่บัญญัติว่าการปฏิบัติราชการที่หัวหน้าเขตจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมายใด หัวหน้าเขตจะมอบอำนาจให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทนในนามหัวหน้าเขตก็ได้ไม่ถือเป็นการมอบอำนาจช่วงและไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎรกร เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารโดยผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่กำหนดให้เว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารสามชั้นไว้ไม่น้อยกว่า6เมตรอันเป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา31ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา40และให้รื้อถอนตามมาตรา42วรรคแรกแล้วอาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอนแม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา22,65อันเป็นการอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและแม้เจ้าพนักงานจะได้ออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยไปแล้วโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม ในการบอกกล่าวให้จำเลยระงับการก่อสร้างและให้รื้อถอนอาคารนั้นเมื่อปรากฏว่าผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับคำสั่งดังกล่าวแล้วย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งรื้อถอนเกินกำหนด ก็ยังต้องรื้อถอน
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพบหลังจากที่อาคารก่อสร้างเสร็จแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้นแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเกิน30วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะรื้อถอนอาคารและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42.
of 10